รู้ไหมมีหลักสูตรสอนไทยศึกษาในสหรัฐอเมริกาที่ไหนบ้าง

เว็บไซต์ Worldometers เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับค่าสถิตืโลกตามเวลาที่เป็นจริง (Real Time) https://www.worldometers.info/world-population/ เราจะเห็นตัวเลขการเกิดและการตายเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากเว็บไซต์ Worldometers ทำให้ทราบว่า ประเทศไทยเราติดอันดับที่ 20 ของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก แต่ประเทศอินโดนีเซียและประเทศเวียดนามซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกับประเทศไทย มีประชากรมากกว่าไทย การมีประชากรมากกว่าน่าจะทำให้ประเทศทั้งสองดูมีกำลังทางด้านทรัพยากรบุคคล ที่จะมาช่วยในการพัฒนาประเทศมากกว่าประเทศไทย นอกจากนี้ ในการให้ความสำคัญในการเรียนภาษาของชนชาตินั้นๆ จะเห็นได้ว่า ในต่างประเทศเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามหาวิทยาลัยหลายแห่งมีหลักสูตรการสอนภาษาอินโดนีเซียและเวียดนามเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่าภาษาไทย อย่างไรก็ตามภาษาไทยของเราก็ยังพอมีสอนเป็นวิชาเลือกในหลักสูตร Southeast Asian Studies อยู่บ้าง

จากจำนวนประชากรก็จะเห็นคนที่พูดและใช้ภาษาไทยได้จากเว็บไซต์ข้างต้นส่า น่าจะมีถึง 69,625,582 คนเช่นเดียวกัน สถานศึกษาในต่างประเทศที่เล็งเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจ การเมืองของเอเซีย จึงทำการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเอเซียกันอย่างจริงจัง วิชาไทยศึกษา จัดเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเอเซียศึกษาบ้าง Southeast Asian Studies บ้าง ในประเทศชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร มีหลักสูตรการสอนเรื่องประเทศไทยทั้งในด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ศาสนา การเมือง ภาษา วรรณคดี ดนตรี ธรณีวิทยา หน่วยงานในประเทศไทยที่ให้การสนับสนุนสถานศึกษาในต่างประเทศ ที่ต้องการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยคือ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ http://www.siam-society.org/index_th.html และ สถาบันไทยศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.chula.ac.th/academic/institute-of-thai-studies/

มหาวิทยาลัย Cornell ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่เริ่มมีหลักสูตร สอนภาษาไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทด้าน Southeast Asia studies เริ่มจากในปี 1936 ศาสตราจารย์ลอริสตัน ชาร์ป ผู้มีคุณูปการต่อการมีหลักสูตรการสอนภาษาไทยที่ Cornell University ศาสตราจารย์ลอริสตัน ชาร์ป ได้เข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ที่ Cornell University และได้รวมภาควิชามานุษยวิทยากับสังคมวิทยาเข้าด้วยกัน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสตราจารย์ลอริสตัน ชาร์ปกลับไปทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้ากิจการงานด้านภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งท่านก็มีหน้าที่ในการดูแล 2 ประเทศโดยเฉพาะ คือ ประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย ต่อมาท่านกลับมาเป็นอาจารย์ที่ Cornell University อีกครั้งหลังจบสงครามโลก ศาสตราจารย์ลอริสตัน ชาร์ป เป็นผู้จัดระเบียบการสอนและการทำวิจัย ด้วยการนำเอาหลักการด้านมานุษยวิทยามาวิเคราะห์ร่วม ดังจะเห็นได้จากความพยายามของท่าน ในการศึกษาเรื่องอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี่การผลิตในหมู่บ้านชาวนาไทยที่บางชัน และคลองสามวาในปี 1947 เป็นโครงการที่เรียกว่า Cornell Thailand Project เมื่อท่านกลับมาที่ Cornell ท่านได้จัดให้มีการศึกษาด้าน Area Studies และภาษาที่ใช้ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านเป็นผู้อำนวยการคนแรกด้าน Southeast Asia Studies ที่ Cornell University ตั้งแต่ปี 1950-1960 : https://www.cambridge.org/core/services/aop-cambridge-core/content/view/B871EBD493C86ABEC8A66344C5436E5F/S0021911800045538a.pdf/div-class-title-lauriston-sharp-1907-1993-div.pdf การศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของ Cornell University ยังเป็นต้นแบบให้กับศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในรัฐอื่นๆของสหรัฐอเมริกาด้วย https://seap.einaudi.cornell.edu/southeast-asian-study-centers

รายชื่อมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่มีการสอนเกี่ยวกับภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย

  • Cornell University มีวิชา minor Southeast Asia Studies เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาภูมิภาค Asian Studies และมีสอนภาษาไทย : https://asianstudies.cornell.edu/thai
  • University of Hawaii, Manoa มีสอนปริญญาตรีและปริญญาโทด้าน Asia Studies และมีสอนภาษาไทย เป็นวิชาเลือกด้วย : https://www.hawaii.edu/thai/

Copyright © 2010-2019 GoVisaEdu All rights reserved.

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top
Scroll to Top