อยากทำงานเป็น SOLICITORS ที่อังกฤษ

อยากทำงานเป็น Solicitors ที่อังกฤษ

อยากทำงานเป็น Solicitors ที่อังกฤษ เก็บตกจากงานนิทรรศการการศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จัดโดยบริติชเตานซิลเมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2561 มีหัวข้อหนึ่งน่าสนใจเหมาะกับคนที่เรียนจบด้านกฎหมายแล้วอยากหาประสบการณ์ได้ทำงานในศาลของอังกฤษจริงๆ เพื่อใช้ประสบการณ์นั้นเป็นโปรไฟล์ในการสมัครทำงานด้านกฎหมายในอังกฤษหรือในประเทศอื่นๆต่อไป

ในวันนั้น BPP University ได้มาแนะนำหลักสูตรของมหาวิทยาลัยว่า BPP เกิดจากการรวมตัวของหลายหน่วยงานในอังกฤษ หลังจากที่ได้พบว่า ผู้เรียนจบปริญญาด้านกฎหมายมา แต่ยังปฎิบัติงานจริงด้านกฎหมายไม่ได้ดี จึงออกแบบหลักสูตรให้เน้นภาคปฎิบัติมากขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรกฎหมายสามารถทำงานได้จริง เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้คนต่างชาติอย่างเราๆได้เข้าไปทำงานในศาลอังกฤษ และอาจจะเขยิบเข้าไปสมัครงานในบริษัทกฎหมาย ( law Firm) ในประเทศอื่นๆอีกได้ เพราะรู้ธรรมเนียมการปฎิบัติงานทางกฎหมายในต่างประเทศ หรือถ้าอยากสอบ Barrister at Law ของ UK จะต้องเตรียมตัวอย่างไรดี

คำถามค้างในใจจากการไปฟังบรรยายในวันนั้น ทนายความภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้คำว่า Lawyer หรือ? เพราะผู้ดำเนินรายการท่านหนึ่งกล่าวทำนองว่า หลักสูตรของ BPP จะช่วยให้คนที่อยากไปตีตัวทนายในอังกฤษก็ย่อมทำได้แล้ว แต่ดูเหมือนฝรั่งที่บรรยายจะใช้คำว่า Solicitor บ่อยครั้ง ด้วยความอยากรู้จึงไปค้นหามาได้ว่า ( http://www.qlts.com/blog/profession/the-solicitor-and-barrister-profession-in-the-uk-what-is-the-difference )

Solicitor คือ ทนายที่ติดต่อกับลูกความโดยตรง ร่างและจัดเตรียมเอกสารทางกฎหมาย แต่จะไม่ว่าความในศาล

Barrister จะทำหน้าที่ว่าความในศาล และมักจะไม่ได้ข้องเกี่ยวกับลูกความโดยตรง แต่จะรับงานผ่าน Solicitor เท่านั้น

ทั้งสองคำนี้จะนิยมใช้ในเขตอำนาจศาลอังกฤษและเวลส์ http://www.dictionary.com/e/lawyer-vs-attorney/   ขณะที่ทางฝั่งสก็อตแลนด์จะใช้คำว่า Solicitor แบบอังกฤษ แต่จะไม่ใช้คำว่า Barrister คือ นักกฎหมายที่ทำหน้าที่ว่าความในศาล กลับไปใช้คำว่า Advocate แทนคำว่า Barrister อ่านแล้วก็เข้าใจว่า ทุกวิชาชีพและในแต่ละประเทศ จะมีเสน่ห์ในเรื่องความแตกต่างของการใช้ภาษาที่ต้องเรียนรู้กันตลอดเวลา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเอง ก็จะนิยมใช้คำว่า Attorney มากกว่า Barrister และ Advocate Attorney ในอเมริกา คือ ทนายที่ห้คำปรึกษาทางกฎหมายได้ และฟ้องคดีในศาลได้ด้วย

อีกประเด็นเรื่องการเรียนที่บิกว่า เน้นการปฏิบัติ และผู้บรรยายที่มาจากวงการวิชาชีพของมหาวิทยาลัย  BPP  ทำให้อยากรู้ว่า

ทำไมต้องเป็น BPP ที่เดียวหรือ? มหาวิทยาลัยอื่นๆในอังกฤษที่ไปเรียนต่อปริญญาโทใช้สมัครงานทางกฎหมายใน UK ไม่ได้หรือ?

