นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ควรเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา การฝากเงินไว้ที่ธนาคารย่อมปลอดภัยกว่าการเก็บเงินไว้ในห้องพักของนักศึกษา และเพื่อประโยชน์กับนักศึกษา ในการที่ผู้ปกครองจะส่งเงินเป็นก้อนไปเข้าบัญชีของนักศึกษาในต่างประเทศได้อีกด้วย
ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. ธนาคารที่มีอยู่ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา (Nationwide) เช่น Bank of American, JP Morgan Chase, Citigroup, Wachovia, PNC Bank
2. ธนาคารท้องถิ่น (Local Bank) ในบางเมืองที่มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ หากไม่มีธนาคารประเภท Nationwide ตั้งอยู่ นักศึกษาก็ต้องเลือกเปิดบัญชีกับธนาคารท้องถิ่นที่เหมาะสมกับนักศึกษาในสถานการณ์นั้น เช่น The Bank of Kentucky, First Tennessee Bank, Community Bank of Missouri
3. ธนาคารที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย เช่น Stanford Federal Credit Union, UM Credit Union
โดยปกติธนาคารในสหรัฐเปิดทำการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มีบางแห่งเปิดทำการครึ่งวันในเช้าวันเสาร์ และปิดทำการในวันอาทิตย์ ATM มีเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง บริการที่แต่ละธนาคารมีนั้น นอกเหนือจากบริการฝากและถอนเงินแล้ว ทุกธนาคารจะมีบริการ ATM , Eectronic banking บัตรเครดิต, บัตรเดบิต ,การลงทุนประเภทต่างๆ, และการวางแผนเรื่องอสังหาริมทรัพย์ นักศึกษาจะต้องตัดสินใจว่า ธนาคารประเภทใดเหมาะกับนักศึกษา เช่น ถ้านักศึกษารู้สึกไม่สะดวกที่จะไปติดต่อธนาคารในเวลาทำการของธนาคาร เพราะติดการเรียน ติดการทำกิจกรรม นักศึกษาอาจเลือกเปิดบัญชีประเภท Electronic Banking และมีบัตร ATM ไว้ใช้ในการกดเงินออกมาใช้ในเวลาฉุกเฉิน ไม่ว่านักศึกษาจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใดก็ตาม นักศึกษาอย่าลืมสอบถามค่าธรรมเนียมในการใช้บริการว่ามีด้วยหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น หลังจากเปิดบัญชีธนาคารประเภทใช้เช็คแล้ว นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกที่จะมีบัตร ATM หรือบัตรเดบิตที่ผูกติดกับบัญชีประเภทนี้ นักศึกษาอาจสอบถามเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารในสหรัฐอเมริกาว่า มีค่าธรรมเนียมบัตรแรกเข้าของการใช้บัตร ATM ไหม ถ้ามีคิดเป็นเงินจำนวนเท่าไร เป็นต้น บางธนาคารที่นักศึกษามีบัญชีเงินฝาก เจ้าหน้าที่ธนาคารอาจไม่ตอบคำถามลักษณะที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ เพราะธนาคารถือว่า นักศึกษาสามารถค้นหาคำตอบเองได้จากหนังสือคู่มือที่ทางธนาคารมอบไป
ข้อเตือนใจในการใช้บัตรเดบิตในประเทศสหรัฐอเมริกา หากนักศึกษากดเงินโดยไม่ระมัดระวังว่า จะต้องรักษาจำนวนเงินในบัญชีอย่างต่ำตามที่ธนาคารแห่งนั้นกำหนดไว้ เช่น ธนาคารกำหนดการรักษาจำนวนเงินในบัญชีอย่างต่ำไว้ 500 US$ หากนักศึกษากดเงินออกมาใช้จนไม่ได้สังเกตว่าเหลือเงินในบัญชีธนาคารจำนวน 480 US$ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางธนาคารกำหนดไว้ นักศึกษาจะถูกหักค่าธรรมเนียมจากบัญชีใช้เช็คประมาณ 10-35 US$ ต่อการทำธุรกรรม 1 ครั้งต่อ 1 วัน อัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวแตกต่างกันไปแล้วแต่กฎเกณฑ์ของแต่ละธนาคาร ธนาคารในสหรัฐอเมริกาจะเรียกค่าธรรมเนียมดังกล่าวว่า ค่า overdraft fee ดังเช่น ประสบการณ์ของนักศึกษาท่านหนึ่งในเมือง Boston
” Debit card banking in the US usually has hidden fees. Overdrafted Fees is costly. The bankers usually recommend students to get two accounts (checking, and savings). Many new-comers make mistake by overdrafting their checking and being charged $10-35 per transaction per day, even the transaction is buying $5 starbucks coffee. It is a good idea to check the account regularly, read the terms & conditions carefully, and to have few account(s) as possible.”
