วีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Visa) และการอนุมัติการเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ETA) วีซ่าทั้งสองแบบคือใบอนุญาตการเดินทางแบบดิจิทัลที่โดยทั่วไปต้องใช้ร่วมกับหนังสือเดินทางที่ถูกต้องในการเดินทางเข้าสู่เขตอำนาจศาลเฉพาะหรือเข้าสู่ประเทศที่ผู้เดินทางจะขอวีซ่าเพื่อเดินทางเข้าไปในประเทศนั้นนั่นเอง ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 หลายประเทศได้เริ่มใช้วีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Visa) และการอนุมัติการเดินทางทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETA) เป็นทางเลือกแทนวีซ่าแบบดั้งเดิม (Traditional Visa) ความหมายของ ETA คือ การลงทะเบียนก่อนเดินทางมาถึงประเทศนั้นๆ ซึ่งอาจจะจัดหรืออาจจะไม่จัดประเภทอย่างเป็นทางการว่าเป็นวีซ่าขึ้นอยู่กับเขตอำนาจศาลที่ออก ซึ่งจำเป็นสำหรับนักเดินทางต่างชาติที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่าแบบเต็ม ตรงกันข้ามกับขั้นตอนที่ใช้โดยทั่วไปเกี่ยวกับการขอวีซ่าที่เหมาะสม หาก ETA Visa ถูกปฏิเสธ ผู้เดินทางสามารถเลือกยื่นขอวีซ่าแบบเดิมแทนได้ วีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Visa) เป็นเพียงวีซ่าที่นักเดินทางสามารถสมัครและรับทางออนไลน์ได้โดยไม่ต้องไปที่สถานกงสุลหรือตัวแทนวีซ่าของรัฐผู้ออก
วีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa หรือ eVisa) หรือการอนุมัติการเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ (หรือ ETA) จะถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์และเชื่อมโยงกับหมายเลขหนังสือเดินทาง ดังนั้นจึงไม่มีการติดป้าย หรือสติกเกอร์ หรือตราประทับลงในหนังสือเดินทางก่อนการเดินทาง การสมัครจะดำเนินการผ่านทางอินเทอร์เน็ต และใบเสร็จรับเงินจะทำหน้าที่เป็นวีซ่า ซึ่งสามารถพิมพ์หรือเก็บไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ วีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ (eVisa) และการอนุมัติการเดินทางทางอิเล็กทรอนิกส์ (eTA) เป็นเอกสารการเดินทางดิจิทัลที่ช่วยให้นักเดินทางสามารถเดินทางเข้าไปในประเทศนั้นๆได้ แม้จะมีความคล้ายคลึงกันอย่างชัดเจน แต่การอนุญาตการเดินทางทั้งสองรูปแบบนี้มี ความแตกต่าง ดังนี้คือ
- โดยทั่วไปแล้ว ETA จะจำกัดไว้สำหรับนักเดินทางที่มาจากประเทศที่ได้เข้าร่วมโครงการสละสิทธิ์วีซ่ากับประเทศปลายทาง ในขณะที่ E-Visas มักจะใช้ได้กับประเทศและดินแดนในขอบเขตที่กว้างกว่า
- โดยปกติแล้ว E-Visas จะมีระยะเวลาที่ใช้ได้ตั้งแต่ 30 ถึง 60 วัน ทำให้เหมาะสำหรับการเยี่ยมชมในระยะสั้น ในทางกลับกัน ETA มักจะได้รับระยะเวลาการใช้งานที่ขยายออกไปมากขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการวางแผนการเยี่ยมชมหลายครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง
- ETA มักช่วยให้นักเดินทางสามารถเข้าไปในประเทศปลายทางได้หลายครั้งในช่วงระยะเวลาที่เอกสารยังมีผลบังคับใช้ เพื่อรองรับผู้ที่มีความต้องการเดินทางเป็นประจำ ในทางกลับกัน E-Visas ได้รับการออกแบบตามอัตภาพสำหรับการใช้งานแบบเข้าครั้งเดียว ซึ่งหมายความว่านักเดินทางสามารถเข้าประเทศได้เพียงครั้งเดียวในช่วงที่วีซ่ายังมีผลบังคับใช้
ตัวอย่างประเทศที่ใช้ E-Visa และ ETA
Australia เริ่มทดลองใช้ ETA Visa เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2539 สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางสิงคโปร์และอเมริกันที่เดินทางด้วยสายการบินแควนตัสและสิงคโปร์แอร์ไลน์ ETA Visa ของออสเตรเลียอนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้ไปเยือนออสเตรเลียได้ไม่จำกัดครั้ง สูงสุด 3 เดือนต่อครั้ง ในระยะเวลา 12 เดือนเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านการท่องเที่ยวหรือธุรกิจ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่า