งานชุมนุมวิชาการของ สมาคม APAIE หลายคนอาจคิดว่างานนี้ไม่น่าสนใจเพราะไม่ทราบว่า สมาคม APAIE คืออะไร ศาสตราจารย์ ดร. Doo Hee-Lee จาก Korea University เป็นผู้วางรากฐานสมาคมการศึกษานานาชาติแห่งภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก โดยได้รับความร่วมมือจากผู้แทนมหาวิทยาลัยจำนวนสิบสามประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) ก่อตั้งสมาคม APAIE ขึ้น ณ Korea University ในกรุงโซลประเทศเกาหลี ผู้แทนทั้งสิบสามชาติประกอบด้วยผู้แทนจาก Griffith University (ประเทศออสเตรเลีย), Sun Yat-sen University(ไต้หวัน), Kasetsart University(ประเทศไทย), Waseda Universtiy(ประเทศญี่ปุ่น), Korea University(ประเทศเกาหลี), University of Philippine(Los Banos)(ประเทศฟิลิปปินส์), Brawijaya University(ประเทศอินโดนีเซีย), National University of Singapore (ประเทศสิงคโปร์), University of Hawaii-Manoa(ประเทศสหรัฐอเมริกา), University of Delhi (ประเทศอินเดีย), Auckland University (ประเทศนิวซีแลนด์), Chinese University of Hong Kong (ฮ่องกง) , Renmin University of China(ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) สมาคม APAIE เทียบเท่ากับสมาคม NAFSA ในสหรัฐอเมริกาและ สมาคม EAIE ในทวีปยุโรป
ภารกิจของ APAIE คือ การบรรลุความร่วมมือในหมู่ผู้ที่รับผิดชอบด้านการศึกษาระหว่างประเทศและสร้างความเป็นสากลในสถาบันต่างๆที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ยังเพื่อส่งเสริมคุณภาพของหลักสูตรนานาชาติ กิจกรรมและการแลกเปลี่ยนความสามัคคีและความก้าวหน้าของสถาบันต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สมาคมยังส่งเสริมการติดต่อกันและความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและนอกภูมิภาคอีกด้วย เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ สมาคม APAIE ได้อุทิศตัวเองในเรื่องหลักการของการเคารพซึ่งกันและกัน ความหลากหลายของหมู่สมาชิก การเป็นตัวแทนหน่วยงานทางการศึกษา และความก้าวหน้าหน้าโดยรวม
APAIE พยายามที่จะนำมาซึ่งความร่วมมือกันระหว่างนักการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเอเชียแปซิฟิกและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการสื่อสารระบบเครือข่ายและการพัฒนาวิชาชีพ สมาคมต้องการที่จะอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายจำนวนนักศึกษา บุคลากร และนักวิชาการและความก้าวหน้าด้านความร่วมมือทางวิชาการระหว่างภูมิภาค
APAIE จัดให้มีการประชุมทางวิชาการปีละครั้ง เริ่มจาก ปีพ.ศ.2549 (ค.ศ.2006) กรุงโซล ประเทศเกาหลี, พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) ประเทศสิงคโปร์, พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) ประเทศญี่ปุ่น, พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) เมืองโกลด์โคสต์ ประเทศออสเตรเลีย, พ.ศ.2554 (ค.ศ.2011)กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) และปีพ.ศ.2555 (ค.ศ.2012) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สำหรับการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ อาคารศรีสวรินทิรา ศิริราชพยาบาล (บางกอกน้อย) ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2555
