ขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา

ใกล้เวลาเปิดภาคการศึกษาฤดูใบไม้ร่วงในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมตัวขอวีซ่า และเตรียมตัวเดินทาง บางท่านก็เกิดความกังวลที่จะต้องเดินทางคนเดียว ไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติตนว่า ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เมื่อเดินทางถึงสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองจะซักถามอะไรบ้าง หรือ จะต้องกรอกฟอร์มอะไรบ้าง การกรอกจะยุ่งยากไหม เป็นต้น

จากเว็บไซต์ 2 เว็บไซต์ คือ Transportation Security Administration และ  Custom and Border Protection  ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า สหรัฐอเมริกามีการปรับปรุงการตรวจสอบสถานะการเข้าเมืองของผู้เดินทางอย่างรัดกุม และใช้วิธีการที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  เริ่มตั้งแต่

1. ระบบ Secure Flight การที่สายการบินต้องแจ้งชื่อผู้โดยสาร วันเดือนปีเกิด และเพศของผู้โดยสาร 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤสจิกายน 2553 เป็นต้นไป  ดูได้ที่  http://www.tsa.gov/what_we_do/layers/secureflight/index.shtm#privacy รูปที่ 2 จะมีวีดีโอประกอบอยู่ที่มุมล่างขวามือ

2.  จาก Flowchart ที่ Custom and Border Protection แสดงไว้บนเว็บไซต์  http://www.cbp.gov/xp/cgov/travel/clearing/ ทำให้ผู้โดยสารทราบ 3 ขั้นตอน ของการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง และการตรวจสิ่งของในกระเป๋าเดินทางที่ด่านศุลการกร ก่อนเดินทางต่อไปยังจุดต่อสายการบินอื่น(ถ้ามี)

จากเว็บไซต์ดังกล่าว เมื่อคลิกไปที่ The CBP Inspection Process จะได้เนื้อหาที่ระบุถึงแต่ละขั้นตอนเมื่อออกจากตัวเครื่องบิน ในขั้นตอนที่1 หลังจากผ่านการตรวจสอบ I-94 (I-94 W สำหรับประเทศที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่า )หากเจ้าหน้าที่สงสัยผู้โดยสารท่านใด เจ้าหน้าที่จะเชิญผู้โดยสารท่านนั้นไปยังจุดตรวจที่ 2 ก่อนไปยังบริเวณรับกระเป๋าเดินทาง ส่วนในขั้นตอนที่ 2 หากศุลการกรพบว่า มีสิ่งของใดอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษี ก็จะชี้จุดให้ผู้โดยสารไปจ่ายค่าภาษีก่อน  เมื่อเสร้จสิ้นกระบวนการตรวจตรงด่านศุลกากร ผู้โดยสารจะเดินไปยังจุด Connecting flight ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 3 หากยังต้องมีรายการการเดินทางไปยังจุดหมายอื่นอีก

3. การนำเทคโนโลยี่เข้ามาใช้ที่จุดตรวจ ณ บริเวณ Immigration และ Custom ประกอบด้วย

  • Biometrics คือ การ scan จอตา และ ทำ Fingerprint
  • CastScope  คือ scan คนพิการ เข้าเฝือก
  • Explosive Trace Detection คือ เครื่อง scan กระเป๋าเดินทาง เพื่อตรวจดูว่า มีวัตุระเบิดซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าเดินทางหรือไม่ เครื่องตรวจชนิดนี้น่าจะตั้งอยู่ที่บริเวณ Custom
  • Paperless Boarding Pass คือ การนำเทคโนโลยี่ 2D Barcode หรือ QR Barcode มาใช้ ซึ่งผู้โดยสารจะ scan boarding pass ลงไปในโทรศัพท์มือถือ หรือใส่ไว้ใน PDA( Personal Digtal Assistant) โดยเจ้าหน้าที่สายการบินจะ scan รูปดังกล่าวจากมือถือ หรือ PDA ของผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่องบิน  จากเว็บไซต์ http://www.tsa.gov/approach/tech/paperless_boarding_pass_expansions.shtm ทำให้เราพอทราบสถิติของเดือนพฤษภาคม 2554 ว่า มี 101 สนามบิน และ 7 สายการบินที่นำระบบนี้เข้าไปใช้

  • Imaging Technology คือ เครื่องตรวจค้นร่างกาย ซึ่งมี 2 ประเภท คือ แบบกระจายตัว (Backscatter) รูปที่เห็นมีลักษณะคล้ายภาพร่างด้วยชอล์ค กับแบบเทคโนโลยี่คลื่นความถี่มิลลิเมตร ( Millmeter Wave Technology) ผู้โดยสารมีสิทธิ์ที่จะไม่เลือกทั้งแบบ Backscatter และแบบ Millmeter Wave Technology ซึ่งเจ้าหน้าที่ TSA จะใช้วิธีการดังรูปที่ 3  คือ ตบตามลำตัว โดยใช้เจ้าหน้าที่เพศเดียวกันกับผู้โดยสาร (Pat Down)

รูปที่ 1รูปที่ 2 รูปที่ 3

4. การเตรียมเอกสารที่จุดตรวจ Immigration (ประกอบด้วย I-20 หรือ DS-2019, Sevis I-901 receipt และ I-94) และที่จุดตรวจ Custom (ประกอบด้วย Custom Declaration form6059 B) ให้ลองเข้าไป download ดูแบบฟอร์มทั้ง 2 ได้ที่เว็บไซต์  http://www.cbp.gov/xp/cgov/travel/clearing/ หรือ คลิกดูที่  http://www.cbp.gov/linkhandler/cgov/travel/clearing/traveler_entry_form/cbp_traveler_brochure.ctt/cbp_traveler_brochure.pdf

5. ระบบ Black Diamond Self Select Lanes เริ่มใช้ที่สนามบินในรัฐ Utah เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพื่อให้ขั้นตอนการตรวจที่จุด Checkpoint ใช้เวลาให้น้อยที่สุด จึงได้มีการจัดแบ่งแถวตามประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสาร ซึ่งมีทั้งหมดด้วยกัน 3 ประเภท คือ แบบ Expert Lane แบบ Casual Lane และแบบ Family Medical Liquids Lane อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.tsa.gov/approach/black_diamond.shtm

เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ข้างต้น คลิกเข้าไปที่รูปสี่เหลี่ยมในรูปแผนที่สหรัฐอเมริกาจะเห็นว่า มีสนามบินใดบ้างที่ใช้ระบบนี้ อย่างไรก็ตาม อาจมีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบการจัดแบ่งแถว และคิดว่า การเตรียมพร้อมแบบ In Out Off น่าจะทำให้เราผ่านจุดตรวจได้ด้วยความเร็วเช่นเดียวกัน http://www.tsa.gov/travelers/airtravel/assistant/editorial_1049.shtm

ดังนั้น หากผู้โดยสารมีการศึกษาข้อมูลข้างต้นไว้บ้าง เมื่อถึงคราวต้องเดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกา จะได้ไม่รู้สึกยุ่งยาก เพราะเคยอ่านข้อมูลผ่านตามาบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม อย่าคาดหวังว่า จะต้องพบกับการตรวจสอบทุกแบบอย่างที่เขียนไว้ เพราะจากเว็บไซต์ที่แนะนำไว้ข้างต้น บางระบบยังไม่ได้ถูกนำมาใช้กับทุกสนามบินในสหรัฐอเมริกา

Copyright © 2010-2011 GoVisa All rights reserved.

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top
Scroll to Top