การขอขยายเวลาวีซ่าเพื่ออยู่ต่อในสหรัฐในสถานะการณ์โควิด 19

วันที่ 15 เมษายน 2563 กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าทำงานหลังเรียนจบ (H-1B ) สามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาการอยู่ต่อในสหรัฐอเมริกาได้ https://www.uscis.gov/news/alerts/covid-19-delays-extensionchange-status-filings ในช่วงวิกฤตสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด 19 ที่อาจจะเป็นสาเหตุให้การเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองมีปัญหา อาทิ เช่น การปิดประเทศ สายการบินไม่บินผ่านประเทศตนเอง เป็นต้น การทำเรื่องขอขยายเวลาการอยู่ต่อในสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการอยู่เกินเวลา (overstay) จากระยะเวลาที่ได้รับการอนุมัติให้อยู่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะการอยู่เกินเวลาที่วีซ่ากำหนดอาจส่งผลกระทบทำให้ถูกปฎิเสธวีซ่าได้ หากมีการยื่นคำร้องขอวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริกาครั้งต่อๆไป https://economictimes.indiatimes.com/topic/visa-extension ฉบับวันที่ 15 เมษายน 2563 กล่าวถึงนักศึกษาอินเดียที่ได้วีซ่าทำงานหลังจากเรียนจบในสหรัฐอเมริกา วีซ่าทำงานดังกล่าวเรียกว่า H-1B อินเดียเป็นชนขาติที่ได้รับวีซ่าทำงาน H-1B มากที่สุดในบรรดานักศึกษาต่างชาติ เพราะคนเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญชำนาญในงานไอทีเป็นพิเศษ แต่ระยะเวลาของวีซ่า H-1B บางคนอาจใกล้เวลาหมดายุ จะต้องเดินทางกลับประเทศของตนเอง บังเอิญช่วงนี้ทั่วโลกประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชิ้อโรคโควิด 19 จึงเกิดปัญหาเหมือนวีซ่าประเภทอื่นๆ คือ วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียนว่า แล้วเราจะอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้อย่างไรโดยไม่ผิดกฎหมายการเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา

คำตอบที่ได้รับคือ ให้ลองขอขยายเวลา หรือการเปลี่ยนสถานะวีซ่า เช่น เปลี่ยนสถานะวีซ่าจากท่องเที่ยวเป็นวีซ่านักเรียน เป็นต้น จะอย่างไรก็ตาม การขอขยายเวลาหรือการเปลี่ยนสถานะวีซ่า ยังคงต้องยึดตามหลักการการยื่นขอ Extension of Stay (EOS) หรือ Change in Status (COS) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกรอกฟอร์มคำร้อง การจ่ายค่าธรรมเนียมในการขอเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่า และระยะเวลาในการรอดำเนินการ ประกอบกับนโยบายการปิดทำงานของหน่วยงานราชการในสหรัฐฯ ซึ่งก็คงคล้ายคลึงกับในประเทศอื่นๆที่หน่วยงานภาครัฐปิดทำการเป็นบางเวลาที่ผู้นำประกาศออกมา โดยทั่วไปหลังจากผู้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการอยู่ต่อ โดยเฉพาะวีซ่า H-1B จะมีผลบังคับใช้การจ้างงานกับนายจ้างคนเดียวกัน ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขเดียวกันของการอนุมัติก่อนหน้านั้น โดยได้รับการขยายเวลาออกไปอย่างอัตโนมัติภายใน 240 วันหลังจากหมดอายุ I-94 เมื่อยื่นคำร้องขอขยายเวลาตรงเวลา ในทางตรงข้าม หากผู้ยื่นคำร้อง หรือ ผู้ยื่นขอขยายเวลาการพักอาศัยหรือเปลี่ยนแปลงสถานะ ยื่นคำขอในแบบฟอร์ม I-129 หรือ I-539 หลังจากระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต USCIS หมดอายุ การพิจารณาตามดุลยพินิจอาจไม่ได้รับการอนุมัติ หรืออาจจะได้รับการพิจารณา เพราะอยู่ในสถานการณ์พิเศษเกินกว่าการควบคุมของผู้ยื่นคำร้อง เช่น สถานะการณ์ COVID-19 แต่อาจจะเกิดการรอคอยที่นาน เพราะเวลาที่ต้องรอจะสอดคล้องกับสถานการณ์ ผู้ยื่นคำร้องหรือผู้สมัครจะต้องส่งหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนคำขอของพวกเขาซึ่ง USCIS จะทำการประเมินเป็นกรณีๆไป The Economics Times เองก็วิเคราะห์ว่า การอนุมัติขยายเวลาดังกล่าวน่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับชาวอินเดียที่มีวีซ่า H-1B มากเป็นอันดับ 1 ในบรรดานักศึกษาต่างชาติทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา

และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดทำ Frequently answer question ไว้เพื่อตอบข้อสงสัยผู้ถือวีซ่านักเรียน (F-1) วีซ่าประเภท M-1 และวีซ่า J-1 เว็บไซต์ของ Homeland Security Department คือ https://www.ice.gov/coronavirus หรือจะตรวจสอบจากเว็บไซต์ของสถานศึกษาของตนเอง หรือเว็บไซต์ของหน่วยงาน the National Association of Foreign Student Advisers (NAFSA) : https://www.nafsa.org/regulatory-information/sevp-covid-19-guidance-sources จะมีให้ download เนื้อหาทั้งหมดที่ Homeland Security Department ทำคำถามคำตอบไว้ใน FAQ

คำถามที่น่าสนใจและควรทราบของนักศึกษาต่างชาติ ได้แก่

  • กรณีนักศึกษาต่างชาติเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเกิน 5 เดือน (The five month temporary absence provision) โดยปกติ นักศึกษาต่างชาติจะต้องขอวีซ่ากลับเข้าสหรัฐอเมริกาใหม่ ในกรณีเหตุการณ์โควิด 19 โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยได้จัดระบบการเรียนการสอนใหม่เป็นออนไลน์ โดยมีนโยบายรักษาระยะห่างระหว่างกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 นักศึกษาต่างชาติจำนวนหนึ่งเลือกที่จะกลับไปเรียนหนังสือออนไลน์ที่ประเทศของตนเอง ด้วยเหตุผลหอพักปิด ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ผู้ปกครองเป็นห่วงและอีกหลายๆเหตุผล ดังนั้น นักศึกษาก็จะเข้ากฎอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาเกินจำนวน 5 เดือน คำตอบในเรื่องนี้คือ ถือว่านักศึกษาต่างชาติที่เลือกไปเรียน Spring Term 2020 online ที่บ้านตนเองยังคงเป็น active student และไม่ต้องยื่นขอวีซ่าใหม่
  • นักศึกษาใหม่ที่เพิ่งเดินทางเข้ามาเรียนต่อในสหรัฐถือเป็น active student ส่วนนักศึกษาที่ได้รับการตอบรับเข้าเรียน และยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในสหรัฐอเมริกา คำแนะนำคือให้อยู่ที่ประเทศของตนเองไปก่อน
  • กรณีที่นักศึกษาไม่สามารถพักอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยได้ ให้ทางมหาวิทยาลัยแจ้งที่อยู่ใหม่ของนักศึกษาเพื่อ update ที่อยู่ใน Sevis ที่อยู่ใหม่อาจจะเป็นที่พักใหม่นอกมหาวิทยาลัยแต่ยังอยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือกรณีนักศึกษาเดินทางกลับไปอยู่ที่ประเทศของตนเอง ให้ใช้ที่อยู่ที่บ้านในประเทศของนักศึกษาเองตามความเป็นจริง
  • กรณีนักเรียนที่กำลังเรียนขั้น Grade 12 กลับไปเรียนหลักสูตรออนไลน์ของโรงเรียน ที่นักเรียนเคยเรียนอยู่ในสหรัฐอเมริกาที่ประเทศบ้านเกิดของนักเรียนเอง และต้องการกลับมาเรียนต่อระดับวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ต้องดูด้วยว่า หลักสูตรที่เรียนออนไลน์นั้น ครบถ้วนกระบวนการจบตามหลักสูตรของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐอเมริกาด้วยหรือไม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าว อาจจะเกิดจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในบ้านเกิดของนักศึกษาเอง หริอโรงเรียนไม่สามารถจัดการสอนบางหลักสูตรผ่านออนไลน์ได้ โรงเรียนจะต้องทำ Broadcast message แจ้งในเอกสารของโรงเรียน