การเลือกที่จะมีบัญชีเงินฝากประเภทใดกับธนาคาร จึงขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของธนาคาร, ระยะห่างระหว่างธนาคารกับสถานที่เรียนหรือสถานที่พัก, ตารางเวลาทำการของธนาคาร, อัตราดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียมต่างๆ, ความชอบส่วนตัว และพฤติกรรมการใช้บริการต่างๆของธนาคารของนักศึกษาแต่ละคน
นักศึกษาบางท่านมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี อาทิ ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารก่อนออกเดินทางจากประเทศไทย, เรียนรู้วิธีการใช้เงินในรูปแบบต่างๆ เช่น การกดเงินจากตู้ ATM ในประเทศไทยแทนที่จะใช้เมนูภาษาไทย ให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลองใช้วิธีการกดเงินด้วยเมนูภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกความคล่องตัวในการใช้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่อยู่บนหน้าจอ ATM คำศัพท์ต่างๆมีความเป็นสากล ยกตัวอย่างเช่น เวลาชาวต่างประเทศนำบัตร ATM จากประเทศของเขามากดตู้ ATM ในประเทศไทย หากใช้ภาษาอังกฤษสำนวนที่ไม่เป็นสากล ฝรั่งจะไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่คนไทยใช้
อนึ่ง ผู้ปกครองควรสอนให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการเขียนเช็คอย่าง่ายๆ หรือนักศึกษาอาจจะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเขียนเช็คเป็นภาษาอังกฤษเองจาก search engine ต่างๆ เช่น Google, YouTube ซึ่งมีวิดีโอให้เลือกดูหลากหลายชุด นอกจากนี้ นักศึกษาอาจจะลองไปติดต่อกับธนาคารในประเทศไทยด้วยตนเองบ้าง หรือติดตามผู้ปกครองไปเรียนรู้ว่า ยังมีวิธีอื่นๆในการฝากเงินกับธนาคารอีกหรือไม่ เช่น การเขียนสลิปเงินฝากหรือถอนเงิน, การฝากเช็ค หรือฝากเงินสดกับตู้ฝากเงินอัตโนมัติ นักศึกษาควรสังเกตคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ทางธนาคารใช้ควบคู่กับภาษาไทย เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยเมื่อต้องไปติดต่อธนาคารในต่างประเทศ จะได้เข้าใจคำศัพท์ทางธนาคารได้ดีขึ้น ในเมืองเล็กๆบางเมือง นักศึกษาอาจจำเป็นต้องเขียนรายการการทำธุรกรรมให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคารที่เคาน์เตอร์ เพราะไม่มีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ให้บริการ นักศึกษาจะได้พอมีประสบการณ์การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า ควรเริ่มบทสนทนาหรือตั้งคำถามอย่างไรกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร
นักศึกษาบางท่านศึกษาจบปริญญาตรีในประเทศไทยแล้ว แต่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการกดเงินจากตู้ ATM เลยก็มี เพราะได้รับเงินสดจากผู้ปกครองทุกครั้งที่มีการร้องขอ หรือผู้ปกครองจัดเตรียมไว้ให้พร้อมในกระเป๋าสตางค์ คำแนะนำต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนเป็นการปูพื้นฐานให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจในการใช้บริการทางธนาคาร เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอยู่ในต่างประเทศด้วยตนเองได้ และเมื่อเจ้าหน้าที่ธนาคารชาวต่างประเทศ อธิบายเกี่ยวกับธนาคารให้นักศึกษาฟังในวันปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ นักศึกษาจะเกิดความความเข้าใจตามได้ง่ายขึ้นและทราบว่า ควรจะซักถามอะไรที่ยังไม่เข้าใจหรือสงสัยอยู่ได้