สำหรับหัวข้อการบรรยายทางวิชการในแต่ละวัน ผู้สนใจทั้งหลายรวมทั้งผู้ที่มีความตื่นตัวในเรื่องการรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community- AEC ) ควรหาโอกาสไปฟัง มีหลายหัวข้อที่น่าสนใจที่สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ http://apaie.org/conference/2012/program.php?flag=sessions
ผู้แทนมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆที่จะมาเปิดการบรรยายให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://apaie.org/conference/2012/DelegatesList2012.pdf
สรุปประเทศต่างๆที่ส่งผู้แทนมาร่วมงานมีดังนี้ คือ
Australia | Austria | Belgium |
Brunei Darussalam | Canada | China |
Colombia | Denmark | Finland |
France | Germany | Hong Kong |
India | Indonesia | Italy |
Japan | Korea, Republic of | Lithuania |
Malaysia | Mexico | Morocco |
Netherlands | New Zealand | Nigeria |
Norway | Philippines | Poland |
Russia Federation | Singapore | Slovenia |
South Africa | Sweden | Switzerland |
Taiwan, Republic of China | Thailand | UK-England |
United States of America | Vietnam |
สำหรับรายชื่อมหาวิทยาลัยที่มาเปิดบูธในงานจะมีอยู่ที่ Zone B, D, E, F, G, H, J ให้ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยและหมายเลขบูธที่ตั้งของแต่ละมหาวิทยาลัยได้เพิ่มเติมที่ http://apaie.org/conference/2012/boothList.php
Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved
สวัสดีค่ะคุณ Govisa หวังว่ายังจำกันได้นะค่ะ ตอนนี้เตรียมตัวจะไปเที่ยวแล้วค่ะจองตั๋วเรียบร้อยแล้วเดินทางกับสายการบิน AA ค่ะ โชคดีที่ได้เอเจนซี่ราคาไม่แพง (six stars travel) ขาไป Bkk – Tokyo – Dallas – Hardfort ค่ะ ส่วนขากลับ Tampa(FL) – Dallas – Tokyo – Bkk ราคา 46500 บาทเองค่ะ ใครสนใจลองเข้าเวปสอบถามราคาได้นะค่ะแต่เท่าที่เช็คมาราคานี้ถูกมากแล้วก็ไว้ใจได้เพราะเป็นเอเจนซี่ที่มีสาขามาห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เราตรวจสอบได้ค่ะ แต่ที่อยากจะขอคำแนะนำจากคุณ Govisa ในครั้งนี้คือเวลาเที่ยวบินกลับจาก Tampa – Dallas ช่วงต่อไฟล์มีแค่ 50 นาทีค่ะไม่ทราบว่าจะพอรึเปล่า เราไม่ต้องผ่าน ตม. ของอเมริกาอีกแล้วใช่มั๊ยค่ะ และควรแลกเงินติดตัวไปประมาณเท่าไหร่ดีค่ะ ( อยู่ 2 – 29 พฤษภาคม) มีบัตรเครติดแต่ก็ไม่อยากจะใช้บ่อย ๆ หากไม่จำเป็นค่ะเพราะเสียค่าธรรมเนียมเยอะอยู่เหมือนกันค่ะ แล้วถ้าหากเราจะเอาทุเรียนทอด ท๊อฟฟี่กะทิ ขนมกลีบลำดวน ฝอยทองกรอบ ไปฝากเพื่อนที่โน่นจะได้มัํยค่ะ หากเรามีคอนเทคเลนติดไปด้วยจะได้รึเปล่าค่ะ (สำหรับใส่เองค่ะ) รบกวนสอบถามอีกครั้งค่ะ
น้อง Phanna คะ
1. เที่ยวขาไปน้องเช็คอิมมิเกรชั่นหรือตรวจคนเข้าเมืองที่ Dallas ค่ะ ดูรายละเอียดแผนที่สนามบิน Dallas/Forth Worth International Airport ที่ http://www.dfwairport.com/guide/index.php โดยปกติใช้เวลาตรวจเอกสารและรับกระเป๋าน่าจะอยู่ในราวประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้า late ก็ไม่น่าจะเกิน 1 1/2 ชั่วโมงค่ะ ที่เมือง Hartford ในรัฐ Connecticut ไม่ต้องมีการตรวจคนเข้าเมืองอีกแล้ว น้องไปรับกระเป๋าและพบกับผู้มารอรับได้เลยค่ะ