  • กรณีการจัดส่งเอกกสารการตอบรับให้นักเรียนที่เรียกว่า I-20 ถ้าไม่สามารถจัดส่งทางไปรษณีย์ ด้วยเหตุผลหน่วยงานในสถานศึกษาปิด หรือการระงับเที่ยวบินเข้าประเทศนั้นๆ หรือ ประเทศนั้นๆมีคำสั่งปิดประเทศ ไม่มีการเดินทางโดยเครื่องบินระหว่างประเทศ ให้สถานศึกษาจัดส่ง I-20 ทางอีเมล์ได้ และถ้าเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสามารถจัดส่งผ่านอีเมล์ผู้ปกครองได้ โดยสถานศึกษาจะแสกน I-20 และเซ็นต์ชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์จัดส่งเข้าอีเมล์ของนักศึกษา
  • หลักสูตรที่เรียนในช่วงโควิด 19 เป็นหลักสูตรออนไลน์ทั้งหมด แต่บางหลักสูตรไม่สามารถเปิดสอนเป็นออนไลน์ได้ ให้ทางสถานศึกษาแจ้งขอยกเว้นเป็น Broadcast messages อันเนื่องมาจากผลกระทบของสถานะการณ์โควิด 19
  • กรณีนักศึกษาอยู่ในช่วงฝึกงานแบบ CPT นักศึกษาสามารถขอฝึกงานในประเทศบ้านเกิดของตนเองได้
  • ในกรณีนักศึกษาที่อยู่ในช่วงเวลาของการขอ OPT เพื่อฝึกงานหลังเรียนจบตามนโยบายที่ประเทศสหรัฐฯอนุญาตให้นักศึกษาทำงานได้หลังจากเรียนจบ ให้นักศึกษาหมั่นติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย หรือเว็บไซต์ของ Homeland Security Department เพราะนักศึกษาอาจจะเผชิญกับปัญหาหลากหลายแบบ อาทิ เช่น การยกเลิกการจ้างงานกระทันหัน นักศึกษาจะทำงานออนไลน์แทนได้หรือไม่ ฯลฯ
  • หากสถานะการณ์โควิด 19 สิ้นสุดลง นักศึกษาจะเดินทางกลับเข้าไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา ยังคงใชเกฎเดิม คือเดินทางเข้าประเทศได้ไม่เกิน 30 วันของการเปิดเรียนที่สถานศึกษานั้นๆ
  • สำหรับกฎของนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาจบแล้วจะมีระยะเวลาการเตรียมตัวในการเดินทางกลับบ้านเกิดตนเอง 60 วัน ( 60 day grace period for F-1 visa และ 30 day grace period for J-1 visa) แต่นักศึกษาต่างชาติอาจพบปัญหาเรื่องสายการบินระงับเที่ยวบิน หรือประเทศบ้านเกิด lockdown ให้นักศึกษาปรึกษาเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เช่น ลงเรียนหลักสูตรออนไลน์อื่นๆแทน ระหว่างการรอกลับบ้านเกิดตนเอง หรือกรอกฟอร์มขอขยายเวลาอยู่ต่อในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเรื่อง case by case ว่าจะใช้เวลานานเท่าไรในการได้รับอนุมัติ
  • เว็บไซต์ Voice of America ได้มีการพูดถึงปัญหาคนไทยที่ตกค้างอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเทศไทยระงับเที่ยวบินจากต่างประเทศเข้าประเทศไทย และความเดือดร้อนของนักศึกษาที่ไปศึกษาและไปฝึกงานอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยมีข่าวหนึ่งที่น่าในใจเกี่ยวกับการขอขยายเวลาอยู่ต่อในสหรัฐอเมริกา https://www.voathai.com/a/covid19-thai-immigration-lawyer-/5366664.html ซึ่งอาจจะเป็นคำแนะนำที่พอจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ขอให้ลองศึกษาจากเว็บไซต์ Voice of America
  • กรณีวีซ่านักเรียนที่ต้องขอขยายระยะเวลาของวีซ่าให้ยาวออกไป ด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศตนเองได้นั้น นักศึกษาต้องกรอกฟอร์ม I-539 และยื่นไปที่ USCIS อย่างน้อย 15 วัน แต่ต้องไม่เกิน 60 วันก่อนวันสุดท้ายของการจบหลักสูตรการเรียน ศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.uscis.gov/i539online บางมหาวิทยาลัยทำสมมติฐานเป็นฉาก ให้นักศึกษาลองอ่านและเลือกวิธีที่นักศึกษาเห็นว่าเหมาะสมกับเคสของตนเอง เช่น University of Michigan กล่าวถึงทางเลือกในการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาจีนที่ไม่สามารถเดินทางกลับจีนได้ https://internationalcenter.umich.edu/covid-19-travel-update

บล็อกนี้คงไม่สามารถแปลทุกข้อความที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของ Homeland Security Department ได้ เพียงยกตัวอย่างมาให้อ่าน พิจารณา และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขอให้นักศึกษาไทยทุกคนผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยดี

Copyright © 2010-2020 GoVisaEdu All rights reserved

ประกาศขึ้นราคาค่าธรรมเนียมวีซ่าไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา ( Homeland Security Department) ได้มีประกาศขึ้นราคาค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียนประเภท F, M และ J เพื่อไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 โดยจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป https://www.ice.gov/news/releases/new-increased-fees-international-students-exchange-visitors-sevp-certified-schools

หรือจากเว็บไซต์ https://studyinthestates.dhs.gov/2019/05/sevp-announces-changes-to-program-fees

ค่าธรรมเนียมวีซ่าประเภท F และ M จะขึ้นราคา150 ดอลล่าร์สหรัฐจากราคาเดิม 200 ดอลล่าร์สหรัฐ รวมเป็น 350 ดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่วีซ่าประเภท J จะไม่ได้ขึ้นราคาทุกประเภทของกลุ่มวีซ่า J ได้แก่ วีซ่า J ที่ไปทำงาน Work and Travel, ผู้ไปทำงานเลี้ยงเด็ก Aupair, หรือผู้ไปทำงานเป็น Camp Counselor ยังคงใข้ราคาเดิมคือ 35 ดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่ผู้ที่ได้รับทุนไปเรียนและจะต้องยื่นวีซ่าประเภท J จะต้องใช้อัตราค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียนใหม่จากราคาเดิม 180 ดอลล่าร์สหรัฐเป็น 220 ดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 40 ดอลล่าร์สหรัฐ

การปรับราคาใหม่นี้ ได้รวมไปถึงสถาบันการศึกษาที่มีสิทธิ์ในการออกจดหมายตอบรับนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาต่อด้วย โดยสถาบันเหล่านั้นจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการที่จะได้รับสิทธิ์เป็น SEVP Certified Schools เพิ่มขึ้นจากราคาเดิม 1,700 ดอลล่าร์สหรัฐเป็น 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ

หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลนักศึกษาต่างชาติ (Office of International Student) ของโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐฯ ได้ประกาศการปรับค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียนต่างชาติใหม่บนเว็บไซต์ของสถาบันตน เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้ชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าได้ถูกต้องก่อนไปยื่นขอวีซ่า ตัวอย่างเช่น Brown University: https://www.brown.edu/about/administration/international-student-and-scholar-services/students/newly-admitted-students/sevis-fee

Office of International Student ของ Pace University : https://www.pace.edu/iss/welcome-to-pace/prepare-for-your-entry

Copyright © 2010-2019 GoVisaEdu All rights reserved.

23 Pilot UK University

ที่มาของการหยิบยกหัวข้อนี้ขึ้นมาพูดให้อีกหลายๆท่านที่ยังไม่ทราบ หรือไม่เคยได้ยินเรื่อง 23 Pilot University ให้ได้ทราบกันอีกครั้ง เพราะเจ้าหน้าที่ VFS-UK ในงาน ” Study UK Grand Exhibition” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ได้เอ่ยถึงผู้ที่กำลังจะไปเรียนที่ หนึ่งใน 23 มหาวิทยาลัยนี้ว่า ไม่ต้องยื่นเอกสารรับรองทางการเงิน ทำให้ผู้ปกครองหลายท่านอยากทราบรายชื่อมหาวิทยาลัยทั้ง 23 แห่งว่า มีชื่ออะไรกันบ้าง อนึ่ง แม้ว่าตามหลักการจะไม่ขอดูหลักฐานทางการเงินสำหรับผู้ที่จะขอวีซ่า Tier4 เพื่อไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ 23 มหาวิทยาลัยดังกล่าว แต่ในบางกรณีอาจจะมีการขอดูเอกสารทางการเงินเพิ่มเติมได้ ดังนั้น เพิ่อความรอบคอบควรเตรียมเอกสารทางการเงินเผื่อไว้ จะได้ไม่เสียเวลาเมื่อถูกขอให้แสดงหลักฐาน

ภาพจากเว็บไซต์
http://documents.manchester.ac.uk/display.aspx?DocID=24375

โครงการนำร่องโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในระดับปริญญาโทที่มีหลักสูตรการเรียนเป็นระยะเวลา 13 เดือน ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการขอวีซ่านักเรียน Tier 4 เพื่อเข้าไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร และยังช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาที่เรียนจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยทั้ง 23 แห่ง ที่ต้องการเปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่านักเรียนไปเป็นวีซ่าทำงาน Tier2 ได้มีช่วงระยะเวลาดำเนินการได้ทัน หมายความว่า นักศึกษาจาก 23 มหาวิทยาลัยนี้ จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรได้อีก 6 เดือนหลังจากเรียนจบ ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆทั่วไปนักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อหลังเรียนจบหลักสูตรได้เพียง 4 เดือน ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gov.uk/government/news/twenty-three-universities-join-student-visa-pilot

มหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการนำร่องในตอนเริ่มใช้โครงการนี้มีจำนวน 4 แห่ง คือ Oxford, Cambridge, Bath และ Imperial College London (จากเว็บไซต์ The Pie News: https://thepienews.com/news/uk-study-visa-pilot-extended-23-heis/) ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2017 ได้มีการประกาศเพิ่มรายชื่อมหาวิทยาลัยอีก 23 แห่งเข้าร่วมโครงการนี้ มหาวิทยาลัยทั้ง 23 แห่ง ได้แก่

วีซ่าไปทำงานในอเมริกา

วีซ่าทำงานในอเมริกา

วีซ่าไปทำงานในอเมริกา

วีซ่าไปทำงานในอเมริกา ปัจจุบันคนรุ่นใหม่เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา ก็อยากจะมีโอกาสไปทำงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ต้องการแสดงความเป็นพลเมืองโลก ( Global Citizen) หรือเหตุผลอื่นๆใดก็ตาม เราจะมาดูกันว่า ชาวต่างชาติที่ต้องการจะเดินทางเข้าไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะต้องได้รับอนุญาตให้มีวีซ่าประเภทใดกันบ้าง

วีซ่าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาแบ่งตามลักษณะงานที่เข้าไปทำ ได้แก่

  1. A-3
  2. G-5
  3. B-1
  4. H-1B
  5. H-1B1
  6. H-2A
  7. H-2B
  8. J-1
  9. L
  10. O
  11. P-1
  12. P-2
  13. P-3
  14. Q-1

เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลหรือความหมายของวีซ่าประเภทต่างๆที่จะเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาทั้ง 14 ประเภท คือ
https://travel.state.gov/content/travel/en/us-visas/employment/temporary-worker-visas.html  อย่างไรก็ตาม

บล็อกนี้อยากเชิญชวนให้ผู้สนใจไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาลองศึกษา 2 ประเด็นต่อไปนี้ก่อนตัดสินใจไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา คือ

  • ความหมายของวีซ่าแต่ละประเภท
  • สิทธิต่างๆขณะทีี่ทำงานในสหรัฐอเมริกา

ความหมายของวีซ่าประเภทต่างๆ

ประเภทวีซ่า ความหมายของวีซ่า
A-3 วีซ่าที่ให้แก่นักการทูต
B-1 วีซ่าที่ให้แก่ผู้ช่วยทำงานบ้านนักการทูต
G5 วีซ่าประเภท G คือวีซ่าที่ให้กับผู้ทำงานองค์กรระหว่างประเทศ วีซ่าประเภท G มีหลายชนิดคือ G-1, G-2, G-3, G-4, G-5 สำหรับวีซ่า G-5 อาจหมายถึงผู้ที่เป็นลูกจ้างส่วนตัวของผู้ถือวีซ่า G-1, G-2, G-3 และ G-4 ได้
H-1B สำหรับผู้ให้บริการในอาชีพที่ต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ และต้องเป็นผู้ที่เรียนจบระดับปริญญาหรือเทียบเท่า รวมทั้งผู้แสดงแบบแฟชั่น หริอผู้ที่ถูกส่งไปทำงานวิจัยและพัฒนาในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือผู้ที่ทำงานภายใต้โครงการพิเศษของกระทรวงกลาโหม
H-1B1 สำหรับผู้ให้บริการในอาชีพที่ต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้อย่างน้อยต้องจบมัธยมศึกษาตอนปลายและจบปริญญาตรี ผู้มีสิทธิ์ เช่นผู้ที่มาจากประเทศที่มีสัญญา FTA กับสหรัฐ เช่น ชิลี สิงคโปร์ เป็นต้น
H-2A ·       สำหรับผู้ที่ไปเป็นแรงงานชั่วคราวภาคเกษตรกรรม จำกัดการให้วีซ่าประเภทนี้กับบางสัญชาติ

·       ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดการจ้างงาน  สิทธิประโยชน์ ค่าจ้าง การจัดหาที่พัก เวลาทำงาน และสิทธิประโยชน์ในการเดินทางที่นายจ้างจะต้องเป็นผู้จัดให้

·       มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่กำหนด

·       นายจ้างต้องจัดหาที่พักที่สะอาดและปลอดภัยให้

·       นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปและกลับให้

·       ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้ได้รับการประกันการทำงานอย่างน้อย 3 ใน 4 ของวันทำงานที่ระบุไว้ในสัญญา

·       ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้ไม่ต้องจ่ายค่าประกันสังคมสหรัฐหรืออื่นๆให้แก่ผู้คัดเลือกผู้ที่ถือวีซ่าประเภทนี้มา

H-2B วีซ่าสำหรับแรงงานเกษตรนอกภาคอุตสาหกรรม

·       จะได้รับค่าตอบแทนในจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับค่าจ้างที่ให้แก่แรงงานชนิดเดียวกัน คือเป็นอัตราที่รัฐบาลกลางกำหนด หรือเท่ากับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนด

·       นายจ้างรับผิดชอบในการจ่ายค่าเดินทางกลับประเทศของผู้ที่ถือวีซ่าประเภทนี้ ไมว่าจะเป็นกรณีสิ้นสุดการว่าจ้าง หรือให้ออกจากงานก่อนสิ้นสุดสัญญา

·       มีสิทธิ์ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาจ้างที่ให้แก่แรงงานสหรัฐทั่วไป

·       ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้คัดเลือกคนงานในประเทศของตนเอง

H-3 เป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่มาฝึกอบรม นอกเหนือจากผู้ที่จบการศึกษาด้านระดับบัณฑิตศึกษาทางการแพทย์หรือเป็นนักวิชาการ
J-1 เป็นวีซ่าสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน

·       ถ้าโครงการแลกเปลี่ยนนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลกลางสหรัฐฯ โครงการนั้นต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ ผู้ยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ต้องได้รับ DS-2019 กลับมาจากนายจ้างเป็นหลักฐานในการยื่นขอวีซ่า โดยใน DS-2019 ต้องระบุประเภทโครงการแลกเปลี่ยน วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ และ/หรือมีหนังสือสัญญาครองคลุมเงื่อนไขและข้อตกลงของโครงการ

·       การโฆษณาของผู้สนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนจะต้องตรงตามความเป็นจริง

·       ผู้สนับสนุนโครงการต้องต้องแจ้งรายละเอียด ค่าใช้จ่าย และเงื่อนไขตลอดจนข้อบังคับของโครงการชัดเจน ด้วยการจัดปฐมนิเทศก์และให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

·       ถ้าเดินทางเข้าสหรํฐฯภายใต้โครงการ Work and Travel Program และยังไม่มีชื่อสถานที่รับเข้าทำงาน ผู้สนับสนุนโครงการต้องเป็นผู้ช่วยจัดหาสถานที่จ้างงานให้ภายในสัปดาห์แรกที่ผู้ถือวีซ่า J-1 เข้าไปอยู่ในสหรัฐฯ และผู้สนับสนุนโครงการต้องการันตีว่าผู้ถือวีซ่า J-1 จะต้องได้รับเงินค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่ากับแรงงานคนอเมริกัน

·       ถ้าท่านเดินทางเข้าสหรัฐฯด้วยวีซ่า J-1 ประเภทโครงการฝึกอบรมและการฝึกงาน ผู้สนับสนุนโครงการต้องมี Training/Internship Placement Plan (Form DS-7002)

·       ผู้สนันสนุนโครงการต้องให้ผู้ถือวีซ่า J-1 ทำประกันสุขภาพด้วย

·       ผู้ถือวีซ่า J-1 ต้องขอหมายเลขประกันสังคม ( Social Security Number) และนายจ้างต้องทำรายงานการหักภาษีโดยระบุหมายเลขประกันสังคมของผู้ถือวีซ่า J-1 ด้วย

·       กรณีไปฝึกอบรมและฝึกงาน ผู้ถือวีซ่า J-1 สามารถนำผู้ติดตามหรือผู้ถือวีซ่า J-2 (คู่สมรส และลูก) ไปด้วยได้และผู้ถือวีซ่าประเภท J-2 สามารถทำงานได้แต่ต้องไม่นำเงินรายได้ไปช่วยเหลือผู้ถือวีซ่า J-1 เพราะผิดกฎระเบียบ

L เป็นวีซ่าสำหรับผู้ไปปฏิบัติงานที่สาขา หรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับผู้บริหาร หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
O เป็นวีซ่าสำหรับบุคคลที่มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การศึกษา ด้านธุรกิจ หรือเป็นนักกีฬา หรือประสบความสำเร็จด้านภาพยนตร์และการผลิตรายการทีวี
P1 เป็นวีซ่าสำหรับนักกีฬาที่ชนะเลิศการแข่งขัน หรือเป็นศิลปินที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
P2 เป็นวีซ่าที่ให้กับศิลปินหรือผู้ให้ความบันเทิง(เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม) ที่มาแสดงในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาและหน่วยงานในประเทศอื่น
P3 เป็นวีซ่าที่ให้กับศิลปินหรือผู้ให้ความบันเทิงที่มาแสดง มาสอน หรือมาเป็นโค้ชภายใต้โครงการที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นการแสดงหรือนำสนอที่บ่งบอกถึงเชื้อชาติ ความเป็นพื้นเมือง วัฒนธรรม ดนตรี การละครหรือการแสดงที่เป็นศิลปะ
Q1 เป็นวีซ่าที่ให้กับคนที่เข้ามาร่วมในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกงาน การว่าจ้าง และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของประเทศของผู้ถือวีซ่า Q1

 

เมื่อได้รับวีซ่าเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาแล้ว เราควรต้องหาข้อมูลหรือเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความคิด และการดำเนินชีวิตของคนอเมริกันไว้บ้าง วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่คนอเมริกันแตกต่างจากคนไทยคือ  เราควรต้องเรียนรู้สิทธิของตนเองและต้องปกป้องรักษาสิทธิของตนเองไว้ให้ดี ย่าให้ใครล่วงละเมิดได้ โปรดอ่านรายละเอียดได้จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีคำอธิบายเกี่ยวกับการรักษาสิทธิของตนเองเวลาเดินทางเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาไว้หลากหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย https://travel.state.gov/content/travel/en/us-visas/visa-information-resources/temporary-workers.html เมื่อคลิกเลือกภาษาไทยจะพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แก่ผู้ที่จะเข้าไปทำงานที่สหรัฐอเมริกาต้องทราบ

เนื่องจากเอกสารมีความยาวทั้งสิ้น 16 หน้า โปรดเข้าไปศึกษารายละเอียดเองที่เว็บไซต์ https://travel.state.gov/content/dam/visas/LegalRightsandProtections/Wilberforce/Wilberforce-THA-05232017.pdf

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.