ผู้ปกครองเองก็ต้องตระหนักว่า นักเรียนและนักศึกษาจะต้องเดินทางไปใช้ชีวิตในต่างประเทศเองคนเดียว ควรให้โอกาสนักเรียนและนักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองบ้างเวลาที่นักศึกษายังอยู่ที่ประเทศไทย อย่าทำทุกอย่างให้นักเรียนนักศึกษา หรือถามเจ้าหน้าที่ธนาคารแทนนักเรียนและนักศึกษาทุกอย่าง จนนักศึกษาไม่เกิดการรียนรู้ด้วยตนเอง
เอกสารที่นักศึกษาต้องนำไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอมีบัญชีเงินฝาก ได้แก่ หนังสือเดินทาง, หมายเลข SSN ( Social Security Number-ถ้ามี), ใบขับขี ,บัตรนักศึกษา ,I-20, I-94 บางธนาคารอาจจะไม่ได้ขอดูเอกสารทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติของธนาคารในแต่ละเมืองและแต่ละรัฐ บางธนาคารอาจขอดูเอกสารเพียงหนึ่งหรือสองอย่างจากที่กล่าวไว้ทั้งหมด หากนักศึกษามีโอกาสก่อนเดินทาง ควรหาโอกาสเข้าไปศึกษาจากเว็บไซต์ของสถาบันที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียน ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ของ University of Wisconsin at Madison และ California Institute of Technology เป็นกรณีศึกษา
1. http://international.engr.wisc.edu/incoming/basicservices.php
2. www.me.caltech.edu/academics/international_student_guide.pdf
การขอถอนเงินสดจากบัญชีใช้เช็ค นักศึกษาจะต้องแสดง ใบขับขี่หรือ บัตรประจำตัวนักศึกษา ทุกเดือนธนาคารจะจัดส่ง Statement ที่จะมีรายงานยอดบัญชีเงินฝาก การถอนเงินและดอกเบี้ยเงินฝาก
นักศึกษาสามารถเลือกเปิดบัญชีในสหรัฐอเมริกาได้ 4 ประเภท คือ
1. บัญชีใช้เช็ค (Checking Account) เป็นบัญชีประเภทไม่มีดอกเบี้ย หากต้องการให้ Checking Account ได้รับดอกเบี้ย ต้องฝากเงินไว้ในบัญชีเป็นจำนวนสูงมาก เช่น 10,000 เหรียญ เป็นต้น บางธนาคารคิดค่าธรรมเนียมในการใช้เช็คหรือการดูแลรักษาจำนวนเงินอย่างต่ำที่ควรมีในบัญชีด้วย หากนักศึกษาที่ยังไม่เคยเขียนเช็คหรือใช้เช็ค ควรหัดเขียนเช็คให้เป็น เช่น ลองศึกษาจาก
http://banking.about.com/od/checkingaccounts/ig/How-to-Write-a-Check/1write_a_check_step2.htm
มีการสอนวิธีเขียนเช็คที่ละขั้นตอน จำนวน 6 ขั้นตอน บัญชีใช้เช็ค บางธนาคารไม่ได้มีการกำหนดจำนวนเงินในบัญชีขั้นต่ำ ไม่ต้องเสียเงินค่าบริการรายเดือน แต่บางธนาคารอาจกำหนดให้นักศึกษา เปิดบัญชีใช้เช็คคู่กับบัญชีสะสมทรัพย์ (Savings Account) หากเจ้าของบัญชีเขียนเช็คเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี ซึ่งเรียกว่า Bouncing a check ธนาคารจะปรับเงินเจ้าของบัญชี ลองดูกฎการเปิดบัญชีจาก ตัวอย่าง 2 เว็บไซต์ข่างล่างนี้
1.1. https://www2.bankofamerica.com/efulfillment/documents/05-11-3000ED.20100619.htm ( จะมีอัตราค่าธรรมเนียมการรักษาเงินในบัญชี ค่าดูแลบัญชี และการเปิดบัญชีด้วยอัตราเงินฝากขั้นต่ำ ของบัญชี Checking , Savings และ CD)
1.2. https://www.wellsfargo.com/checking/college_combo