2. ขากลับ ตอน Check-in ที่ counter เช็คตั๋วที่ Tampa น้องบอกเจ้าหน้าที่สายการบิน American Airlines ไปเลยว่า ขอ Check through ถึง Bangkok ถ้าเขาทำให้ได้นะคะ เพราะพี่ไม่แน่ใจคิดว่า American Airline ไม่มีบินเข้าไทย น้องน่าจะเปลี่ยนตั๋วเป็นสายอื่นที่ใช้ code share ร่วมกับ AA ที่ Tokyo ถ้าเป็นอย่างหลังก็อาจจะต้อง check เฉพาะ boarding pass อีกทีที่ Narita ส่วนกระเป่าเดินทางขอ check through ถึงกรุงเทพเลยค่ะ ในเรื่องนี้ น้องสามารถถามเอเจนซี่ที่น้องบอกว่า มีอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆได้ค่ะ ส่วนการที่น้องบอกว่า น้องมีเวลาแค่ 50 นาทีพอไหม น้องลองศึกษาภาพการเดินภายในสนามบิน Tampa ลองดูแผนที่ภายใน Tampa Airport AA น่าจะอยู่ที่ Airside F หรือ Terminal F เมื่อนั่งเครื่องไปถึง Dallas ดูที่ boarding pass ที่เช็คมาจาก Tampa ว่าน้องต้องไปรอที่ Terminal A หรือ C จะได้ไม่เสียเวลา หรือถ้ายังไม่เห็นมีพิมพ์ไว้ใน Boarding pass ก็ให้ดูที่จอ Monitor เวลาลงมาจากเครื่องที่ Dallas แล้วก้ได้ค่ะ น้องบอกว่ามีเวลาแค่ 50 นาที ถ้าน้องพูดภาษาอังกฤษพอใช้ได้ ก็ถามคนที่แต่งตัวดูเหมือนเจ้าหน้าที่สนามบินไปเลยก็ได้ว่าเดินไป terminal นี้เดินไปอย่างไร จะได้ทำเวลาได้เร็วๆค่ะ หรือจะลองดูแผนที่ http://www.aa.com/i18n/aboutUs/whereWeFly/terminals/terminal_DFW.jsp
3. ทุเรียนทอดเอาเข้าไปได้ค่ะ บอกว่าเป็น Durian Chips ส่วนขนมที่กล่าวมาเอาเข้าไปได้หมด ของที่ห้ามคือ พวกเนื้อสัตว์ ที่ใช้ศัพท์ว่า meat ทั้งหลายค่ะ ดูในรายการที่พี่เขียนบล้อกไว้ใต้หัวข้อ Pre-departure เพิ่มเติมได้ค่ะ http://govisa.wordpress.com/2011/05/14/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0/ คอนแทคเลนส์นำไปได้ไม่มีปัญหาค่ะ
4. เรื่องเงินติดตัวเดินทาง ขึ้นอยู่กับว่า น้องจะไปเที่ยวอะไรที่ไหนบ้างค่ะ ลักษณะเป็นการแชร์กันออกหรืออย่างไร แต่น้องไปประมาณหนึ่งเดือนก้น่าจะนำเงินติดตัวไปประมาณ 1000-1500 US$ เพราะพี่ไม่ทราบว่า น้องจะเที่ยวประเภทสวนสนุกด้วยหรือไม่ แพงอยู่เวลาไปเล่นเครื่องเล่นแต่ละอย่างนอกเหนือจากการรอคิวนานค่ะ น้องต้องการซื้อที่ระลึกกลับบ้านด้วยหรือไม่ ผู้หญิงมักชอบซื้อเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ และฯลฯ ผู้ชายชอบซื้ออะไรที่เป็นเทคโนโลยี นาฬิกา และฯลฯ ที่จริง อย่าไปคิดมากเรื่องบัตรเครดิตเลยค่ะ การไปกดเงินจากตู้ ATM ที่อเมริกาก็ต้องเสียค่าบริการ ทางฝั่งไทยส่วนใหญ่ก็ประมาณ 100 บาท ฝั่งอเมริกาก็จะชาร์จอีกประมาณ 2 US$ ค่ะ ถ้าคิดว่า การไปเที่ยวคือการให้รางวัลแก่ชีวิต ก็ใช้ไปเถอะคะบัตรเครดิต คิดว่า อย่าซื้อของไม่จำเป็น และอย่าไปเที่ยวเมืองนอกบ่อยก็จะเป็นการ save เงินของน้องได้ทางหนึ่งค่ะ ส่วนธุรกรรมของธนาคาร เจ้าของธนาคารและหุ้นส่วนเขามีการลงทุนทางธุรกิจก็เป็นธรรมดาที่เขาต้องคิดค่าบริการที่จะมาในรูป อัตราแลกเปลี่ยน ค่าธรรมเนียม และฯลฯ เป็นต้น อย่าคิดมากเรื่องใช้เงินตอนเที่ยวเดี๋ยวจะเที่ยวไม่สนุกค่ะ น้อง Phanna อาจจะซื้อเช็คเดินทางผสมกับเงินสดไปบ้างก็ได้ค่ะ เช็คเดินทางสามารถใช้ชำระค่าสินค้าได้เหือนเงินสด แต่ถ้าจะนำเช็คเดินทางไปแลกกับธนาคารในสหรัฐเป็นเงินสดต้องดูนิดหนึ่งค่ะ ถ้าเป็น Bank of America เรานำเช็คที่มีราคา 100 เหรียญไปขึ้นเงินสดจะได้กลับออกมาเป็น 100 เหรียญ แต่บางธนาคารที่มีลักษณะเป็นธนาคารท้องถิ่นหน่อยหนึ่งอาจจะหักออกไป 5 เหรียญ คือเราจะได้กลับคืนมา 95 เหรียญค่ะ และเวลากลับเมืองไทยเวลาขึ้นเงินคืนเป็นเงินบาทค่าเงินที่แลกกลับคืนจากธนาคารจะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่านำเงินสดมาแลกคืนค่ะ ลองถามเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือดูในตารางแลกเปลี่ยนของธนาคารตรงช่องซื้อขายเช็คเดินทางก็ได้ค่ะ