เมื่อเครื่องบินลงจอดที่จุดแวะพักเครื่องบิน (Transit) ณ เมืองใดเมืองหนึ่งในเอเซีย เช่น ที่สนามบินนาริตะ ผู้โดยสารจะต้องนำกระเป่า Carry-on ลงมาจากเครื่องบิน และเดินไปพักในห้องพักรอผู้โดยสารของเที่ยวบินถัดไป กรณีผู้โดยสารเปลี่ยนสายการบินที่เดินทาง ไม่ใช่สายการบินเดียวกันกับที่ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ ให้ผู้โดยสารตรวจสอบด้วยว่า ห้องพักผู้โดยสารที่จุด Transit อยู่ที่ Satellite หรือ Terminal ใด ถ้าไม่แน่ใจให้สอบถามเจ้าหน้าที่สนามบิน เพื่อจะได้ไม่นั่งรอผิดห้องพักรอ
อนึ่ง ควรเปลี่ยนเวลาทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนเมือง เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดเรื่องเวลาเครื่องบินออก
ก่อนหน้าที่เครื่องบินจะลงจอดที่ Port of Entry เจ้าหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบินจะแจกแบบฟอร์มสองชุดข้างล่างนี้
1. แบบฟอร์มเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา หรือ I-94 นักศึกษาสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=_CTcqV0dJHE
รูปบน เป็นเนื้อหาแบบฟอร์ม I-94 ฉบับเต็ม
รูปล่าง เป็นแบบฟอร์มที่ Immigration Officer ตรวจลงตราแล้วฉีกออกส่วนหนึ่ง
เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองคืน I-94 ส่วนที่ฉีกออกแล้ว(ส่วนเล็กๆภาพบน)ให้ผู้โดยสาร เพื่อให้ผู้โดยสารคืนให้เจ้าหน้าที่สายการบิน เวลาจะเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อกลับประเทศไทย
2. Custom Declaration form ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cbp.gov/sites/default/files/documents/CBP%20Form%206059B%20English%20%28Sample%20Watermark%29.pdf
รูปบน หน้าแรกของ custom declaration form
รูปล่าง เป็นหน้าหลัง ถ้าไม่มีสิ่งของที่จะต้อง declare ว่าราคาเท่าไร ให้เขียนคำว่า Personal Belongings ลงไป
ผู้โดยสารกรอก Custom Declaration Form ระหว่างอยู่บนเครื่องบิน จะได้ไม่ฉุกละหุกเวลายื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสหรัฐฯตรวจ มื่อผู้โดยสารเดินทางถึง Port of Entry เช่น Los Angeles หรือ San Francisco ผู้โดยสารที่เป็น Non-US Citizen ทุกคนต้องผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่ Immigration ก่อน
โดยผู้โดยสารจะได้รับการซักถาม จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา ถึงวัตถุประสงค์ที่เดินทางเข้ามาในสหรัฐ เจ้าหน้าที่อาจขอดูหลักฐานประกอบ เช่น I-20 (กรณีวีซ่า F-1) , Sevis I-901 ,หนังสือเดินทาง นักศึกษาบางท่านจะถูกถามเกี่ยวกับเงินที่นำติดตัวไป กรณีนำเงินติดตัวเดินทางไปเป็นจำนวนมาก แนะนำให้นักศึกษาพิมพ์รายละเอียดค่าใช้จ่ายของสถานศึกษา จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยที่ไปศึกษาต่อติดตัวไปด้วย เนื่องจาก I-20 ของบางสถานศึกษาไม่ได้ระบุค่าใช้จ่ายโดยละเอียด หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะเขียนอักษร D/S ซึ่งมีความหมายว่า Duration of Status ลงบน I-20 หน้าแรก ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาสามารถอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้นาน ตราบเท่าที่ยังลงทะเบียนเรียนเป็นนักศึกษาอยู่ นักศึกษาจะได้รับการร้องขอ จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา ให้ประทับลายนิ้วมือกับเครื่องตรวจลายนิ้วมือ และถ่ายภาพหน้าตรง จากกล้องที่ตั้งอยู่บนโต๊ะของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เป็นอันเสร็จพิธีการตรวจคนเข้าเมือง
ต่อไป นักศึกษาจะตรงไปรับกระเป่าเดินทางจากสายพานกระเป๋า (CAROUSEL) นักศึกษาควรจำชื่อเที่ยวบินที่บินไปถึง เพื่อจะได้ไปยืนรอที่วงสายพานรับกระเป๋าได้ถูกต้อง
หลังจากรับกระเป๋ามาแล้ว ผู้โดยสารจะต้องนำกระเป๋าไปผ่านเครื่องเอ็กซ์เรย์ และเดินผ่านช่องสีเขียวถ้าไม่มีสิ่งของที่ต้องแสดง พร้อมทั้งยื่น Custom Declaration Form ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วย
ช่องสีเขียวไม่มีของต้องแสดงให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรดู ให้ยื่นแบบฟอร์ม Custom declaration ที่กรอกเรียบร้อยแล้วให้เจ้าหน้าที่ อน่างไรก็ตาม บางครั้งอาจจะมีการถูกซุ่มตัวอย่างตรวจภายในกระเป๋า
กรณีที่นักศึกษาต้องเดินทางต่อไปยังเมืองอื่น ให้นักศึกษามองหาป้าย หรือ sign ที่บอกว่าเป็น Baggage Connection หรือ Ticketing-Recheck Counter
เพื่อส่งกระเป๋าเดินทางให้เจ้าหน้าที่ของสายการบินนั้นๆทั้ง 2ใบ เจ้าหน้าที่จะดูที่ tag ที่คล้องหูกระเป๋าว่า กระเป๋าถูกเช็คไปจนถึงเมืองใด ณ เมืองสุดท้ายปลายทาง นักศึกษาไม่ต้องนำกระเป๋าไปตรวจอีก ให้รับกระเป๋าเดินทางแล้วเดินออกนอกประตูไปพบผู้มารับได้ทันที
อนึ่ง ภายหลังจากส่งกระเป๋าเดินทางให้เจ้าหน้าที่ตรงบริเวณ Baggage Connection แล้ว ให้นักศึกษาตรวจดูที่จอมอนิเตอร์ว่าเที่ยวบินถัดไปจะต้องไปรอที่ Gate ไหน ใช่Terminal เดียวกับตอนเข้าประเทศหรือคนละ Terminal ถ้านักศึกษาเดินไปไม่ถูกให้รีบสอบถามเจ้าหน้าที่สนามบิน เพื่อจะได้ไม่พลาดเที่ยวบินถัดไป นักษึกษาสามารถค้นหาวิดีโอสนามบินเมืองใหญ่ๆได้จาก Google และ YouTube
กรณีไม่มีผู้มารับให้นักศึกษาศึกษาจากข้อมูลที่มหาวิทยาลัยให้มาว่า จะเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยได้อย่างไร กรณีไม่พบข้อมูลดังกล่าว ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ที่ดูแลนักศึกษาต่างชาติ (International Student Officer) ทางอีเมล์ก่อนออกเดินทางจากประเทศไทย
Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.
Effective April 26, 2013, U.S. Customs and Border Protection (CBP) will no longer issue a paper I-94 at the port of entry for most travelers entering the U.S. by air or by sea. Rather, electronic I-94s will be issued.
Thank you so much ka Nong Apivai.
เตรียมตัวซะหน่อย เหอะๆๆ – –
ถ้าน้อง Onuma มีอะไรสงสัย เขียนมาถามได้นะคะ