การใช้บริการรถสาธารณะในประเทศสหรัฐอเมริกา

หลายคนที่กำลังวางแผนเตรียมตัวไปศึกษาต่อหรือไปท่องเที่ยวที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรืออีกหลายคนที่ได้รับวีซ่าให้เดินทางเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว อาจจะไม่ได้เตรียมหาข้อมูลเรื่องวิธีการเดินทางในประเทศสหรัฐอเมริกา เราทุกคนทราบกันดีว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ น่าจะมีการคมนาคมขนส่งที่ดีที่สุดในโลก คนที่เคยมีประสบการณ์เดินทางเข้าไปในประเทศศหรัฐอเมริกาแล้วไม่ว่าจะในฐานะนักท่องเที่ยว, นักเรียน หรือไปทำงานช่วงสั้น คงจะเห็นแล้วว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ มีบางรัฐเท่านั้นที่มีรถไฟใต้ดิน ที่เหลือต้องพึ่งการคมนาคมในรูปแบบอื่นๆ อาทิ รถโดยสารประจำทาง, รถรางเดียว, รถไฟ ฯลฯ รถโดยสารสาธารณะประเภทต่างๆที่กล่าวมา มักจะมีเวลาเดินรถที่แน่นอนตามตารางเวลา และมีความถี่ในการหมุนเวียนรถแตกต่างกันไป บางเมืองใช้เวลารอรถโดยสารคันใหม่ประมาณ 30 นาที บางเมือง 40-45 นาที บางเมือง 1 ชั่วโมง  ดังนั้นในบางเมืองที่ไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่าน นักศึกษาจำเป็นต้องใช้การเดินจากที่พักไปยังมหาวิทยาลัย สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอาจจะเป็น 20-30 นาที ถือเป็นเรื่องปกติของชีวิตนักศึกษาในต่างประเทศ ในบางมหาวิทยาลัยจะเห็นนักศึกษาเลือกที่จะใช้รถจักรยานในการเดินทาง นอกจากจะเป็นการประหยัดพลังงานแล้วยังนับว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วย ซึ่งการถีบจักรยานอาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องความไม่สะดวกอยู่บ้างในช่วงฤดูหนาว

ความสะดวกที่สุดในการเดินทางของคนอเมริกันเอง คือการมีรถยนต์ส่วนตัว ส่วนนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการมีรถยนต์ส่วนตัว ควรศึกษาหาข้อมูลให้พร้อมในเรื่องการซื้อรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ใหม่ หรือรถยนต์มือสอง การสอบใบขับขี่ การทำประกันรถยนต์ กฎเกณฑ์การใช้รถใช้ถนน และหากมีการทำความผิดเกิดขึ้น บทลงโทษมีหนัก-เบาอย่างไร นอกจากนี้ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ อาทิ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าประกันรถยนต์ ค่าเช่าที่จอดรถ และฯลฯ

นักศึกษาบางท่านหันมาเลือกสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีความสะดวกสบายในการคมนาคม เช่น มีรถไฟใต้ดิน เพราะอาจคิดถึงความสะดวกสบายในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม การเลือกสถานศึกษาไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยเรื่องการคมนาคมเพียงอย่างเดียว เพราะการเลือกเมืองใหญ่ที่มีความสะดวกสบายในการเดินทาง ก็จะต้องพบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

สำหรับเนื้อหาตอนนี้ขอแนะนำเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นหาข้อมูลว่า มีเมืองใดบ้างในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีรถไฟใต้ดิน( Subway) เว็บไซต์

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_metro_systems ได้รวบรวมตารางการเดินรถไฟใต้ดินในประเทศต่างๆรวมทั้งชื่อเรียกระบบ ปีที่เปิดให้บริการ จำนวนสถานี และความยาวของเส้นทางที่เป็นหน่วยกิโลเมตร และหน่วยไมล์

อย่างไรก็ตามเพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษามีแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับการคมนาคมประเภทที่ใช้รางแบบอื่นๆนอกเหนือจากรถไฟใต้ดิน ขอแนะนำเว็บไซต์ที่มีประโยชน์อีกหนึ่งเว็บไซต์  http://www.urbanrail.net/am/america.htm