คำตอบจากเว็บไซต์นี้ http://www.chambersstudent.co.uk/where-to-start/qualifying-from-overseas พอจะทำให้เห็นภาพมหาวิทยาลัย BPP และเข้าใจหลักสูตรที่  BPP นำเสนอเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ ผู้ที่ต้องการทำงานด้านกฎหมาย เป็น Solicitors และ Barristers ในอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องเรียนจบปริญญาโท อาจจะจบปริญญาตรีก็ได้ แต่ต้องมีึคุณสมบัติข้างล่างนี้ด้านใดด้านหนึ่ง คือ

  • ต้องผ่าน LPC หรือ Legal Practice Course หรือ
  • ต้องเรียนหลักสูตร Graduate Diploma in Law ก่อน 1 ปีแล้วตามด้วย LPC หรือ Legal Practice Course อีก 10 เดือนถึง 1 ปี จึงจะสามารสมัครงานเป็น Solicitors ในประเทศอังกฤษได้

มหาวิทยาลัย BPP มีหลักสูตรที่ตอบสนอง 2 ทางเลือกดังกล่าว BPP จึงนำมาเป็นจุดเด่นในการเชิญชวนให้นักศึกษาส่งสมัครเรียน

  • สำหรับผู้สนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรี หากเรียนจบ LLB (Hons) ได้ด้วยเกรดเกียรตินิยมอันดับ 2 เท่ากับเป็นการการันตีว่า ผู้เรียนจะมีโอกาสได้เข้าไปเรียนและฝึกปฏิบัติในหลักสูตร LPC แน่นอน

มหาวิทยาลัย BPP เป็น 1 ใน 9 แห่งของมหาวิทยาลัยเอกชนในสหราชอาณาจักร มีศูนย์การศึกษาอยู่ 12 เมือง คือ เมือง Abingdon (อยู่ใกล้เมือง Oxford) , Birmingham, Bristol, Cambridge , Doncaster,  Leeds Whitehall Quay, Liverpool, London City, London Holborn, London Shepherd’s Bush, London Waterloo, และ Manchester เจ้าของมหาวิทยาลัย คือ บริษัทสัญชาติอเมริกันชื่อ Apollo Education Group ตั้งอยู่ที่เมือง Phoenix ในรัฐ Arizona BPP เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นหลักสูตรให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จาก BPP ไปใช้ปฏิบัติงานได้ทันทีหลังจากเรียนจบ จึงได้รับความสนใจจากหลายองค์กรในอังกฤษ อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ตพเป็นผู้ที่เคยทำงานในวิขาชีพนั้นๆไม่ใชอาจารย์ด้านสายวิชาการอย่างเดียว

มหาวิทยาลัย BPP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1992 เริมเปิดสอนหลักสูตรกฎหมายเป็นวิชาแรก หลักสูตรที่ BPP เปิดสอน ได้แก่

  1. วิชากฎหมาย (Law)
  2. วิชาบริหารธุรกิจ ( Business) ประกอบด้วย การจัดการ (Management), การตลาด ( Marketing), บุคคล ( Human Resource), การเป็นเจ้าของธุรกิจ ( Entrepreneurship),  และการเป็นผู้นำ ( Leadership)
  3. วิชาบัญชี ( Accounting)
  4. วิชาการเงิน การธนาคาร (Finance)
  5. วิชาจิตวิทยา ( Psychology )
  6. วิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ( Health Studies) ได้แก่ ทันตแพทย์ (Dentistry), พยาบาล (Nursing),  ( Healthcare)
  • สำหรับผู้สนใจเรียนต่อปริญญาโทด้านกฎหมายของ BPP จะมีหลายทางเลือก

ผู้ที่ไม่ได้เรียนจบปริญญาตรีด้านกฎหมายมา มี 4 หลักสูตรให้เลือกเรียน เพื่อฝึกทักษะเป็น Solicitors หรือ จะเลือกเป็น Barristers แล้วแต่ความถนัดของผู้เรียน  https://www.bpp.com/bpp-university/postgraduate-programmes/law

  1. Graduate Diploma in Law
  2. LLM ( Law conversion)
  3. Legal Practice course
  4. Graduate LLB (Hons)

สำหรับผู้ที่เรียนจบด้านกฎหมายมา สามารถเลือก

  1. LLM Legal Practice ( Solicitors)
  2. Bar Professional Training Course (BPTC) เพื่อสอบเนติบัณฑิตของอังกฤษ
  3. LLM Legal Practice ( Barristers)
  4. Master of Laws (LLM)
  5. นอกจากนี้ BPP ยังมีหลักสูตร Bar Transfer Test เพื่อเตรียมสอบเนติฯอีกด้วย  https://www.bpp.com/postgraduate-course-details/d/postgraduate/BTT/12662

หน่วยงาน Solicitors Regulation Authority (SRA ) ของอังกฤษและเวลล์ได้นำเอานโยบาย The Qualified Lawyers Transfer Scheme ( QLTS ) เข้ามาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2010 โดยจัดให้มีการสอบครั้งแรกเมื่อปี 2011  QLTS มีไว้เพื่อสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในการเรียนวิชากฎหมายรวมทั้งเรื่องกฎระเบียบ และเป็นการทดสอบนักกฎหมายต่างชาติที่จะเข้าไปทำงานในอังกฤษ นโยบาย QLTS เดิมใช้กับผู้ที่มาจากเขตอำนาจทางศาลในสหภาพยุโรป ต่อมาได้ขยายเข้าไปใช้กับผู้ที่มาจากประเทศอื่นๆ เช่น รัสเชีย จีน และประเทศในกลุ่มอเมริกาใต้

SRA ได้แต่งตั้งให้สถาบันที่มีขื่อต่อไปนี้เป็นผู้ทำการทดสอบและประเมินผลการทดสอบ คือ

  1. Kaplan Law school : https://qlts.kaplan.co.uk/home
  2. BPP University : http://www.chambersstudent.co.uk/bpp-law-school/true-picture/62161/3##true-picture
  3. QLTS School  :  http://www.qlts.co.uk/
  4. City Law school : http://www.chambersstudent.co.uk/city-law-school-london/true-picture/16474/3##firm-profileิ่ม

ส่วนผู้ที่สนใจจะทำงานเป็น Solicitors ในสก็อตแลนด์ ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเตในอีกเว็บไซต์หนึ่งคือ

http://www.chambersstudent.co.uk/where-to-start/becoming-a-lawyer-in-scotland

กล่าวคือ หลังจากจบปริญญาตรี LLB จากสก็อตแลนด์

  1. ต้องเรียน Diploma in Professional Legal Practice (DPLP) หรือ Professional Education and Training Stage 1 (PEAT1 )เป็นระยะเวลานาน 26 สัปดาห์ Diploma นี้เทียบเท่ากับ LPC ของอังกฤษ
  2. เมื่อได้ DPLP แล้ว ต้องฝึกงานอีก 2 ปี Two-Year Traineeship หรือ PEAT2 แต่โอกาสได้ฝึกงานในสก็อตแลนด์มีน้อย

อนึ่ง ถ้าผู้สมัครสนใจชื่อ Universities มากกว่าที่กล่าวไปข้างต้น อาจลองค้นหาดูได้เพิ่มเติมจาก Google  เช่น มหาวิทยาลัยที่มี LPC ได้แก่

  1. Nottingham Trent University : https://www.ntu.ac.uk/study-and-courses/courses/find-your-course/law/pf/2018-19/legal-practice-course-full-time
  2. The University of law : http://www.law.ac.uk/postgraduate/lpc/
  3. Derby University : https://www.derby.ac.uk/law-courses/
  4. De Montfort University : http://www.dmu.ac.uk/study/courses/postgraduate-courses/legal-practice-course-lpc-full-time/legal-practice-course-full-time.aspx
  5. University of the West of England  : http://courses.uwe.ac.uk/M3AC12/advanced-legal-practice-lpc-llm
  6. Cardiff University School of Law and Politics : https://www.cardiff.ac.uk/study/postgraduate/taught/courses/group/legal-practice-course

มหาวิทยาลัยในสก็อตแลนด์ที่มีหลักสูตร PEAT1 สอน เช่น

  1. University of Strathclyde   : https://www.strath.ac.uk/courses/postgraduatetaught/professionallegalpractice/
  2. University of Glasgow:  https://www.gla.ac.uk/postgraduate/taught/professionallegalpracticediploma/
  3. University of Edinburgh : http://www.law.ed.ac.uk/undergraduate/programmes/graduate_llb
  4. University of Dundee : http://www.rgu.ac.uk/law/study-options/postgraduate/diploma-in-legal-practice/
  5. University of Aberdeen :  https://www.abdn.ac.uk/study/postgraduate-taught/degree-programmes/256/professional-legal-practice/
  6. Robert Gordon University :  http://www.rgu.ac.uk/law/study-options/postgraduate/diploma-in-legal-practice/

ก่อนจบเรื่องนี้ ขอแนะนำวิดีโอเรื่อง “Crown Court” จาก University of Derby จัดทำไว้เป็นกรณีศึกษาเรื่องชื่อเรียกและหน้าที่ของแต่ละคนในศาลเป็นภาษาอังกฤษ  https://www.youtube.com/watch?v=tZYvv_s5R-s

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top
Scroll to Top