ระบบ EFTPOS ในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์คืออะไร

ระบบ EFTPOS ในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์คืออะไร

สิ่งหนึ่งที่ผู้เดินทางไปอยู่ต่างประเทศระยะยาว เช่น นักศึกษา หรือคนไปทำงาน ควรหาข้อมูลเรียนรู้ไว้ก่อนหน้าเดินทางคือ เรื่อง วิธีการใช้เงินในประเทศที่กำลังจะเดินทางไปถึง รวมทั้งการเปิดบัญชีธนาคารในประเทศนั้นๆ ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนในต่างประเทศมักไม่นิยมถือเงินสดไว้ในกระเป๋าเป็นจำนวนมาก และไม่นิยมชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินสด ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันนิยมชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิต หรือในบางประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์นิยมชำระค่าสินค้าและบริการด้วยระบบ EFTPOS

ระบบ EFTPOS คืออะไร

EFTPOS ย่อมาจากคำว่า Electronic Funds Transfer at point of sale คือ การหักบัญชีเงินฝาก ณ จุดขาย โดยการหักยอดเงินดังกล่าวจากบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตร และโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากของร้านค้าผู้รับบัตรทันที  EFTPOS เป็นเทคโนโลยี่ที่ถือกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1981 และใช้กันแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ. 1982 Westpac ธนาคารในประเทศออสเตรเลียได้ออกบัตรเดบิต EFTPOS ใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1984 โดยใช้กับสถานีบริการน้ำมัน BP ส่วนประเทศนิวซีแลนด์ Bank of New Zealand ได้ออกบัตร EFTPOS Debit card ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1985 และใช้กับสถานีบริการน้ำมัน เช่นเดียวกัน         ( https://en.wikipedia.org/wiki/EFTPOS ) นอกจากนี้ในปีค.ศ. 1985 The State Bank of Victoria ในประเทศออสเตรเลียได้พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน EFTPOS ด้วยการเชื่อมต่อบัตร ATM ของธนาคารเข้ากับระบบ EFTPOS เพื่อให้ลูกค้าของธนาคารสามารถใช้บัตร ATM กับอุปกรณ์ EFTPOS ได้ด้วย แต่ธนาคารในประเทศออสเตรเลียยังไม่อนุญาตให้นำบัตรเดบิตที่ทำกับธนาคารในประเทศอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารในประเทศออสเตรเลียใช้อุปกรณ์ EFTPOS ในออสเตรเลียได้

ในปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบ EFTPOS สามารถรับได้ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต แต่ในกรณีบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ อาจจะมีค่า interchange fee จากธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตร อนึ่งการกดเงินสดออกจากบัตรเดบิตด้วยอุปกรณ์ EFTPOS ก็สามารถทำได้ด้วย ในบางประเทศเรียกการกดเงินสดออกมาว่า Cash back บางแห่งเรียก Cash out ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินออกมา แต่ต้องตรวจดูเรื่องจำนวนเงินสูงสุดในการที่จะกดเงินสดออกมาใช้  กฏของแต่ละประเทศอาจจะให้จำนวนเงินสดไม่เท่ากัน

อนึ่ง ในช่วงทศวรรษที่ 2000 หรือระหว่างปีค.ศ. 2001-2009 บริษัท Master card และบริษัทวีซ่าได้ผลิตบัตร MasterCard PayPass และ Visa payWave ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ใช้หลักการเดียวกันกับบัตร EFTPOS รุ่นใหม่ กล่าวคือ เพียงแค่นำบัตรไปแตะเครื่องอ่านบัตรแบบ Contactless ก็ชำระเงินได้เลยทันที สะดวก ง่าย บัตรไม่เสีย ไม่ต้องรูดบัตร หรือเสียบบัตร แล้วรอเซ็นต์สลิปด้วย บัตร payWave กับบัตร EFTPOS ใช้หลักการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMV Technology มีตัวประกอบหลัก 2 ชนิดด้วยกันคือ

  1. เสาอากาศ  เสาอากาศขนาดเล็กจะฝังอยู่ในบัตรหรือโทรศัพท์ ที่จะช่วยส่งข้อมูลการการชำระเงิน ปลอดภัยด้วยเครื่องอ่านพิเศษระบบ contactless และมีการจำกัดวงเงินเอาไว้เพื่อความปลอดภัย หากชำระเงิินไม่เกิน 100 $NZ สามารถใช้บัตรนี้ในการแตะชำระเงินที่แท่นอ่านบัตรได้เลย คล้ายกับบัตรรถไฟฟ้าบ้านเรา
  2. ชิป (Chip) ใช้ระบบ Radio-Frequency Identification หรือ RFID Chip สามารถควบคุมบัตรได้ในระหว่างการทำธุรกรรม มีการสร้างรหัสเฉพาะในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง ทำให้มีโอกาสผิดพลาดน้อย

ผู้ที่เคยมีหรือเคยใช้บัตร payWave ของธนาคารบางแห่งในประเทศไทยแล้วคงจะเข้าใจหลักการทำงานของบัตร EFTPOS ได้ดีขึ้น https://www.visa.co.th/th_TH/pay-with-visa/featured-technologies/mobile-visa-paywave.htm   ผู้สนใจยังสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ IT 24 Hours: https://www.it24hrs.com/2017/visa-paywave-contactless/

ผู้ใช้บัตร EFTPOS มีอยู่ 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มที่เป็นผู้ขายสินค้าและบริการ ร้านค้าใดจะใช้บริการ EFTPOS ร้านค้าจะต้องทำสัญญากับผู้ให้บริการ EFTPOS ในประเทศนั้น เช่น ในประเทศออสเตรเลีย มีผู้ให้บริการอยู่ 7 แห่ง ได้แก่ https://www.mobiletransaction.org/australian-eftpos-system/
  •  Westpac Banking Corporation
  • Australia and New Zealand Banking Group
  • Commonwealth Bank of Australia
  • National Australia Bank
  • Cuscal
  • Cashcard
  • ผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น smartpay, Life eftpos, bambora เป็นต้น

ส่วนประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่นิยมใช้ EFTPOS มากที่สุดในโลก ก็ว่าได้ มีผู้ให้บริการหลักๆ (Provider) 2 จ้าวคือ

  • EFTPOS Central หรือ Paymark Limited ( หรือชื่อเดิมคือ Electronic Transaction Services Limited) ซึ่งมีร้านค้าใช้บริการอยู่ 75%
  • EFTPOS New Zealand

ธุรกิจใดก็ตามในประเทศนิวซีแลนด์ที่ต้องการติดตั้งระบบ EFTPOS สามารถทำได้โดยติดต่อกับธนาคาร เช่น

  • กลุ่มธนาคาร ANZ กับ National Bank ซึ่งใช้ระบบ ที่เรียกว่า EFTPOS New Zealand
  • กลุ่มธนาคาร Bank of New Zealand, Westpac Bank, และ ASB Bank ใช้ระบบ Paymark EFTPOS

ในประเทศนิวซีแลนด์ อุปกรณ์ EFTPOS ของ 2 บริษัทจะมีจุดต่างกันบ้างเล็กน้อย ผู้ประกอบการต้องเช่าอุปกรณ์ EFTPOS มาจากธนาคาร  ทางผู้ประกอบการจะใช้เครื่องมือดังกล่าวมาเก็บเงินลูกค้า ซึ่งดูไปแล้วก็คล้ายๆกับการเป็นเจ้าของอุปกรณ์รูดบัตรเครดิต การใช้งานไม่ยุ่งยาก ตามซูเปอร์มาร์เก็ตต่างตั้งระบบ EFTPOS ไว้อยู่แล้วตามข้อกำหนดของผู้ให้บริการ ลูกค้าเพียงนำสินค้าไปสแกนจนครบ หลังจากนั้นจะมีมูลค่าขึ้นมาให้ลูกค้าเห็น ลูกค้านำบัตรรูดก็เป็นอันเริ่มปฏิบัติงานได้ เมื่อรูดบัตรแล้วเครื่อง EFTPOS จะถามต่อว่า จะสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใดระหว่างบัญชีกระแสรายวัน หรือ บัญชีออมทรัพย์ หรือเครดิต จากนั้นให้กดรหัสเอทีเอ็ม เมื่อทำระบบเสร็จ เครื่อง EFTPOS ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่ธนาคารจะหักเงินออกจากบัญชีลูกค้าตามจำนวนที่ได้ซื้อขายทันที ขั้นตอนทั้งหมดสามารถทำเสร็จได้ในเวลาไม่นาน

https://youtu.be/cyQQ_GCsXF0

ระบบ EFTPOS อำนวยความสะดวกในการใช้เครดิตจากโทรศัพท์มือถือในการจ่ายค่าสินค้าและบริการ แม้แต่ชำระค่าจอดรถ ชาวออสเตรเลียและชาวนิวซีแลนด์จึงไม่พกเงินสดอีกต่อไป แต่ใช้เครดิตจากโทรศัพท์มือถือหรือบัตรเอทีเอ็มหักเงินจากบัญชีเงินฝากแทน

2. กลุ่มผู้ใช้บัตร EFTPOS ผู้ต้องการมีบัตร EFTPOS ต้องเปิดบัญชีธนาคารก่อน การเปิดบัญชีธนาคารในออสเตรเลีย นักศึกษาสามารถเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ได้ก่อนเดินทางเข้าไปในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบล็อกนี้เคยเขียนเรื่อง  สิ่งที่ควรทราบในการเปิดบัญชีธนาคารในประเทศออสเตรเลีย ไว้บ้างแล้ว ส่วนวิธีการเปิดบัญชีธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์

ผู้เปิดบัญชีสามารถเลือกเปิดบัญชีได้ 2 วิธีคือ

  1. เปิดบัญชีแบบออนไลน์ กับธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์ก่อนออกเดินทางจากเมืองไทย ธนาคารที่เปิดบัญชีออนไลน์ได้อาทิ เช่น

ANZ : https://www.anz.co.nz/personal/migrants-travel-foreign-exchange/microsite/en/move-to-nz/

KiwiBank: https://www.kiwibank.co.nz/personal-banking/international-services/moving-to-nz/ 

BNZ : https://www.bnz.co.nz/personal-banking/international/moving-to-new-zealand/open-an-account-from-overseas

ASB : https://www.asb.co.nz/moving-to-new-zealan

2. ถ้าต้องการเปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์เมื่อเดินทางไปถึงประเทศนิวซีแลนด์ ให้โทรศัพท์นัดหมายเรื่องเปิดบัญชีธนาคาร และเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์

  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • หลักฐานเรื่องสถานที่เรียนที่ตอบรับเข้าเรียนพร้อมรายละเอียดเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียน
  • หลักฐานเรื่องที่พักที่ชัดเจนแน่นอน ไม่ใช่โรงแรม

หลังจากเปิดบัญชีธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์ เจ้าของบัญชีจะได้รับบัตรมา 2 บัตรคือ

  1. บัตรเดบิต บัตรเดบิตจะผูกกับระบบการจ่ายเงินของบัตร Visa หรือ Master card ดังนั้น บัตรเดบิตจึงใช้ได้ทั้งในการเดินทางไปประเทศอื่น ใช้กับการซื้อสินค้าออนไลน์ หรือใช้ชำระค่าสินค้าทางโทรศัพท์
  2. บัตร EFTPOS  ใช้ระบบการจ่ายเงินของ EFTPOS เอง เว็บไซต์สถาบันการศึกษาในต่างประเทศเอง มักจะมีข้อมูลเรื่องการเปิดบัญชีธนาคารและการใช้เงินไว้ให้นักศึกษาต่างชาติทราบ เช่น เว็บไซต์ของ UNITEC : https://www.unitec.ac.nz/international/how-to-apply/departure-and-arrival/banking-in-new-zealand 

อนึ่ง บางธนาคารในประเทศนิวซีแลนด์จะมีโปรแกรมพิเศษให้นักศึกษา เช่น ไม่ต้องเสียค่าโอนระหว่างบัญชี หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเดบิต เป็นต้น

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.