2. บัญชีสะสมทรัพย์หรือบัญชีออมทรัพย์ (Savings Account) เจ้าของบัญชีจะได้รับสมุดคู่ฝากเพื่อดูยอดฝาก-ถอนเงิน บัญชีประเภทนี้จะได้รับดอกเบี้ย บางธนาคารกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ในบัญชี โดยจะคิดค่าบริการในการดูแลบัญชี หากจำนวนเงินฝากในบัญชี มีน้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้
อนึ่ง บางธนาคารคิดค่าดูแลบัญชีรายเดือน เช่น ธนาคาร Wells Fargo เพิ่งเริ่มคิดค่าดูแลบัญชีรายเดือนเมื่อต้นปีพ.ศ.2555 เดือนละ 13 US$ แต่บางธนาคารเห็นว่า นักศึกษาอยู่ในฐานะ College Student ไม่จำเป็นต้องชำระค่าดูแลบัญชีรายเดือนก็มี อย่างไรก็ตามนักศึกษายังคงต้องรักษาจำนวนเงินในบัญชีอย่างต่ำเดือนละ 500 US$ ลองศึกษากฎการฝากเงินจากตัวอย่างสองธนาคารต่อไปนี้
2.1. http://www.bankofamerica.com/deposits/checksave/index.cfm?template=save_regula
2.2. https://www.wellsfargo.com/savings_cds/
3. บัญชีเงินฝากประจำ (Time Deposit Account or Certificates of Deposit(CD)) มีการกำหนดระยะเวลาในการฝาก เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 9 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีประเภท Savings Account หากถอนก่อนกำหนดเวลาจะไม่ได้รับดอกเบี้ย มีนักศึกษาบางท่านซื้อดราฟท์จำนวนหนึ่งไปเปิดบัญชีประเภท Time Deposit Account ไว้ เพื่อรอเวลาครบกำหนด จะได้นำเงินก้อนนั้นไปใช้ เป็นค่าลงทะเบียนเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวในเทอมถัดไป เช่นเดียวกันลองศึกษาเปรียบเทียบ รายละเอียดการฝากเงินประเภทนี้ ได้จากเว็บไซต์ของสองธนาคารคือ Bank of America และ Wells Fargo เป็นกรณีศึกษา
3.1. http://www.bankofamerica.com/deposits/checksave/index.cfm?template=ecommDepRates
3.2. https://www.wellsfargo.com/savings_cds/cds
4. Notice-of-Withdrawal (NOW) หลายธนาคารมีบัญชีเงินฝากที่เรียกว่า NOW เป็นการผสมผสานคุณลักษณะบัญชี Checking แอละ Savings เข้าไว้ด้วยกัน นักศึกษาที่มีบัญชี NOW สามารถเขียนเช็คได้จำนวนหนึ่งในแต่ละเดือน บัญชีประเภท NOW เหมาะกับนักศึกษาที่มีความสามารถในการรักษาความสมดุล ระหว่างบัญชีใช้เช็คและบัญชีสะสมทรัพย์ โดยบัญชีประเภทนี้ นักศึกษาจะเขียนเช็คได้ไม่มากนัก
นักศึกษาไม่จำเป็นต้องมีบัญีเงินฝากให้ครบทั้ง 4 ประเภท นักศึกษาส่วนใหญ่จะเลือกมี 2 บัญชี คือ Savings Account และ Checking Account
หมายเหตุ เมื่อนักศึกษาเดินทางไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 50 รัฐ แต่ละรัฐจะมีกฎหมาย มีระเบียบปลีกย่อยต่างกันบ้างเล็กน้อย อาทิ ธนาคารชื่อเดียวกันแต่วิธีการปฏิบัติอาจแตกต่างกันบ้างเมื่อเดินทางไปอีกรัฐหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น การนำเช็คเดินทางไปขึ้นเป็นเงินสดที่ Bank of America ในรัฐ California ไม่ถูกหักค่าธรรมเนียม ได้รับเงินเต็มจำนวน แต่นักศึกษาอีกท่านหนึ่งเดินทางไปศึกษาที่เมือง Flagstaff ในรัฐ Arizona เมื่อนำเช็คเดินทางไปขึ้นที่ธนาคารเดียวกันกลับถูกหักค่าธรรมเนียมการขึ้นเงินสดจำนวน 5 US$ ต่อเช็คเดินทาง 1 ฉบับ ดังนั้น การเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ความแตกต่างเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
Copyright © 2010 GoVisaEdu All rights reserved.