เมื่อคลิกเลือกชื่อเมืองในแผนที่ เช่น เมืองนิวยอร์ค จะปรากฏแผนที่รถไฟใต้ดินในเมืองนิวยอร์คทั้ง 21 เส้นทาง ดังภาพข้างล่างนี้

ใต้ภาพเส้นทางการเดินรถจะมีรูปภาพรถที่ใช้วิ่งในแต่ละเส้นทาง

นอกจากนี้ในเว็บไซต์ http://www.urbanrail.net/am/america.htm

ยังแสดงรายชื่อเมืองที่มีการเดินรถที่ใช้รางประเภทอื่นๆ เช่น Light Rail, Mono Rail, Metro Rail, Trolley  และรถไฟ Amtrak เป็นต้น ยกตัวอย่างแผนที่การเดินรถในเมือง San Jose ในรัฐ California เป็นต้น

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

2 Replies to “การใช้บริการรถสาธารณะในประเทศสหรัฐอเมริกา”

  1. ระบบรถไฟในอเมริกาแบ่งเป็น 3 ระบบได้แก่
    1. Subway คือรถไฟใต้ดินหรือบางเมืองเช่นชิคาโกก็จะมีวิ่งข้างบนด้วย เป็นรถไฟที่ดำเนินการขนส่งผู้โดยสารในบริเวณเมืองใหญ่ รอบการวิ่งค่อนข้างถี่ (3-5 นาทีต่อ 1 ขบวน)
    2. Commuter Rail / Metra เป็นรถไฟขนาดใหญ่ขึ้นมาอีก ที่จะทำการวิ่งระหว่าง downtown เมืองใหญ่ ไปบริเวณเมืองที่อยู่รอบนอก (subburb) ซึ่งเป็น residential area ระยะทางประมาณ 20-50 miles เช่น Chicago ไป Glenview หรือ DC ไปเมืองที่อยู่อาศัยในรัฐ Virginia เป็นต้น รอบการวิ่งจะไม่ถี่มาก (30นาที – 1 ชั่วโมง ต่อ 1 ขบวน)
    3. Amtrak รถไฟวิ่งทางไกล ระหว่างเมืองที่อยู่ในรัฐเดียวกันแต่อยู่ไกลกันมากกว่าระยะทางที่ Commuter Rail วิ่ง เช่น Chicago ไป Urbana-Champaign หรือ วิ่งข้ามรัฐที่อยู่ห่างกันก็จะใช้รถไฟชนิดนี้เช่นกัน รอบการวิ่งวันละประมาณ 2 รอบ (http://www.amtrak.com/home) รถไฟประเภทนี้ใช้เดินทางไกลในการท่องเที่ยว โดยปรกติจะไม่เกี่ยวกับการเดินทางไป-กลับ โรงเรียนในชีวิตประจำวัน
    การเดินทางในชีวิตประจำวันถ้าเป็นคนที่อยู่ในเมืองใหญ่จะใช้เพียงข้อ 1. แต่ถ้าน้องๆคนไหนมีความจำเป็นต้องออกไปอยู่ชานเมือง เช่นน้องที่เรียนใน DC แต่ต้องอยู่บ้านในรัฐ Virginia ก็อาจจะต้องใช้บริการของข้อ 2. ประกอบกับรถเมล์ หรือ subway ข้อ 1.ปัจจุบันการเลือกมหาวิทยาลัย บางแห่งจะมีหลาย campus เช่น DePaul U , Roosevelt U ในชิคาโก อาจจะต้องมีบางวิชาที่ต้องออกไปเรียน campus ที่อยู่ชานเมือง (ตอนเลือกเรียนไม่รู้มาก่อน) ก็อาจจะต้องใช้บริการข้อ 2. ก็ควรจะระวังในจุดนี้ด้วยครับ

    1. ขอบคุณมากค่ะน้อง Tee ที่กลับมาคอมเม้นท์เพิ่มเติมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *