การจ่ายเงินค่าเล่าเรียนด้วยระบบ eCheck

วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจำนวนมากในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมให้นักศึกษาจ่ายค่าเล่าเรียนด้วย eCheck  หลายคนสงสัยว่า eCheck คืออะไร ความหมายของ eCheck ตามความหมายของ Investopedia คือ ” แบบฟอร์มการชำระเงินที่ทำผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อดำเนินงานเช่นเดียวกับการตรวจสอบเช็คที่อยู่ในรูปกระดาษธรรมดา เนื่องจากการตรวจสอบอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ลดขั้นตอนในการดำเนินการลง และมีคุณสมบัติในการรักษาความปลอดภัยมากกว่าการตรวจสอบเช็คที่ใช้กระดาษมาตรฐาน การรักษาความปลอดภัยของ eCheck หมายรวมถึงการตรวจสอบการเข้ารหัส cryptography, ลายเซ็นดิจิตอลและการเข้ารหัสลับชนิด Encryption

eCheck นอกจากจะใช้ในการดำเนินการในโลกของธุรกิจประเภท e-Commerce แล้ว eCheck ยังใช้ในการชำระเงินได้เหมือนกับเช็คที่ทำด้วยกระดาษทุกประการ และใช้กฎหมายเดียวกันกับเช็คที่ทำด้วยกระดาษ ซึ่งกระทรวงการคลังสหรัฐใช้ eCheck ในการชำระเงินประเภทออนไลน์

(Ref: http://www.investopedia.com/terms/e/electroniccheck.asp#axzz1vhi6aLxq)

สำหรับธนาคารพาณิชย์ประเทศไทย ยังไม่ได้นำระบบ eCheck แบบเดียวกับที่ใช้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้ ดังนั้นหากนักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการชำระเงินค่าเล่าเรียนด้วย eCheck จะต้องใช้บริการผ่านธนาคารในประเทศสหรัฐที่นักศึกษาได้เปิดบัญชีไว้

การใช้ eCheck ในประเทศสหรัฐอเมริกามิได้จำกัดอยู่ที่การจ่ายเงินค่าเล่าเรียนของสถานศึกษา หาก eCheck ยังถูกนำไปใช้ในการชำระค่าสินค้า และค่าบริการต่างๆ อาทิ  ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ ค่าประกันรถยนต์  และอื่นๆ

ข้อดีของ eCheck และข้อเสียของ echeck

ข้อดี

ข้อเสีย

1.สะดวกในการทำธุรกรรมได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ไม่มีวันหยุดทำการธนาคาร 1.ก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องความผิดพลาดอันเกิดจากการฉ้อโกงของพ่อค้าหรืออาจเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์หรือเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์
2.ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะประหยัดค่าซองจดหมายและค่าดวงตราไปรษณียากร อีกทั้งประหยัดค่าพิมพ์เช็คที่ทำด้วยกระดาษมาตราฐาน
3. eCheck ช่วยลดขั้นตอนระยะเวลาที่ผู้ถือเช็คได้รับเช็คไปจนกระทั่งถึงตอนที่ได้รับเงินสั่งจ่ายตาม เช็ค
4.การใช้ eCheck มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าการใช้บัตรเครดิต เนื่องจากบัตรเครดิตมักจะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายและขายให้กับบุคคลที่สาม (Third Party) เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำแคมเปญทางการตลาดที่มีเป้าหมายเป็นตัวกำหนด การใช้เ eCheck ยังป้องกันไม่ให้พ่อค้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ eCheck เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

Ref: http://www.ehow.com/list_5765083_advantages-disadvantages-electronic-checks.html

http://paysimple.com/echeck_benefits.html

http://www.peakpay.com/html/e-check_benefits.html

http://www.ehow.com/list_5831933_advantages-electronic-check-payment-systems.html

วิธีการจ่ายเงินผ่าน eCheck

1. ผ่านระบบของมหาวิทยาลัยที่ตอบรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ โดยนักศึกษาเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เลือกหัวข้อการจ่ายเงินค่าเล่าเรียนประเภทต่างๆ หรือ Payment Options เลือกการจ่ายเงินแบบ eCheck ใส่หมายเลขเช็ค, Routing Number, ระบุจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย โปรดศึกษารูปภาพตัวอย่างเช็คที่อยู่ในรูปของกระดาษธรรมดาข้างล่างนี้ เพื่อให้เข้าใจความหมาย “หมายเลขเช็ค” ” Routing Number” “หมายเลขบัญชีของนักศึกษาที่มีอยู่กับธนาคาร หรือ Account Number”  ว่าอยู่ตรงส่วนไหนของเช็ค

(Ref:http://www.calbar.ca.gov/AboutUs/CenteronAccesstoJustice/PathwaystoJustice/Registration.aspx)

การส่ง eCheck ให้มหาวิทยาลัยนั้น นักศึกษาจะปฏิบัติตามขั้นตอนที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัย Southern Methodist University  ( http://smu.edu/bursar/smupay.asp)

อนึ่ง สถานที่บางแห่งอาจมีคำแนะนำให้ทำการ void eCheck ก่อนส่ง เพื่อไม่ให้ผู้รับเช็คนำ eCheck ใบนั้นไปใช้ในทางอื่น บางหน่วยงาน เช่น บริษัทประกันรถอาจอนุญาตให้มีการถ่ายรูป หรือสแกนภาพถ่ายเช็คที่ทำด้วยกระดาษก่อน หลังจากนั้นจึงส่งเช็คไปทางอีเมล์ บริการ eCheck กำลังเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา เพราะผู้จ่ายเงินไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร และผู้ใช้ eCheck สามารถทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ 24 ชั่วโมง 7 วันทำการ 365 วัน ไม่มีวันและเวลาหยุดทำการ

2. กรณีไม่ได้ใช้ eCheck เพื่อชำระค่าเล่าเรียนให้มหาวิทยาลัย แต่อาจนำ eCheck ไปใช้ในการชำระ ค่าสินค้า และค่าบริการอื่นๆโดยทั่วไป ผู้สั่งจ่ายเช็คจะเข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารที่ตนเองมีบัญชีเงินฝาก และขอสมัครการใช้ธนาคารออนไลน์กับธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากอยู่ด้วย บัญชีที่ใช้ควรเป็นบัญชี Checking หรือ Personal Checking Account ผู้ใช้ต้องขอลงทะเบียน(register) การใชั echeck ก่อน, กำหนดที่อยู่อีเมล์กับทางธนาคารให้เรียบร้อย และอย่าลืมปฏิบัติตามกฎและระเบียบของธนาคารแห่งนั้นๆในการเข้าใช้ธนาคารออนไลน์ เมื่อผู้ใช้บัญชีเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ของธนาคารแล้ว ให้คลิกเลือกไอคอน eCheck ใส่ชื่อผู้รับเงิน หรือหน่วยงาน หากหน่วยงานกำหนดให้ Ref.Number ถ้าผู้สั่งจ่ายเช็คทราบ Ref.Number ของผู้รับ ให้นำ Ref Number นั้นมากรอกในหน้าเว็บไซต์ของธนาคาร หลังจากนั้นใส่จำนวนเงิน วิธีหลังนี้นิยมจ่ายเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์

การรับเงินจาก eCheck

หากผู้ใช้เช็คและผู้รับเงินมีบัญชีธนาคารคนละธนาคารไม่เหมือนกัน ธนาคารจะส่ง eCheck ฉบับจริงให้ผู้รับเงินทางไปรษณีย์ ผู้รับเงินจะนำ echeck ไปเข้าบัญชีธนาคารที่ counter ของธนาคาร กรณีธนาคารของผู้รับเงินและของผู้ส่งเงินเป็นธนาคารชื่อเดียวกัน เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้รับเงินเลย คล้ายกับระบบการโอนเงินระหว่างธนาคาร  (Wire Transfer)

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *