วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Science คือการศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นสาขาวิชาที่มีเนื้อหากว้างครอบคลุมทุกแง่มุมของการประมวลผล รวมถึงการค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์และการปรับปรุงการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ใช้โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมในการประมวลผลที่ซับซ้อน การศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะพัฒนาความสามารถเหล่านั้นไปพร้อมกับการปรับปรุงและประดิษฐ์เครื่องจักรคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ที่สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้
วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎีเป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เน้นด้านคณิตศาสตร์ชั้นสูง มีแนวคิดที่เป็นนามธรรมเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสาขาวิชาอื่นๆในวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นที่การประยุกต์ใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในทางปฏิบัติเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ที่ดีขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีความก้าวหน้าในวิทยาการคอมพิวเตอร์ในทางปฏิบัติ สาขาวิชาในทางปฏิบัติจึงต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพของความสามารถในการคำนวณผ่านวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี https://www.indeed.com/career-advice/finding-a-job/computer-science-fields
นักเรียนนักศึกษาที่สนใจจะศึกษาต่อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ควรมีพื้นฐานวิชาอะไรบ้าง แน่นอนว่าควรมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แข็งแกร่ง เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอัลกอริทึมและทฤษฎีการคำนวณ การพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ พีชคณิต เรขาคณิต และแคลคูลัสซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญที่ต้องเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่แล้ว วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นจากคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในสองวิชาดังกล่าวนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนวิชาฟิสิกส์จะช่วยให้เข้าใจหลักการทางฟิสิกส์ที่เป็นพื้นฐานของฮาร์ดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับผู้สนใจในด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ตรรกะดิจิทัล และการเข้ารหัสโค้ด (cryptograph) นอกจากนี้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและเศรษฐศาสตร์ก็เป็นอีกสองวิชาที่หากผู้มีความสนใจต้องการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ควรมี และอีก 3 ทักษะที่ผู้สนใจศึกษาศาสตร์วิทยาการคอมพิวเตอร์ควรมีคือ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหา หากนักศึกษามีคุณสมบัติดังที่กล่าวไว้ก็จะทำให้นักศึกษามีความสนุกในการเรียนรู้และสนใจที่จะเพิ่มพูนความรู้ให้มีมากยิ่งๆขึ้น
วิชาต่างๆที่น่าสนใจในวิทยาการคอมพิวเตอร์มี
- Artificial intelligence
- วิชาปัญญาประดิษฐ์ (AI หรือ Artificial Intelligence) ถือเป็นการจำลองปัญญาของมนุษย์ในเครื่องจักรที่ได้รับการตั้งโปรแกรมให้คิดและกระทำเหมือนมนุษย์ ดังนั้น วิชา Artificial Intelligence(AI) จึงหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสร้างเครื่องจักรที่สามารถทำงานที่มนุษย์เคยทำได้ เช่น การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการแปลภาษา AI เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัลกอริทึมและเทคนิคเพื่อให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น AI ถูกนำไปใช้ในงานต่างๆมากมาย รวมถึงในด้านการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย และความบันเทิง Carnegie Mellon University ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้เปิดสอนปริญญาตรีสาขาปัญญาประดิษฐ์ (BSAI) เมื่อเทอม Fall 2018 วิชาหลักๆที่ต้องเรียน ได้แก่ Math, Probability and Statistics, Computer Science, Artificial Intelligence, Robotics courses, Perception and Language,Human-AI Interaction courses เป็นต้น http://coursecatalog.web.cmu.edu/schools-colleges/schoolofcomputerscience/artificialintelligence/#textcontainer
- Computer Graphics and Visualization
- เป็นสาขาย่อยของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสร้างและจัดการเนื้อหาภาพในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับกราฟิก 2 มิติ การประมวลผลภาพ และคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ คอมพิวเตอร์กราฟิกและการสร้างภาพที่สามารถใช้ในงานด้านต่างๆ อาทิ เช่น งานด้านศิลปะและความบันเทิง, การสร้างภาพยนตร์และวิดีโอเกมที่สมจริง, การสร้างแบบจำลอง 3 มิติและการจำลองภาพเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือ การสร้างแบบจำลอง การผสม สี แสง วัสดุ และการแรเงา พื้นผิว แอนิเมชั่น การสร้างแบบจำลองตามฟิสิกส์ การควบคุมของผู้ใช้ University of Utah ถือเป็นผู้บุกเบิกโปรแกรม Computer Graphic ตั้งแต่ปี 1968 https://lib.utah.edu/digital-scholarship/arpanet/graphics.php
- Computer Game
- Computer Game ถือเป็นเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการโต้ตอบกับอินเทอร์เฟซผู้ใช้หรืออุปกรณ์รับข้อมูล (เช่น joystick, controller, keyboard หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวอื่น) เพื่อสร้างผลตอบรับทางภาพจากอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแสดงในรูปแบบวิดีโอบนโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ จอภาพแบน จอแบบ Touchscreen หรือหน้าจอสัมผัสบนอุปกรณ์พกพา หรือชุดหูฟังเสมือนจริง วิดีโอเกมส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นเกมที่ใช้ภาพและเสียง โดยมีเสียงประกอบที่ส่งผ่านลำโพงหรือหูฟัง และบางครั้งอาจมีผลตอบรับทางประสาทสัมผัสประเภทอื่นด้วย (เช่น เทคโนโลยีสัมผัสที่ให้ความรู้สึกว่าได้สัมผัส) วิดีโอเกมบางเกมยังอนุญาตให้ใช้ไมโครโฟนและเว็บแคมเพื่อสนทนาและถ่ายทอดสดในเกมได้อีกด้วย วิดีโอเกมมักถูกแบ่งประเภทตามแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ ซึ่งโดยทั่วไปจะรวมถึงวิดีโอเกมอาร์เคด(ประเภทตู้เกมหรือเกมหยอดเหรียญ) เกมคอนโซล(เครื่องเล่นเกม) และเกมคอมพิวเตอร์ (พีซี) นอกจากนี้ยังมีเกม LAN (เอาเครื่องหลายๆเครื่องมาต่อแลนเล่นกัน) เกมออนไลน์ และเกมเบราว์เซอร์(เป็นวิดีโอเกมที่เล่นได้โดยตรงในเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเราเองโดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือการดาวน์โหลดเพิ่มเติม เกมเหล่านี้มักจะเรียบง่ายและมีน้ําหนักเบา ทําให้ผู้ใช้หลากหลายกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ วิดีโอเกมจะถูกออกแบบมาเพื่อเล่นออนไลน์และมักต้องการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อให้ทํางานได้อย่างถูกต้อง) เมื่อไม่นานมานี้ อุตสาหกรรมวิดีโอเกมได้ขยายไปสู่เกมบนมือถือผ่านอุปกรณ์มือถือ (เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) ระบบเสมือนจริง( Virtual Reality-VR เป็นเทคโนโลยีที่จำลองสภาพแวดล้อมเสมือนหรือจำลองสถานที่ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อผู้ใช้งานสามารถเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้นได้แบบ 360 องศา โดยตัดขาดผู้ใช้งานออกจากโลกของความเป็นจริง) และระบบมีความเหมือนจริง(Augmented Reality-AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยกไม่ออก โดยมีหลักการทำงานคือใช้อุปกรณ์ดิจิทัลที่่มีเซ็นเซอร์ในการตรวจจับภาพ เสียง การสัมผัส หรือการรับกลิ่น จากนั้นอุปกรณ์จะประมวลผลแล้วสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาตามเงื่อนไขที่ได้รับ สรุป Virtual Reality (VR) คือ เทคโนโลยีที่สร้างสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้นมาใหม่ เพื่อดึงให้ผู้ใช้งานออกจากโลกความจริง ส่วน Augmented Reality (AR) คือ การรวบรวมหรือผสานระหว่างสภาพแวล้อมจริง ณ ขณะนั้น เข้ากับวัตถุที่จำลองขึ้นมา) และเกมบนคลาวด์ระยะไกล(เป็นบริการสตรีมมิ่งที่คล้ายๆ กับ Netflix แต่ว่ามันจะเป็นบริการสำหรับวิดีโอเกมเท่านั้น ผู้เล่นเกมจะเข้าถึงเกมที่พวกเขาต้องการเล่นได้ทุกที่ทุกเวลา ขอแต่ให้มีอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้) นอกจากนี้ วิดีโอเกมยังถูกแบ่งประเภทเป็นประเภทต่างๆอีกมากมายตามรูปแบบการเล่นเกมและกลุ่มเป้าหมาย ในปัจจุบันเกมวิดีโอมีอิทธิพลที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยยอดขายส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอนโซล และอุปกรณ์ต่อพ่วง ตลอดจนความต้องการของผู้บริโภคสำหรับประสิทธิภาพการเล่นเกมที่ดีขึ้น กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันการออกแบบและนวัตกรรมฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ https://en.wikipedia.org/wiki/Video_game
- Digipen Institute of Technology เป็นวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ได้คิดค้นและเริ่มเสนอหลักสูตรปริญญาตรีสาขาการพัฒนาวิดีโอเกมเป็นหลักสูตรแรกของโลก (Bachelor of Science in Computer Science in Real-Time Interactive Simulation) https://www.digipen.edu/about/our-history
- แต่ละมหาวิทยาลัยในสหรัฐยังนำเสนอหลักสูตรที่เชี่ยวชาญในหมวดวิชา Computer Game แยกย่อยออกเป็นอีกหลากหลายสาขาวิชา อาทิ เช่น Computer Game Design, Game Development, Game Programming, Video Game Programming, Animation and Visual Effects, Gaming Management, Interactive Media, Critical Game Design, Digital Design, Animation, Instructional Design and Technology with Game Theory and Design Specialiazation, 3-D Animation and Motion Arts, Game Production and Management, Experimental Animation, Design and Development of Digital Games, Digital Arts, Game Science and Design, Computer Graphics and Game Technology, Media Scoring, Gaming and Esports Management เป็นต้น
- วิชาที่ต้องเรียนใน Computer Game มีอาทิ High-Level Programming II: The C++ Language, Game Implementation Techniques, Linear Algebra and Geometry, Introduction to Communication, High-Level Programming I: The C Programming Language, Precalculus, Operating Systems I: Man-Machine Interface, Advanced C/C++, Calculus and Analytic Geometry II, Data Structures, System Design Methods, Level Design Methods, or other Design Methods course, Motion Dynamics, Algorithm Analysis, Discrete Mathematics,Level Design Methods, Level Design Methods, or other Design Methods course, Introduction to Psychology,Artificial Intelligence for Games,Technical Design Methods, Linear Algebra เป็นต้น
- William Higinbotham นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันเป็นคนแรกของโลกที่คิดสร้างวิดีโอเกมชื่อ Tennis for Two เมื่อปีค.ศ. 1958 และอีก 51 ปีต่อมา Markus Persson โปรแกรมเมอร์และนักออกแบบวิดีโอเกมชาวสวีเดนได้พัฒนาเกมโดยใช้ Java และเปิดตัว Minecraft วิดีโอเกมต่อสาธารณะชนครั้งแรกในปีค.ศ. 2009 และเวอร์ชั่นเต็มในปีค.ศ. 2011 Minecraft ถือเป็นวิดีโอเกมที่มียอดขายสูงสุดของโลก
- Computer Engineering
- Computer Engineering เป็นสาขาวิชาที่ผสมผสานวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไฟฟ้าเข้าด้วยกันเพื่อใช้ออกแบบ สร้าง นำไปใช้งาน และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆทั้ง Hardware และ Software, (Computer Engineer เป็นผู้ออกแบบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้กับอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค อาทิ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และระบบสื่อสาร) Firmware ( Computer Engineer จะต้องพัฒนา Firmware ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันใช้ฮาร์ดแวร์ได้ , Technical problems ( Computer Engineerจะต้องใช้ทฤษฎีและหลักการจากการคำนวณ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิค) และ Real-world problems (Computer Engineer จะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างมีประสิทธิภาพ)
- เนื้อหาหลักสูตร Computer Engineering ได้แก่ Computing in the Modern World, Algorithmic Design, Digital Logic Design, Computing Architecture, UNIX/LINUX Fundamentals, Introduction to Software Engineering, Robotic Applications and Design, Operating Systems, Embedded Systems, Computer Systems Engineering, Data Structure and Algorithms, Computer Networks, Electrical Science, Circuits, Signals and Systems, Electronics, Advanced Digital Design, Compiler Design, Vector Calculus,
Elementary Differential Equations, Applied Linear Algebra, Statistics for Engineers
Discrete Structures - Case Western Reserve University นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี Computer Engineering ที่ได้รับการรับรองในระดับชาติเมื่อปีค.ศ. 1971 https://engineering.case.edu/electrical-computer-and-systems-engineering/history-electrical
- Computer Hardware Engineering
- Computer Hardware Engineering หรือความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะเน้นไปที่ส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ เช่น แผงวงจร ชิป โปรเซสเซอร์ อุปกรณ์หน่วยความจำ เครือข่าย และเราเตอร์ วิศวกรฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จะทำการวิจัย ออกแบบ พัฒนา และทดสอบระบบและส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะทำงานเป็นทีมกับวิศวกรคนอื่นๆ เพื่อสร้างฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ส่งให้ผู้ผลิต ในขณะที่ Computer Engineering จะมีลักษณะงานที่ครอบคลุมความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากมาย เช่น ระบบเครือข่าย ระบบฮาร์ดแวร์ ความปลอดภัย การพัฒนาเว็บ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม และการพัฒนาเกมวิดีโอ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจทำงานกับฮาร์ดแวร์น้อยลงและทำงานกับโค้ดมากขึ้น โดยเน้นที่โค้ดที่โต้ตอบกับฮาร์ดแวร์ https://www.youtube.com/watch?v=L0V5oPnT5Fw
- Computer Network
- Computer Network คือ การศึกษาเกี่ยวกับวิธีเชื่อมต่ออุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ เราเตอร์ สวิตช์ และเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้การเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย การตั้งค่าเครือข่ายพื้นที่เฉพาะที่ (LAN) เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) และเครือข่ายไร้สายทั้งสองแบบ วิธีใช้โปรโตคอลและมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีที่อุปกรณ์จะสามารถแบ่งปันทรัพยากร เช่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากโครงสร้างโปรโตคอลและการให้บริการที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เช่น การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การปรับขนาดตามผู้ใช้และอุปกรณ์ คุณภาพของการให้บริการ ทำให้สถานศึกษาให้ความสำคัญในการสร้างหลักสูตร Computer Network
- ตัวอย่างหนึ่งจาก DePaul University ที่เปิดสอนหลักสูตร B.S. in Network Engineering&Security เพื่อทำการศึกษาว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในเครือข่ายเครื่องต่อเครื่อง (M2M) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ได้อย่างไร โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายใหม่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อใช้งานในสถานการณ์เฉพาะหน้าโดยไม่ต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ต เพื่อลดการเชื่อมต่อระหว่างที่ไฟฟ้าดับและในภูมิภาคที่มีโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบันเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอมีปริมาณการใช้งานบนเว็บไซต์สูง จะมีทางเลือกในการออกแบบใหม่อย่างไรโโยต้องยึดมาตรฐานการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพที่เข้มงวดยิ่งยวดสำหรับโปรโตคอลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เนื้อหาหลักๆที่ต้องศึกษาได้แก่ Network Design, Product/Vendor Evaluation, Programming, Security Infrastructure Design, Security Management, Software Development, System Management https://www.cdm.depaul.edu/academics/Pages/BS-in-Network-Technology.aspx
- Computer Science
- Computer Science คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและการทดสอบซอฟต์แวร์และระบบ รวมทั้งทำความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบที่ซับซ้อน มีมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามากกว่า 350 แห่งที่มีหลักสูตร Computer Science เปิดสอน แต่ Purdue University เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดตั้งแผนกวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปีค.ศ.1962 https://www.cs.purdue.edu/ เนื้อหาทั่วไปในการเรียน Computer Science จะประกอบด้วย Computer Systems and Architecture, Software Development and programming, Mathematical concepts, Boolean algebra, Probability, Calculus, Software systems, Software design, development, and application และอาจจะมีหัวข้ออื่นๆให้เลือกเรียน อาทิ Artificial Intelligence, Cybersecurity หรือ Computer graphics
- Computer Science แตกต่างจาก Computer System เพราะ Computer System หรือระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า/ส่งออก และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ส่วนประกอบทั้งหมดเหล่านี้ทำงานร่วมกันเป็นหน่วยเดียวเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ที่ต้องการ สรุประบบคอมพิวเตอร์เป็นการผสมผสานระหว่างฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลที่สามารถทำหน้าที่ที่ซับซ้อนได้ ระบบคอมพิวเตอร์สามารถมีอยู่ในสถานที่เดียวหรือหลายแห่งในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ Computer Science คือวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสาขาวิชาที่เน้นทฤษฎีและคณิตศาสตร์รวมถึงอัลกอริทึมและโครงสร้างข้อมูล นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเรียนรู้วิธีสร้างโปรแกรมและสร้างสรรค์นวัตกรรมในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักทำงานเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกร หรือผู้วิจัย หลักสูตรที่เปิดสอนตามมหาวิทยาลัยจึงใช้ชื่อเรียกว่า B.S. หรือ M.S.in Computer Science แล้วแต่มหาวิทยาลัยไหนจะมี Concentration เน้นไปในด้านใดตรงกับที่ผู้เรียนต้องการหรือไม่
- Computer Programming
- วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) เป็นกระบวนการเขียนโค้ดเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ดำเนินการเฉพาะต่างๆทำงานได้ การศึกษาด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย Programming languages ( การศึกษาเกี่ยวกับ syntax, data structures, algorithms of programming languages อาทิ เช่น Python, Java, C++, C#, Visual Basic, JavaScript และPHP), Data structures และ algorithms ( เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดระเบียบและใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา), Source control( ได้แก่ การเรียนรู้วิธีการจัดการและจัดเก็บโค้ด), Application development(ใช้ในการเรียนรู้วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์สำหรับเว็บ มือถือ หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ) และ Software engineering (เป็นการเรียนรู้วิธีการออกแบบและนำอัลกอริทึมไปใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อกำหนด ทดสอบ แก้ไข และจัดการโปรแกรม)
- Computational Science
- เน้นการใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณผสมผสานทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมถึงประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณสามารถเอาไปใช้เพื่อยืนยันทฤษฎีที่ไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ด้วยการทดลอง Florida State University ได้ให้คำอธิบายสั้นๆไว้ว่า Computational Science แตกต่างจาก Computer Science เพราะ Computer Science เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ในขณะที่ Computational Science เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ https://www.sc.fsu.edu/undergraduate/overview
- วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) เป็นกระบวนการเขียนโค้ดเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ดำเนินการเฉพาะต่างๆทำงานได้ การศึกษาด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย Programming languages ( การศึกษาเกี่ยวกับ syntax, data structures, algorithms of programming languages อาทิ เช่น Python, Java, C++, C#, Visual Basic, JavaScript และPHP), Data structures และ algorithms ( เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดระเบียบและใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา), Source control( ได้แก่ การเรียนรู้วิธีการจัดการและจัดเก็บโค้ด), Application development(ใช้ในการเรียนรู้วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์สำหรับเว็บ มือถือ หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ) และ Software engineering (เป็นการเรียนรู้วิธีการออกแบบและนำอัลกอริทึมไปใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อกำหนด ทดสอบ แก้ไข และจัดการโปรแกรม)
- Computer Forensics
- นิติเวชศาสตร์คอมพิวเตอร์เป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยีที่ใช้เทคนิคการสืบสวนเพื่อระบุและจัดเก็บหลักฐานจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ นิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับการรวบรวม วิเคราะห์ และรักษาหลักฐานดิจิทัลจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และกล้องดิจิทัล บางครั้งนิติเวชศาสตร์ก็มีชื่อเรียกว่า นิติวิทยาศาสตร์ไซเบอร์ ( Cyber Forensics), นิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล (Digital Forensics) หรือวิทยาการนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ( Computer Forensic Science) นิติเวชศาสตร์คอมพิวเตอร์มักใช้ในการค้นหาหลักฐานที่อาจใช้ในศาล นอกจากนี้ยังใช้เพื่อใช้เพื่อสืบสวนและป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ เช่น การขโมยข้อมูล การละเมิดเครือข่าย และธุรกรรมออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อแก้ไขอาชญากรรมทางกายภาพ เช่น การโจรกรรม การทำร้ายร่างกาย และการฆาตกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆเพื่อแยกและวิเคราะห์หลักฐานดิจิทัล รวมถึงการรวบรวมข้อมูล การกู้คืนข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์แบบ Cross-Drive การวิเคราะห์แบบสด (Live Analysis) นิติวิทยาศาสตร์สุ่ม (Stochastic Forensics) และการซ่อนข้อมูลหรือวิทยาการอำพรางข้อมูล (Steganography)
- 10 ประเทศที่มีอันดับสูงสุดในด้านนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยมีหลักการพิจารณาจากประเทศที่มีเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาและมีการสร้างเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ล้ำสมัยมากมายสำหรับการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ มีแรงงานที่มีทักษะสูง เป็นประเทศที่มีกฎหมายและข้อบังคับด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เข้มแข็ง มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมและนโยบายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ช่วยปรับปรุงบริการนิติวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันขององค์กรภาครัฐและเอกชน 10 ประเทศดังกล่าวคือ 1.U.S.A. 2. UK 3. India 4. Israel 5. Germany 6. Singapore 7. South Korea 8. Canada 9. Australia 10. Sweden ( https://www.systools.in/blog/countries-with-best-digital-forensics-services/)
- เนื้อหาของหลักสูตรมีอาทิ Computer Forensics, Computer and Memory Forensics, Mobile Forensics, Cyber Defense, Database Security and Forensics, Forensic Accounting and Fraud Examination, Risk Analysis and Security Policies, Cyber Incident Response and Penetration Testing, Multimedia Forensics, Introduction to Information Systems, Introduction to Digital Forensics, Financial Accounting, Information Technologies for Business, Introduction to Psychology, Introduction to Law and Criminal Justice or Business Law, Networking and Cryptography, Programming for Analytics เป็นต้น
- Cybersecurity
- Cybersecurity หรือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นสาขาเชิงรุกที่มุ่งป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์และปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลก่อนที่มันจะเกิดขึ้น Cybersecurity จะปกป้องไม่ให้เกิดการละเมิดข้อมูล การโจรกรรม และอาชญากรรมทางไซเบอร์ประเภทอื่นๆ Cybersecurity มักถูกพิจารณาเป็นหัวข้อย่อยของ Information Security ในขณะที่วิชา Computer Forensics (นิติเวชศาสตร์คอมพิวเตอร์) เป็นสาขาวิชาที่เน้นการสืบสวนและวิเคราะห์การละเมิดข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว Computer Forensics จึงเกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูลที่ถูกบุกรุก วิเคราะห์ขอบเขตของความเสียหาย และระบุแหล่งที่มาของการโจมตี
- Cybersecurity เป็นการศึกษาที่เน้นการปกป้องระบบดิจิทัล เครือข่าย และอุปกรณ์จากการโจรกรรม ความเสียหาย การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ประเภทอื่น ๆ และการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน และทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ให้ถูกขโมยหรือละเมิด นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ (เช่น ลายเซ็นดิจิทัล, public key infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานที่สำตัญภาครัฐ), virtual private networks (เครือข่ายส่วนตัวเสมือน),ไฟร์วอลล์, การตรวจจับการบุกรุก และการเข้ารหัสข้อมูล) การแฮ็กที่ถูกต้องตามจริยธรรม และการรวบรวมข้อมูลทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล
- สำหรับผู้ที่มีความกังวลว่า Cybersecurity จะต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์มากไหม หัวข้อคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่ต้องใช้ในการศึกษา Cybersecurity ได้แก่ number theory หรือ ทฤษฎีจำนวน ใช้สำหรับ encryption หรือการเข้ารหัส, probability and statistics หรือ ความน่าจะเป็นและสถิติ ใช้สำหรับการประเมินความเสี่ยง, linear algebra หรือ พีชคณิตเชิงเส้น ใช้สำหรับ cryptography หรือการเข้ารหัส discrete mathematics หรือ คณิตศาสตร์แบบไม่ต่อเนื่อง ใช้สำหรับตรรกะและอัลกอริทึม และแคลคูลัส ใช้สำหรับ network analysis หรือการวิเคราะห์เครือข่าย
- เนิ้อหาของหลักสูตร Cybersecurity มีอาทิ Intro to Python for IT, Fundamentals of Information Technology, Computer Networking, System Administration, Computer Programming, Information Security and Assurance, Game Design and Society, Cloud Computing, Scripting Language, Network Security, Computer and Network Forensics, Data Technologies Analytics, Penetration Testing, Network Game Development (ตัวอย่างหลักสูตรจาก University of Cincinnati: https://cech.uc.edu/schools/it/course_descriptions.html)
- Computer Security in Crytography ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา Cybersecurity Crytography หรือ การเข้ารหัสเป็นองค์ประกอบสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ไม่ใช่เนื้อหาทั้งหมดของ Cybersecurity การเข้ารหัสเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการปกป้องทรัพย์สินทางไอที ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล และข่าวกรองของรัฐบาลที่เป็นความลับ การเข้ารหัสใช้สมมติฐานเชิงตัวเลขและอัลกอริทึมในการเข้ารหัสข้อมูล ทำให้ใครก็ตามที่อยู่ตรงกลางไม่สามารถค้นหาข้อมูลต้นฉบับได้ การเข้ารหัสจึงถือเป็นส่วนสำคัญของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช่วยปกป้องข้อมูลจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การดัดแปลง และการยืนยันตัวตน ในขณะที่ Cybersecurity คือ การระบุและแก้ไขจุดอ่อนในระบบความปลอดภัยของเครือข่าย ความปลอดภัยทางไซเบอร์ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญในโลกปัจจุบันเนื่องจากความซับซ้อนของระบบสารสนเทศและอุปกรณ์ที่รองรับระบบเหล่านั้น Computer Security in Crytography จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาวิธีการ โปรโตคอล และระบบใหม่ๆ สำหรับการรักษาความเป็นส่วนตัว การทำงานที่แข็งแกร่งในสภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ ขณะเดียวกันก็ให้แน่ใจว่าระบบที่ได้จะสามารถใช้งานได้และใช้งานได้จริงเพื่อสร้างผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้สนใจศึกษาลงลึกด้านนี้อาจเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของ George washington University (https://cs.engineering.gwu.edu/computer-security-privacy-and-cryptography), SUNY,Buffao(https://engineering.buffalo.edu/computer-science-engineering/research/research-areas/theory/computer-security-and-cryptography.html )
- Information Security
- สาขาวิชาการรักษาความปลอดภัยข้อมูล โดยจะปกป้องข้อมูลจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจหมายความถึงการปกป้องความลับของข้อมูล การทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาต และการป้องกันการทุจริตของข้อมูล สาขาวิชานี้จึงมุ่งเน้นไปที่นโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ใช้กับบันทึกทางกายภาพและดิจิทัล ความหมายจึงไปใกล้เคียงกับวิชา Cybersecurity ขอสรุปเพื่อความเข้าใจว่า Information Security จะปกป้องข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิจิทัลหรือข้อมูลทางกายภาพ และทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ในขณะที่ Cybersecurity จะปกป้องข้อมูลดิจิทัล เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ เครือข่าย อุปกรณ์พกพา และในระบบคลาวด์ ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมด ความปลอดภัยของข้อมูลยังรวมถึงข้อมูลออฟไลน์ด้วย เนื่องมาจากพื้นที่โฟกัสที่แตกต่างกัน Information Security และ Cybersecurity จึงใช้วิธีการรักษาความปลอดภัยที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Information Security ความปลอดภัยของข้อมูลรวมถึงการรักษาความปลอดภัยของการเข้าถึงไฟล์เก็บถาวรทางกายภาพและการสร้างกฎการรักษาความลับสำหรับทรัพย์สินทางปัญญา ในทางกลับกัน Cybersecurity จะเน้นที่ความปลอดภัยของเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity จะปกป้องข้อมูลจากภัยคุกคาม เช่น ransomware, malware และ phishing scams วิธีการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ firewalls, penetration testing และ intrusion detection การละเมิดข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของมนุษย์ เช่น ผู้รับอีเมลคลิกลิงก์สแปมหรือพนักงานให้สิทธิ์การเข้าถึงเครือข่ายที่ปลอดภัยแก่ผู้โจมตีทางไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การฝึกอบรมผู้ใช้เกี่ยวกับภัยคุกคามและขั้นตอนด้านความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบสิทธิ์หลายปัจจัย จึงถือเป็นแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์เช่นกัน https://online.utulsa.edu/blog/information-security-vs-cybersecurity/
- ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรของ Information Security ได้แก่ Area Networks, IT Security, Security Planning and Risk Management, Systems Analysis, Digital Forensics, Predictive Analytics, Big Data Analytics, Computer Programming in Java, Computer Programming in Python, Hunting For Cyber Criminals, Introduction to Ethical Hacking & Pen Testing, Cloud Computing: Infrastructure & Services ( https://spcs.richmond.edu/academics/programs/information-systems/information-security/degree.html)
- Data Science
- วิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Science คือการศึกษาข้อมูลเพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกที่มีความหมายสำหรับธุรกิจ เป็นแนวทางสหสาขาวิชาที่ผสมผสานหลักการและแนวปฏิบัติจากสาขาคณิตศาสตร์ สถิติ ปัญญาประดิษฐ์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่สำคัญที่สุดสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูลคือ Python, R และ SQL วิทยาศาสตร์ข้อมูลยังต้องการความเข้าใจทางคณิตศาสตร์อย่างแข็งแรง เพราะคณิตศาสตร์เป็นภาษาของความแม่นยำและตรรกะ ที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสามารถกำหนดสมมติฐาน สร้างแบบจำลอง และทดสอบการทำนายอย่างเข้มงวดและเป็นระบบได้ นอกจากนี้ก็มีวิชาอัลกอริทึม สถิติ แคลคูลัส และหลักการพีชคณิตเชิงเส้น ซึ่งสถิติ แคลคูลัส และพีชคณิตเชิงเส้นถือเป็นหลักของคณิตศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้มากที่สุด
- University of California at Berkeley เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงในด้าน Data Science https://cdss.berkeley.edu/dsus/academics/data-science-major
- Database Administrator or Database Administration
- การบริหารฐานข้อมูล (Database Administration) เป็นศาสตร์ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างวิชาระบบสารสนเทศ(Information Systems) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ทำงานเป็นผู้ดูแลฐานข้อมูล (Database Administrator) จำเป็นต้องมีทักษะด้านเทคนิคและการเขียนโปรแกรมที่แข็งแกร่ง และสามารถใช้ทฤษฎีและการออกแบบเพื่อสร้างและจัดการฐานข้อมูลได้ ระบบสารสนเทศ (Information Systems) และไอที (Information Technology) มักถูกมองว่ามีความหมายเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไอที(Information Technology) เป็นเพียงส่วนย่อยของระบบสารสนเทศ Information Systems ตัวอย่างมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ ได้แก่ Old Dominion University, Berkeley Extension ของ University of California at Berkeley, หลักสูตร online ของ Atlantic International University เป็นต้น
- เนื้อหาหลักสูตรวิชา Database Administration มีอาทิ SQL Program, Systems Concepts, Programming, Web Development, Systems Development, Database Management and File Structure, Database Backup and Recovery, Database Performance and Tuning Data Modeling and Design Systems, Development Project Information Systems Technology Microcomputer Operating Systems Communication Skills, Database Performance and Tuning, Data Modeling and Design, Information Systems Technology, Microcomputer Operating Systems, Communication Skills, Database Security, Database Integrity and Consistentcy
- Information Systems บางครั้งใช้ Computer Information Systems
- Computer Information Systems คือระบบสารสนเทศซึ่งเป็นคำรวมที่หมายครอบคลุมทั้งระบบ บุคลากร และกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อสร้าง จัดเก็บ จัดการ แจกจ่าย และเผยแพร่ข้อมูล สาขาของระบบสารสนเทศเชื่อมโยงธุรกิจกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างมากและอาจรวมถึงระบบที่ไม่ใช้เทคโนโลยีด้วย ยกตัวอย่าง ระบบสารสนเทศการจัดการที่ใช้ข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ สร้างรายงาน และตัดสินใจ ระบบสารสนเทศจะใช้ฐานข้อมูลและการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพาณิชย์เพื่อเตรียมแพ็คเกจทางธุรกิจ เช่น การพยากรณ์ การเขียนโปรแกรมเชิงเส้น และแผนผังการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างธุรกิจและเทคโนโลยี โดยเน้นที่วิธีใช้ระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กร ดังนั้น Computer Information Systems จึงสอดคล้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในบริบททางธุรกิจมากกว่า Computer Information Technology
- เนื้อหาที่ต้องเรียนมีอาทิ Global Business Perspectives, Macroeconomics, Microeconomics, Foundation of Business Analytics, College Algebra, Management Information Systems, Corporate Finance, Systems Analysis and Design, Introduction to Database Systems, Web-based Technologies, Business Strategy and Policy, Network Theory and Design และฯลฯ ลองศึกษาตัวอย่างหลักสูตรจาก Florida Institute of Technology ปริญญาตรี : https://catalog.fit.edu/preview_program.php?catoid=18&poid=7196 ปริญญาโท: https://catalog.fit.edu/preview_program.php?catoid=18&poid=7267
- Florida Institute of Technology ได้สรุปความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ (Information Systems) และเทคโนโลยี่สารสนเทศ (Information Technology) ไว้ดังนี้คือ ระบบสารสนเทศ( Information Systems) จะรวมเอาเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือการออกแบบและการนำข้อมูลหรือข้อมูลไปใช้ในระบบสารสนเทศ แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ (Information Systems) จะบูรณาการกับการใช้เทคโนโลยีและระบบอื่นๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจมากกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที (Information Technology) แม้จะทำหน้าที่สำคัญต่อองค์กรโดยรวม แต่ก็ให้ความสำคัญกับเครื่องจักร ฮาร์ดแวร์ และระบบซอฟต์แวร์มากกว่า https://www.floridatechonline.com/blog/information-technology/information-systems-vs-information-technology/