TOEFL iBT คืออะไร ใช้เมื่อไรบ้าง

TOEFL iBT คืออะไร ใช้เมื่อไรบ้าง

TOEFL iBT หรือ Test of English as a Foreign Language internet-based Test คือ แบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความเข้าใจภาษาอังกฤษในระดับวิทยาลัยว่า ผู้ใช้สามารถผนวกทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนในเชิงวิชาการได้มากน้อยเท่าไร TOEFL เริ่มใช้ครั้งแรกในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1963-1964 TOEFL ได้พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการทดสอบจากการฝนด้วยดินสอดำเพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องลงบนกระดาษที่เรียกว่า TOEFL Paper-based Test หริอ TOEFL PBT ไปสู่การทำแบบทดสอบผ่านอุปกรณ์คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปีค.ศ. 1998 หรือที่เรียกกันว่า TOEFL Computer-based Test หรือ TOEFL CPT ข้อสอบ TOEFL ได้ถูกพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ผู้สอบสามารถผนวก 4 ทักษะคือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนให้ดียิ่งขึ้น จีงได้เกิดการทำแบบทดสอบผ่าน internet ที่เรียกว่า TOEFL iBT หรือ TOEFL Internet-based Test ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 2005-2006 TOEFL iBT มีศูนย์สอบอยู่ในประเทศต่างๆมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก

อนึ่ง TOEFL PBT แม้จะถูกยกเลิกการใช้งานอย่างถาวรในเดือนกรกฎาคม 2017 แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเลือกสอบ Revised TOEFL Paper-delivered Test ได้ ตรวจสอบศูนย์สอบที่มี Revised TOEFL Paper-delivered Test ได้ที่ https://www.ets.org/bin/getprogram.cgi?test=toefl

ตัวอย่างศูนย์สอบที่มี Revised TOEFL Paper-delivered Test เช่น Marshall Island

ไอคอนที่ให้เลือกศูนย์สอบจะระบุราคาค่าสมัครสอบและวันที่ที่เปิดสอบ https://www.ets.org/bin/getprogram.cgi?test=toefl เช่น ประเทศไทย ปี 2018

สำหรับค่าสมัครสอบนอกจากชำระได้ด้วยบัตรเครดิต และบัตรเดบิตแล้ว ยังสามารถชำระได้ด้วยวิธีอื่นๆอีก เช่น จ่ายผ่าน PayPal, Western Union หรือ Money Order ฯลฯ https://www.ets.org/toefl/ibt/about/fees

TOEFL iBT จะแบ่งข้อสอบออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนผู้สอบต้องใช้ทั้ง 4 ทักษะคือ ฟัง พูด อ่านและเขียน มาวิเคราะห์หาคำตอบที่ถูกต้อง โดยมีคะแนนเต็ม 120 คะแนน ข้อสอบทั้ง 4 ส่วนคือ

  1. Reading คะแนนเต็ม 30 คะแนน ใช้เวลาในการทำข้อสอบ  60-80 นาที มี 3-4 academic passages มาให้อ่าน  และมีคำถามใน Reading ทั้งหมดประมาณ 35-56 คำถาม
  2. Speaking คะแนนเต็ม 30 คะแนน ใช้เวลาในการสอบประมาณ 60-90 นาที มีคำถามประมาณ 34-51 คำถามในส่วนนี้
  3. หยุดพักนานประมาณ 10 นาที
  4. Listening คะแนนเต็ม 30 คะแนน ใช้เวลาในการทำข้อสอบประมาณ 20 นาที มีคำถามทั้งหมด 6 คำถาม
  5. Writing คะแนนเต็ม 30 คะแนน ใช้เวลาประมาณ 50 นาทีในการทำข้อสอบ ให้เขียน 2 หัวข้อ อ่านเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของ TOEFL: https://www.ets.org/toefl/ibt/about/content/