แต่จะมีการเรียกเก็บค่าบริการ ETA Visa จำนวน AU$20 สำหรับการสมัครที่ยื่นทางออนไลน์ ผู้ถือ ETA Visa ทุกคนจะต้องปลอดจากโรควัณโรค และจะต้องไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ ที่มีโทษจำคุก (ไม่ว่าจะรับโทษหรือไม่ก็ตาม) รวมระยะเวลา 12 เดือนขึ้นไป https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/getting-a-visa/visa-listing/electronic-travel-authority-601#Overview ในปัจจุบันประเทศออสเตรเลียใช้โครงการ Electronic Travel Authority ETA Visa) เพื่อบริการพลเมืองของทวีปอเมริกาเหนือและประเทศในเอเชียต่างๆ คือ Canada, United States of America, Brunei, Hong Kong (SAR of China), Japan, Malaysia, Singapore, South Korea,Taiwan (excluding official or diplomatic passports) และประเทศในสหภาพยุโรป ได้แก่ Andorra, Austria, Belgium, Denmark, Finland, France, Germany, Greece, Iceland, Ireland, Italy, Liechtenstein, Luxembourg, Malta, Monaco, Norway, Portugal, Republic of San Marino, Spain, Sweden, Switzerland, The Netherlands, United Kingdom—British Citizen, United Kingdom—British National (Overseas), Vatican City ส่วน E-visa ของประเทศออสเตรเลีย จะเป็นการจัดการการเดินทางระยะสั้นแบบต่างตอบแทนสำหรับผู้ถือสัญชาติออสเตรเลียและผู้ถือสัญชาติในสหภาพยุโรป ได้แก่ Andorra, Austria, Belgium, Bulgaria, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, German, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Monaco, The Netherlands, Norway, Poland, Portugal, Romania, Republic of San Marino, Slovakia Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, United Kingdom – British Citizen, Vatican City ความหมายของ E-Visa ต่างตอบแทน คือ ประเทศออสเตรเลียอนุญาตให้พลเมืองของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 27 ประเทศและประเทศอื่น ๆ อีก 9 ประเทศใช้ eVisitor visa ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และอนุญาตให้ผู้ถือ E-Visa เข้าเยี่ยมชมประเทศออสเตรเลียได้ไม่จำกัดครั้ง สูงสุด 3 เดือนต่อครั้ง ในระยะเวลา 12 เดือนเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการท่องเที่ยวหรือธุรกิจ ในช่วงเวลาของการเดินทางและเข้าประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือ E-Visa ทุกคนจะต้องปลอดจากวัณโรค และต้องไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ ซึ่งโทษจำคุก (ไม่ว่าจะรับโทษหรือไม่ก็ตาม) รวมระยะเวลา 12 เดือนหรือมากกว่านั้น ในขณะเดียวกัน พลเมืองของประเทศออสเตรเลียจะได้รับ E-VISA เพื่อเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจในสหภาพยุโรป 27 ประเทศและประเทศอื่นๆอีก 9 ประเทศได้ https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/getting-a-visa/visa-listing/evisitor-651#Eligibility
Canada ให้คำจำกัดความของคำว่า ETA Visa ไว้ดังนี้คือ ระบบอนุมัติการเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ (eTA) เป็นข้อกำหนดในการเข้าประเทศสำหรับชาวต่างชาติที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าที่ต้องการเดินทางไปแคนาดาทางอากาศ โดย eTA จะเชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือเดินทางของผู้เดินทางที่มีอายุ 5 ปี หรือจนกว่าหนังสือเดินทางจะหมดอายุ ทั้งนี้ขี้นอยู่กับว่า กรณีใดจะเกิดขี้นก่อน หากผู้เดินทางได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ก็จะต้องสมัครขอ eTA ใหม่ด้วย นักเดินทางสามารถเดินทางไปแคนาดาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งสำหรับการพำนักระยะสั้น (โดยปกติไม่เกินครั้งละ 6 เดือน) หาก eTA ยังมีอายุอยู่ ไม่จำเป็นต้องใช้ eTA สำหรับการเดินทางภายในประเทศแคนาดา อย่างไรก็ตาม eTA ไม่ได้รับประกันการเข้าประเทศแคนาดา ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองขอดูหนังสือเดินทางและเอกสารอื่นๆของ ผู้เดินทางๆจะต้องแสดงให้เจ้าหน้าที่มั่นใจว่าผู้เดินทางมีสิทธิ์เข้าประเทศแคนาดาได้ https://www.canada.ca/en/immigration-refugees-citizenship/services/visit-canada/eta/facts-th.html ETA Visa ของประเทศแคนาดาจะมีทั้งหมด 4 ประเภทคือ ETA สำหรับธุรกิจ, ETA เพื่อการท่องเที่ยว, ETA สำหรับการขนส่ง และ ETA สำหรับการรักษาพยาบาล เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 รัฐบาลแคนาดาได้ประกาศให้ 14 ประเทศต่อไปนี้สามารถขอ ETA Visa ได้คือ Antigua and Barbuda, Argentina, Brazil, Costa Rica, Morocco, Panama, Philippines, St. Kitts and Nevis, St. Lucia, St. Vincent and the Grenadines, Seychelles, Thailand, Trinidad and Tobago, Uruguay โดยมีเงื่อนไข 3 ประการคือ ประการที่ 1 มีวีซ่าแคนาดาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือถือวีซ่าสหรัฐที่ยังไม่หมดอายุ ประการที่ 2 เข้ามาอยู่ในประเทศแคนาดาแบบระยะสั้น ธุรกิจ หรือท่องเที่ยว (ปกติแล้วจะอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน)และประการสุดท้ายคือ เดินทางเข้ามาในประเทศแคนาดาหรือเดินทางผ่าน (Transit) ประเทศแคนาดาทางอากาศ โดยใช้พาสปอร์ตของ 1 ในประเทศที่กำหนดไว้ (ไทยเป็นหนึ่งในนั้น) หากเดินทางเข้าประเทศแคนาดาโดยทางรถยนต์ รถประจำทาง รถไฟ หรือเรือ ต้องใช้ visitor visa ตามปกติ
New Zealand ประเทศที่มีสิทธิ์ขอ NZeTA ได้คือ Argentina, Austria, Bahrain, Belgium, Brazil, Brunei, Bulgaria, Canada, Chile, Croatia, Cyprus,Czech Republic, Denmark, Estonia (citizens only), Finland, France, Germany, Greece,Hong Kong (residents with HKSAR or British National–Overseas passports only), Hungary,Iceland, Ireland, Israel, Italy, Japan, Korea, South, Kuwait, Latvia (citizens only), Liechtenstein, Lithuania (citizens only), Luxembourg, Macau (only if you have a Macau Special Administrative Region passport), Malaysia, Malta, Mauritius, Mexico, Monaco, Netherlands, Norway, Oman, Poland, Portugal (if you have the right to live permanently in Portugal), Qatar, Romania, San Marino, Saudi Arabia, Seychelles, Singapore, Slovak Republic, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, Taiwan (if you are a permanent resident), United Arab Emirates,United Kingdom (UK) (if you are travelling on a UK or British passport that shows you have the right to reside permanently in the UK), United States of America (USA) (including USA nationals),Uruguay, Vatican City NZETA มช้เวลาในการดำเนินการ 72 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการขอวีซ่า NZ$17 มีอายุในการใช้งานระหว่าง 2-5 ปี https://www.immigration.govt.nz/new-zealand-visas/preparing-a-visa-application/your-journey-to-new-zealand/before-you-travel-to-new-zealand/details-page/visa/nzeta สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางไทย สามารถเดินทางผ่านหรือต่อเครื่อง (transit) ที่นิวซีแลนด์ได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า และต้อง transit เฉพาะที่ท่าอากาศยานนานาชาตินครโอ๊คแลนด์ (Auckland International Airport) และใช้เวลา transit ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมทั้งต้องไม่ออกข้างนอกพื้นที่เปลี่ยนเครื่องของท่าอากาศยานฯ (transit area) สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวศัแลนด์ได้ให้คำแนะนำไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของสถานทูคว่า ” ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยที่จะ transit ที่นิวซีแลนด์ จะต้องขอ New Zealand Electronic Travel Authority (NZeTA) ก่อนเดินทาง ซึ่งการอนุมัติ NZeTA อาจใช้เวลาตั้งแต่ 10 นาที – 72 ชั่วโมง โดยสามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ หรือ application (รายละเอียดปรากฏตาม https://www.immigration.govt.nz/new-zealand-visas/apply-for-a-visa/about-visa/nzeta) แต่มีข้อควรระวัง ผู้โดยสารที่จองตั๋วเครื่องบินแยกส่วน หรือ separate booking (อาทิ จองตั๋วเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ มานครโอ๊คแลนด์ด้วยสายการบินหนึ่ง และจองตั๋วเที่ยวบินจากนครโอ๊คแลนด์ต่อไปประเทศที่สามด้วยอีกสายการบินหนึ่ง) อาจถูกสายการบินปฏิเสธไม่ให้ check through จนถึงจุดหมายปลายทางได้ กล่าวคือ เมื่อเดินทางถึงนครโอ๊คแลนด์แล้วผู้โดยสารจะต้องรับสัมภาระและผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อน จึงจะไป check in ใหม่กับอีกสายการบินหนึ่งได้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกสายการบินของประเทศต้นทางปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่องตั้งแต่แรกหากผู้โดยสารไม่มีวีซ่าเข้านิวซีแลนด์ ดังนั้น จึงขอแนะว่า ควรหลีกเลี่ยงการจองตั๋วเครื่องบินแบบ separate booking เพื่อเลี่ยงปัญหาดังกล่าว และ หากมีความจำเป็นต้องจองตั๋วเครื่องบินแบบ separate booking ควรเตรียมขอวีซ่าเข้านิวซีแลนด์ไว้แต่เนิ่น ๆ ก่อนการเดินทาง (ไม่ต้องขอ NZeTA)
South Korea ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ประเทศเกาหลีใต้ ได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ K-ETA หรือ Korea Electronic Travel Authorization เพื่อขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้มาใช้กับคนต่างชาติ หมายความว่า คนต่างชาติไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งทางกระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ ใช้ระบบ K-ETA เพื่อแก้ปัญหาการปฏิเสธนักท่องเที่ยวไม่ให้เข้าเมืองที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงการลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การประเมิน K-ETA อาจใช้เวลามากกว่า 72 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ K-ETA ที่ได้รับอนุมัติแต่ละครั้งอนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมสาธารณรัฐเกาหลีได้หลายครั้งภายในระยะเวลาของ K-ETA (3 ปีโดยรวม) อย่างไรก็ตาม การได้รับอนุมัติ K-ETA ไม่ใช่เป็นการรับประกันการเข้าประเทศเกาหลีใต้ได้ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นผู้ตัดสินใจคนสุดท้ายที่จะอนุญาตให้ผู้เดินทางท่านนั้นเข้าไปในสาธาณรัฐเกาหลีใต้ได้หรือไม่ อายุของ K-ETA 3ปีก็ไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาที่ได้รับการอนุญาตให้คนแต่ละเชื้อชาติเข้าพำนักในประเทศ เช่นคนสัญชาตืไทยมีสิทธิ์พำนักในสาธารณรัฐเกาหลีใต้ได้ไม่เกิน 90 วัน
โปรดระมัดระวัง K-ETA ที่ได้รับการอนุมัติแล้วอาจจะถูกปฏิเสธหรือยกเลิกได้ หากพบว่าข้อมูลที่ยื่นไปแล้วนั้นเป็นเท็จ บุคคลผู้นั้นอาจถูกลงโทษหรือถูกจำกัดการเข้าประเทศได้ตามกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอ K-ETA คือ 10.000 วอน หรือ ประมาณ 9-10 ดอลล่าร์สหรัฐ และจะขอคืนไม่ได้ถ้าถูกปฏิเสธวีซ่า K-ETA ไม่รับผิดชอบกรณีที่มีบุคคลที่สามโอนเงินค่าวีซ่าเข้ามาให้แทน ในกรณีที่ K-ETA ยังไม่หมดอายุแต่ผู้ถือหนังสือเดินทางมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล เช่น ชื่อ เพศ วันเดือนปีเกิด สัญชาติและอื่นๆ ผู้ถือหนังสือเดินทางเล่มนั้นต้องยื่นเรื่องขอ K-ETA ใหม่ และถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเข้าประเทศหรือย้ายที่อยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ผู้ถือหนังสือเดินทางเล่มนั้นต้องอัพเดทข้อมูลใหม่ผ้านหน้าเว็บไซต์ ในปัจจุบันมีประมาณ 119 ประเทศที่สามารถขอ K-ETA visa ได้ K-ETA https://www.k-eta.go.kr/portal/guide/viewetaapplication.do