สมัครเรียนต่อหมอที่อเมริกาผ่านหน่วยงาน AAMC

AAMC ย่อมาจาก Association of American Medical Colleges เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร อุทิศตนเพื่การเปลี่ยนแปลงสุขภาพที่ดีผ่านการศึกษาทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพ การวิจัยทางการแพทย์ และความร่วมมือในชุมชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.1876 ที่ตั้งของหน่วยงาน AAMC อยู่ที่ วอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา AAMC มีสมาชิกประกอบด้วยโรงเรียนแพทย์ที่ได้รับการรับรองทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาจำนวน 170 แห่ง,โรงพยาบาลที่ทำการสอนเกี่ยวกับระบบสุขภาพ รวมถึงศูนย์การแพทย์กิจการทหารผ่านศึกอีกมากกว่า 400 แห่ง, คณะแพทย์และสมาคมทางวิชาการมากกว่า 70 แห่ง, คณาจารย์ทางการแพทย์มากกว่า 191,000 คน, แพทย์ประจำบ้าน(Resident Physicians) มากกว่า 149,000 คน และ นักศึกษาแพทย์มากกว่า 95,000 คน https://www.aamc.org/about-us

ในการสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา นักศึกษาจะต้องใช้บริการการประมวลผลแอปพลิเคชันแบบรวมศูนย์ของ AAMC นั่นคือ American Medical College Application Service® (AMCAS®) (https://students-residents.aamc.org/applying-medical-school/applying-medical-school) AMCAS จะเป็นศูนย์รวบรวม, ตรวจสอบ และส่งข้อมูลการสมัคร ค่าสมัคร และคะแนนสอบ MCAT® ให้กับแต่ละโรงเรียนแพทย์ที่นักศึกษาเลือกส่งสมัคร AMCAS ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ทำการตัดสินใจรับนักศึกษาเข้าเรียน แต่โรงเรียนแพทย์ที่เข้าร่วมแต่ละแห่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจรับเข้านักศึกษาเรียนเป็นรายบุคคล ในกรณีค่าสมัคร ผู้สมัครสามารถส่งเอกสารการสมัครชุดเดียวและส่งไปยังโรงเรียนแพทย์ที่ระบุ ค่าธรรมเนียมการสมัครปี 2023 คือ $170 สำหรับโรงเรียนแพทย์แห่งแรก และ $43 สำหรับโรงเรียนแพทย์เพิ่มเติมแต่ละแห่ง โปรดทราบว่าไม่ใช่ทุกโรงเรียนแพทย์ที่ใช้ AMCAS ดังนั้นโปรดตรวจสอบกับโรงเรียนแพทย์ที่นักศึกษาจะส่งสมัครเพื่อกำหนดกระบวนการรับเข้าเรียนแพทย์ด้วย

อนึ่ง ในการสมัครเข้าเรียนต่อแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ของรัฐในรัฐเท็กซัส นักศึกษาจะต้องสมัครโดยใช้ Texas Medical and Dental Schools Application Service (TMDSAS) หรือเว็บไซต์ https://www.tmdsas.com/ นั่นเอง

รายชื่อโรงเรียนแพทย์ 170 แห่ง ที่ได้รับการรับรอง https://members.aamc.org/eweb/DynamicPage.aspx?site=AAMC&webcode=AAMCOrgSearchResult&orgtype=Medical%20School

รายชื่อโรงพยาบาลที่ทำการสอนเกี่ยวกับสุขภาพ 400 แห่ง https://members.aamc.org/eweb/DynamicPage.aspx?webcode=AAMCOrgSearchResult&orgtype=Hospital%2FHealth%20System

ก่อนตัดสินใจว่าควรจะเลือกส่งสมัครโรงเรียนแพทย์ใด โปรดเตรียมการศึกษาหาข้อมูล และทำการสอบ MCAT ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปีก่อนการส่งสมัคร ค่าสมัครสอบ MCAT ประมาณ $330 ( https://students-residents.aamc.org/register-mcat-exam/us-mcat-calendar-scheduling-deadlines-and-score-release-dates-0)

การหาข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย

  • เกณฑ์การพิจารณาการรับสมัครของโรงเรียนแพทย์ที่นักศึกษาสนใจ อาจหาข้อมูลเตรียมไว้ประมาณ 15-20 แห่ง
  • ตัดสินใจว่าจะเลือกส่งสมัครที่ใดบ้าง โดยทั่วไปนักศึกษามักจะส่งสมัครกันประมาณ 16 โรงเรียน เพราะสาขาแพทยศาสตร์มีการแข่งขันสูง โรงเรียนแพทย์แต่ละแห่งรับนักศึกษาได้ไม่มาก และนักศึกษาที่ต้องการสมัครเรียนแพทย์เป็นผู้มีความสามารถในระดับไล่เลี่ยกัน ทั้งคะแนนเฉลี่ยสะสม GPA และคะแนน MCAT โรงเรียนแพทย์แต่ละแห่งนอกจากจะมีลักษณะเฉพาะของแต่ละโรงเรียนแพทยืแล้ว ยังมีความแตกต่างกันในด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียนแพทย์ ตลอดจนขนาดของโรงเรียนแพทย์ สถานที่ตั้ง และรูปแบบการสอน ผู้ที่เรียนปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกาสามารถติดต่อ National Association of Advisors for Health Professionals (NAAHP) ให้ช่วยหา Academic Advisor (https://www.naahp.org/public-resources/student-resources/find-an-advisor) เพื่อปรึกษาเรื่องการเลือกโรงเรียนแพทย์ที่เหมาะสมได้ https://www.naahp.org/HigherLogic/System/DownloadDocumentFile.ashx?DocumentFileKey=6320848d-571e-b371-3355-6b57a9b4383b&forceDialog=0 แต่ถ้านักศึกษาจบปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจากประเทศไทย และต้องการไปศึกษาต่อแพทยศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์ที่สอนวิชาแพทย์ในประเทศไทยและจบการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่นักศึกษาควรหาทางเข้าไปทำความรู้จักและขอคำแนะนำเพิ่ม