ตามสถิติของหน่วยงาน ETS ที่เป็นผู้จัดสอบ TOEFL ทำให้เราได้ทราบว่า มีผู้เคยสอบ TOEFL มาแล้วทั่วโลกมากกว่า 30 ล้านคน https://www.ets.org/toefl/ibt/about  และผลการทดสอบจะอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง ค่าเฉลี่ยคะแนนสอบ TOEFL iBT ที่นักศึกษาไทยทำสถิติไว้ในปีค.ศ. 2017 คือ 78 คะแนน https://www.ets.org/s/toefl/pdf/94227_unlweb.pdf

TOEFL IBT ใช้เมื่อไร

  1. ใช้ในการยื่นสมัครเรียนในระดับตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง รับเข้าเรียนค่อนข้างยาก
  2. ใช้ในการยื่นสมัครเรียนทั้งระดับวิทยาลัย Community College, Four Year College และระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา
  3. ใช้ในการยิ่นสมัครเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ
  4. ใช้วัดผลก่อนการเข้าเรียนหลักสูตรที่สอนด้วยภาษาอังกฤษของประเทศต่างๆ และวัดผลก่อนจบการศึกษาหรือที่เรียกว่า Exit Program
  5. ใช้ในการสอบเพื่อยื่นขอใบประกอบวิชาชีพบางวิชาชีพ เช่น แพทย์
  6. ใช้ในการยื่นขอวีซ่าถาวรบางประเภททั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง หรือประเทศอื่น

หากผู้สอบต้องการ ทำแบบทดสอบฟรีออนไลน์ เว็บไซต์ TOEFL มีหลายช่องทางให้เลือกทำแบบทดสอบก่อนการตัดสินใจซื้อหนังสือ https://www.ets.org/toefl/ibt/prepare/

ในวันสอบสามารถนำหนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชนเข้าไปในห้องสอบได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ของส่วนตัวต้องวางไว้นอกห้องสอบ ครวจาอบได้ที่เว็บไซต์ TOEFL อีกเช่นกันว่า ษูนย์สอบในประเทศไทยอนุญาตให้นำเอกสารใดมาแสดงได้บ้าง

คะแนนสอบ TOEFL มีผลใช้งานได้นาน 2 ปี และผู้สมัครสามารถสมัครสอบใหม่ได้ในเดือนถัดไปหลังสอบเสร็จ จาก ” A Guide to Understanding TOEFL iBT Scoreshttps://www.ets.org/Media/Tests/TOEFL/pdf/TOEFL_Perf_Feedback.pdf  ซึ่งจะแบ่งศักยภาพของผู้สอบในส่วน Reading และ Listening ได้เป็น 3 ระดับคือ

  1. Low คิอ ผู้ที่ได้ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 0-14 คะแนน
  2. Intermediate คิอ ผู้ที่ได้ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 15-21 คะแนน
  3. High คือ ผู้ที่ได้ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 22-30 คะแนน

ในขณะที่คะแนนสอบในส่วน Speaking และ Writing จะถูกวัดเป็น 3 ระดับเช่นเดียวกันคือ

  1. Limited คือ ผู้ที่ได้ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 1.0-2.0
  2. Fair คือ ผู้ที่ได้ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 2.5-3.5
  3. Good คือ ผู้ที่ได้ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 4.0-5.0

ภาพบรรยกาศในห้องในวันสอบสามารถรับชมได้จากวิดีโอที่ ETS  เป็นผู้จัดทำขึ้น https://www.ets.org/s/toefl/flash/15571_toefl_prometric.html

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.

งานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง UK Pre-Departure Briefing 2018

งานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง

UK Pre-Departure Briefing 2018

UK Pre-Departure Briefing 2018ใกล้ถึงเวลาที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรจะเปิดเทอมในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมแล้ว บรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อสหราชอาณาจักร มักจะจัดให้มีงานปฐมนิเทศก่อนการเดินทางไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร หรือ UK Pre-Departure Briefing กัน นักเรียน นักศึกษาหลายคนที่พลาดไม่ได้ไปร่วมงาน เพราะไม่ทราบข้อมูลเรื่องงานปฐมนิเทศก่อนการเดินทางบ้าง หรือบางท่านทราบข้อมูลงานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง แต่ติดธุระอื่นไปฟังไม่ได้บ้าง อีกหลายท่านคิดว่า งานปฐมนิเทศก่อนการเดินทางไม่ต้องฟังก็ได้ เพราะมีเพื่อนคอยช่วยอยู่ที่สหราชอาณาจักรอยู่แล้ว

ประโยชน์ของการได้รับทราบข้อมูลก่อนการเดินทาง UK Pre-Departure Briefing เหมือนเราได้อ่านหนังสือเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องสอบ งานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง UK Pre-Departure Briefing จะประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ การเตรียมตัวขอวีซ่า การนำสิ่งของติดตัวเดินทางไปเรียน การไปใช้ชีวิตอยู่ในสหราชอาณาจักรโดยเชิญศิษย์เก่าจากสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักรมาบรรยาย รวมทั้งวิธีการนำเงินจากประเทศไทยเข้าไปใช้ที่สหราชอาณาจักร ถ้าเป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกในชีวิต น่าจะได้มีโอกาสไปเข้าร่วมงานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง UK Pre-Departure Briefing 2018 เผื่อว่าเมืองที่จะเดินทางไปเรียนต่อไม่มีคนไทยเรียนอยู่เลย เราก็อาจจะพอมีประสบการณ์จากการได้ฟังข้อมูลในงานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง UK Pre-Departure Briefing ที่ประเทศไทยมาบ้างแล้วว่า ควรจะเตรียมตัวอย่างไร

บริติช เคานซิลจะจัดให้มีงานปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง UK Pre-Departure ฺBriefing ประจำปี 2561 กับผู้ที่ได้รับการตอบรับเข้าศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร และผู้ที่สนใจทั่วไปได้รับฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากวิทยากรหลายหัวข้อ ได้แก่ ข้อมูลการขอวีซ่า และรับฟังประสบการณ์การไปศึกษาที่สหราชอาณาจักรจากศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร ในวัน อาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2561 ระหว่างเวลา 14.00-17.00 น. ที่โร

ความสำคัญของ Guardianship ในการไปเรียนต่อมัธยมศึกษาที่อังกฤษ

ความสำคัญของ Guardianship ในการไปเรียนต่อมัธยมศึกษาที่อังกฤษ

 

Guardianship คืออะไร มีความสำคัญต่อการส่งลูกไปเรียนที่อังกฤษอย่างไร Guardianship คือ ระบบการดูแลนักเรียนต่างชาติที่มีอายุน้อยกว่าหรือต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ปกครองนักเรียนจะต้องมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไปและอยู่ในประเทศอังกฤษ โรงเรียนในประเทศอังกฤษไม่มีนโยบายที่จะทำหน้าที่เป็น Guardian ให้กับนักเรียนต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้น ผู้ปกครองจึงต้องหาบริษัท Guardian เอง หรือหาคนรู้จักทำหน้าที่เป็น Legal Guardian ให้ ระเบียบการมี Guardian นี้ยังสอดคล้องกับกฎระเบียบในการยื่นขอวีซ่านักเรียน Tier4 Child Student Visa อีกด้วยที่กำหนดว่า นักเรียนที่อายุไม่ถึง 18 ปี ควรจะต้องมีผู้ดูแลอยู่ในประเทศอังกฤษ 

โดยนักเรียนยื่นหลักฐานเป็นจดหมายจากบริษัท Guardian ที่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษได้ว่า บริษัทจะให้การดูแลนักเรียนตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้แล้ว บทความที่คุณ Alison Blythe เขียนอธิบายเรื่อง ” ทำไมนักเรียนต่างชาติที่อายุต่ำกว่า 18 ปีต้องมี Guardianship ระหว่างเรียนอยู่ในโรงเรียนที่สหราชอาณาจักร ” เป็นสิ่งที่น่าอ่านอย่างยิ่ง ผู้ปกครองจะเกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างลูกไปเรียนหนังสือที่อังกฤษ และบริษัท Guardian ที่ผู้ปกครองได้เลือกใช้บริการ จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง บทความดังกล่าวอยู่ที่เว็บไซต์ https://www.ukboardingschools.com/advice/uk-guardians/

เมื่อ Guardian ทำหน้าที่แทนผู้ปกครอง หน้าที่ของ Guardian มีอะไรบ้าง

  1. ช่วยให้นักเรียนปรับตัวเข้ากับชีวิตนักเรียนในอังกฤษและกฎระเบียบของโรงเรียน
  2. ช่วยให้คำแนะนำในเรื่องการสอบ ตลอดจนการเลือกสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
  3. จัดหาครอบครัว Home-stay ให้นักเรียนเข้าพักระหว่างวันหยุดต่างๆของโรงเรียน เช่น  Exeats โรงเรียนส่วนใหญ่อนุญาตให้นักเรียนอยู่ในโรงเรียนระหว่างวันหยุด Exeats 2-3 วันนี้ได้แต่ก็มีบางโรงเรียนไม่ได้, Half-Term คือการหยุดช่วงกลางเทอม ปีการศึกษาหนึ่งมี 3 ครั้ง หรือช่วงวันหยุดยาวๆ เช่น ช่วงคริสมาต หรือช่วงอีสเตอร์ ตัวอย่างการปิดเปิดเทอมของโรงเรียน ชื่อ Framlingham College ปีการศึกษา 2018-2019

Autumn Term 2018

Spring Term 2019

Summer Term 2019

4. ช่วยจองตั๋วเครื่องบินให้นักเรียนบินกลับบ้าน หรือไปรับไปส่งนักเรียนที่สนามบินเมื่อนักเรียนเดินทางถึงประเทศอังกฤษหรือจพกลับประเทศของตนเอง

5. ช่วยจัดหายานพาหนะไปรับและไปส่งนักเรียนจากโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่ไปยังบ้านครอบครัว Home-stay ที่จัดเตรียมให้นักเรียนไปพักระหว่างวันหยุด

6. บริษัท Guardian ต้องทำงาน 7 วัน 24 ชั่วโมง พร้อมช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาได้ตลอดเวลา โดยไม่คำนึงถึงว่าวันนี้เป็นวันหยุด

การเลือก Guardian มีหลักการพิจารณาคือ บริษัท Guardian นั้นควรได้รับ การรับรอง จาก The Association of the Education and Guardianship of International Students (AEGIS)  AEGIS นับเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานในสหราชอาณาจักร ที่มีหน้าที่กำกับดูแลด้านการศึกษาและการปกครองนักเรียนต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี  หน่วยงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริติชเคานซิล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1994 หน้าที่หลัก คือ ดูแลและตรวจสอบบริษัท Guardianship ที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักรให้เป็นไปตามมาตราฐานของ Independent School Inspectorate (ISI) และ Office for Standard in Education (OFSTED)

AEGIS ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นโรงเรียนจำนวน 80 แห่ง และบริษัท Guardianship อีก 45 แห่ง http://www.aegisuk.net/guardian-organisations ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบรายขื่อสมาชิกทั้งประเภทโรงเรียน และ ประเภทบริษัท Guardianship ได้จากเว็บไซต์ข้างต้น

บางบริษัท Guardianship ที่เข้ามาทำความรู้จักกับคนไทยด้วยการออกบูธตามงานนิทรรศการเฉพาะด้าน เช่น งานนิทรรศการสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหราชอาณาจักร งานนิทรรศการจัดโดยบริติชเคานซิล ฯลฯ บริษัทเหล่านั้น คือ

1. Bright World Guardianship Limited: https://www.brightworld.co.uk/guardianship/index.asp

2. College Guardians ดาวน์โหลดข้อมูลบริการของบริษัทแห่งนี้ได้ที่ https://www.collegeguardians.co.uk/resources/downloads/

3. White House Guardianships: https://whg.eu.com/th/studying-in-the-uk/principal-guardianship.html

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.