คือ Albania, Andorra, Antigua-Barbuda, Argentina, Australia,, Austria, Bahamas, Bahrain, Barbados, Belgium, Bosnia-Hdercegovina, Botswana, Brazil, Brunei, Bulgaria, Canada, Chile, China P.R. (Hong Kong), China P.R. (Macao), Colombia, Commonwealth of Dominica, Costa Rica, Croatia, Cyprus, Czech, Denmark, Dominican Rep., Ecuador, El Salvador, Estonia, Eswatini, Fiji, Finland, France, Germany F.R., Greece, Grenada, Guatemala, Guyana, Haiti, Holy See, Hondurus, Hungary, Iceland, Ireland, Israel, Italy, Jamaica, Japan, Kazakhstan, Kiribati, Kuwait, Latvia, Lesotho, Liechtenstein. Lithuania, Luxembourg, Malaysia, Malta, Marshall Islands, Mauritius, Mexico, Micronesia, Monaco, Montenegro, Morocco, Nauru, Netherlands, New Caledonia, New Zealand, Nicaragua, Norway, Oman, Palau, Panama, Paraguay, Peru, Poland, Portugal, Qatar, Republic of Serbia, Romania, Russia, Samao, San Marino, Saudi Arabia, Seychelles, Singapore, Slovak, Slovenia, Solomon Is., South Africa, Spain, St.Kitts-Nevis, St. Lucia, St.Vincent, Surinam, Sweden, Switzerland, Taiwan, Thailand, Tonga, Trinidad Tobago, Tunisia, Turkiye, Tuvalu, U.A.E., UK-British Citizen(GBR), UK British Dependent Territories Citizen(GBD), UK British National Overseas(GBN), UK British Overseas Citizen (GBO), UK British Protected Person (GBP), UK British Subject (GBS), United States of America, Uruguay, Venezuela
ETA Visa ยังมีอีกหลายประเทศที่นำระบบนี้ไปใช้แต่เงื่อนไขเรื่องผู้ที่มีสิทธิ์ขอ ETA Visa ไม่มีชื่อประเทศไทย จึงไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ อาทิ เช่น สหราชอาณาจักร https://www.gov.uk/guidance/electronic-travel-authorisation-eta#who-will-not-need-an-eta ประเทศที่มีสิทธิ์ขอ UK ETA Visa คือ Qatar ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2023, ส่วน Bahrain, Jordan, Kuwait, Oman, Saudi Arabia และ United Arab Emirates เริ่มขอได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2024
ประเทศสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาดำเนินการใช้ ETA Visa ในชื่อว่า Electronic System for Travel Authorization (ESTA) ภายใต้โครงการ Visa Waiver Program (VWP) ผู้เดินทางที่ถือสัญชาติอยู่ในรายชื่อของประเทศที่ได้รับการอนุญาตผ่าน ESTA ไม่ได้หมายความว่าผู้เดินทางนั้นจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทั้งหมด เจ้าหน้าที่ศุลกากรและป้องกันชายแดนของสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้พิจารณาการอนุญาตเมื่อผู้เดินทางนั้นเดินทางมาถึงสหรัฐอเมริกา ใบสมัคร ESTA จะรวบรวมข้อมูลชีวประวัติและคำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับคุณสมบัติ VWP สามารถส่งใบสมัคร ESTA ได้ตลอดเวลาก่อนการเดินทาง ผู้เดินทางควรสมัคร ESTA ทันทีที่เริ่มเตรียมแผนการเดินทางหรือก่อนที่จะซื้อตั๋วสายการบิน https://www.cbp.gov/travel/international-visitors/visa-waiver-program รายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ภายใต้โครงการ Visa Waiver Prgram ได้แก่ Andorra, Australia, Austria, Belgium, Brunei, Chile, Croatia, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Japan, Korea, Republic of, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Monaco, Netherlands, New Zealand, Norway, Poland, Portugal, San Marino, Singapore, Slovakia, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, Taiwan, United Kingdom
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Electronic_visa
Copyright © 2010-2023 GoVisaEdu All rights reserved