หรือดาวน์โหลดหนังสือเรื่องคำแนะนำในการสมัครโรงเรียนแพทย์ในสหรัฐอเมริกามาอ่าน https://store.aamc.org/2021-official-guide-to-medical-school-admissions-how-to-prepare-for-and-apply-to-medical-school.html

เครื่องมือที่จะช่วยนักศึกษาในการเก็บข้อมูลทั้งของตัวนักศึกษาเองและสิ่งที่แต่ละมหาวิทยาลัยต้องการ เพื่อประกอบการตัดสินใจสมัครเรียนต่อแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่

  • Individual Pre-Med Woksheets https://students-residents.aamc.org/medical-school-admission-requirements/pre-med-worksheets-official-guide-medical-school-admissions-2021-edition เมื่อนักศึกษาเข้าไปที่เว็บไซต์แล้วลองคลิกแต่ละ Worksheet จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจการสมัคร ความต้องการของโรงเรียนแพทย์ในสหรัฐฯ ซึ่งอาจมีทั้งข้อเหมือนหรือข้อแตกต่างจากการเรียนในระบบการศึกษาแบบไทย ทำให้นักศึกษาพอทราบได้ว่า ตนมีความพร้อมที่จะเข้าไปอยู่ในระบบดังกล่าวหรือไม่ จะได้ไม่เครียดหากได้เข้าไปศึกษาจริง

ยกตัวอย่างเช่น Boston University ปิดรับสมัครสำหรับเทอม Fall 2023 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2022 https://www.bumc.bu.edu/busm/admissions/application-process/deadlines/

Harvard University จะปิดรับสมัคร 15 ตุลาคม 2022 เพื่อเข้าเรียน Fall 2023 https://meded.hms.harvard.edu/admissions-how-to-apply

  • ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อแพทย์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรนำมาใช้ในการพิจารณาเลือกมหาวิทยาลัยที่จะส่งสมัครเรียน เพราะการเรียนต่อแพทยศาสตร์ไม่ค่อยมีทุนการศึกษาให้นักศึกษาต่างชาติ เช่น ค่าใช้จ่ายของ Harvard University ปีการศึกษา 2022 อยู่ที่ประมาณ 101,218 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี https://meded.hms.harvard.edu/md-cost-attendance

อนึ่ง การเตรียมหลักฐานเรื่อง Transcript เพื่อส่งให้ AMCAS เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่อาจทำให้นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนจบจากประเทศสหรัฐอเมริกา และต้องการสมัครเรียนต่อแพทย์ในสหรัฐฯพบกับความล่าช้าในการดำเนินการ ดังนั้นควรรีบส่ง Transcript แต่เนิ่นๆ ถ้ามีการจัดส่ง Transcript ไปไม่ถูกวิธี จะได้มีเวลาจัดการแก้ไขใหม่ได้ทันก่อนการปิดรับสมัคร ศึกษาวิธีการส่ง Transcript ได้ที่เว็บไซต์ https://students-residents.aamc.org/how-apply-medical-school-amcas/section-4-amcas-application-coursework และในการกรอกสมัครวิชาเรียนไม่ควรเลือกเรียนหลายหลักสูตรในหนึ่งโรงเรียนแพทย์ ถ้าต้องการสมัครหลายหลักสูตรต้องติดต่อกับโรงเรียนแพทย์ก่อนส่งสมัครผ่าน AMCAS คำอธิบายในการเลือกหลักสูตรต่างๆของโรงเรียนแพทย์มีดังนี้ https://students-residents.aamc.org/media/11616/download

  1. หลักสูตรปริญญาทางการแพทย์มาตรฐานหรือตามปกติ ( Regular MD)
  2. หลักสูตรร่วม MD-PhD (Combined MD-PhD) เป็นหลักสูตรเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาการวินิจฉัยและการรักษาโรคใหม่ๆ และผลักดันเรื่องการเรียนรู้โรคใหม่ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิจัยด้านการแพทย์หรือที่เรียกว่านักวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร MD-PhD มักจะไปเป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ตามมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยทางการแพทย์ โดยจะใช้เวลาในการเรียนนานประมาณ 7-8 ปี ระยะเวลาคร่าวๆในการสมัครคือ https://students-residents.aamc.org/applying-md/phd-programs/applying-md-phd-programs-0 ถ้าสนใจข้อมูลเชิงลึกสำหรับหลักสูตร MD-PhD เข่น รายชื่อมหาวิทยาลัยที่มีเปิดสอน, หากเรียน MD แล้วจะทำ Ph.D. ต่อทางด้าน Humanities หรือ Social Science ได้หรือไม่ แนะนำให้ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://students-residents.aamc.org/tools-md-phd-applicants/tools-md-phd-applicants

สุดท้ายและเป็นสิ่งสำคัญคือ การดาวน์โหลด Applicant Guide ออกมาอ่านอย่างละเอียด https://students-residents.aamc.org/media/11616/download

Copyright © 2010-2022 GoVisaEdu All rights reserved

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top
Scroll to Top