- Information Technology บางครั้งใช้ Computer Information Technology
- คือ เทคโนโลยีสารสนเทศหรือเทคนิคของการประมวลผล เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศ (Computer Information Systems) เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการศึกษา ออกแบบ นำไปใช้ ให้การสนับสนุน หรือจัดการระบบสารสนเทศบนคอมพิวเตอร์ เทคนิคของการประมวลผล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย โดยเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในทางปฏิบัติ ดังนั้น Computer Technology จึงมุ่งเน้นไปที่ด้านเทคนิคและการปฏิบัติการของระบบคอมพิวเตอร์ เนื้อหาหลักสูตร มีอาทิเช่น Computer Architecture Concepts, Security in Computing, Computer Network Concepts, Fundamentals of Information Technology, Enterprise Computing, Managing IT Integration, Design and Implementation of Computer Communication Networks, Web-Based Information Technology, Frontiers in Information Technology, Operating System Concepts, System Administration and Maintenance (ตัวอย่างหลักสูตรจาก University of Central Florida) https://www.ucf.edu/degree/information-technology-bs/
- Mobile Application Development
- เป็นหลักสูตรใหม่ที่เปิดสอนมีตั้งแต่ระดับ Certificate, Associate of Applied Science(AAS), B.S.หรือ B.A. เนื้อหาที่เรียนมีอาทิ Website Development, Programming Fundamentals, Software Analysis and Design, Mobile User Experience, Advanced Mathematics, Introduction to Database and Data Modeling, Mobile User Interfaces, Web Services and Data Storage Technologies, Dtabase Design, Human-Computer Interaction, Computer Networks, Multitier Web Architectures ผู้สนใจสามารถศึกษาตัวอย่างหลักสูตรเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย Rochester Institute of Technology (https://www.rit.edu/study/mobile-application-development-aas)และเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย Ball State University (https://www.bsu.edu/academics/collegesanddepartments/computer-science/academic-programs/majors/app-development)
- Cascadia College เป็นวิทยาลัย 4 ปีอีกแห่งหนึ่งที่นำเสนอหลักสูตรระดับปริญญาตรี Bachelor of Applied Science in Mobile Application Development แต่ขอให้ศึกษาข้อมูลโดยละเอียดเพราะวิทยาลัยชี้แจงว่า อาจจะไม่ได้มีเปิดสอนทุกปี เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจะไม่เปิดรับนักศึกษาใหม่ระหว่างปีการศึกษา 2024-2025 https://www.cascadia.edu/academic-programs/science-technology-engineering-and-mathematics/mobile-application-development.aspx อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปหลักสูตรของที่นี่อาจเรียนได้ทั้งแบบเรียนในห้องเรียน (ปรับปรุงผ่านเว็บ), แบบผสมผสาน และแบบออนไลน์ ถึงแม้ว่าหลักสูตรทั้งหมดจะไม่ได้เปิดสอนในรูปแบบเดียวกันทุกไตรมาสก็ตาม หลักสูตรเฉพาะบางหลักสูตรอาจเปิดสอนในบางช่วงเวลาของปี ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของวิทยาลัย https://www.cascadia.edu/academic-programs/science-technology-engineering-and-mathematics/mobile-application-development.aspx
- Software Engineering เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ Software Engineering จะใช้หลักการทางวิศวกรรม ภาษาการเขียนโปรแกรม และสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยทั่วไปแล้ว โปรแกรม Software Engineering จะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น ความต้องการของผู้ใช้ , Software Architecture, การเขียนและทดสอบโค้ด, ปัญหาที่เกิดจาก debugging, ความปลอดภัยและการบำรุงรักษา Rochester Institute of Technology เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปีด้าน Software Engineering เมื่อเทอม Fall 1996 https://www.rit.edu/news/rit-award-first-nation-software-engineering-degrees โดยหลักสูตรจะเน้นแนวทางการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับอาชีพทางเทคนิคและการจัดการในอุตสาหกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์เป็นหลัก นักศึกษาจะศึกษาเกี่ยวกับ Software Engineering, Computer Science, Engineering, Arts และ Humanities ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย https://www.rit.edu/study/software-engineering-bs#curriculum
- Systems Architecture
- Systems Architecture คือ การออกแบบกรอบงานของระบบไอทีและแนะนำโซลูชันทางเทคนิคเพื่อบรรลุเป้าหมายทาง กล่าวอักนัยหนึ่งคือ เป็นแนวคิดหรือแบบจำลองเชิงแนวคิดที่กำหนดโครงสร้าง พฤติกรรม และมุมมองอื่นๆ ของระบบที่กว้างขึ้นและครอบคลุมถึงการออกแบบระบบทั้งหมด ซึ่งอาจรวมถึงฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และการโต้ตอบระหว่างระบบ ในขณะที่ Computer Architecture คือ การออกแบบและการจัดระเบียบของส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และวิธีการโต้ตอบกัน ซึ่งรวมถึง CPU หน่วยความจำ พื้นที่จัดเก็บ และอุปกรณ์ input/output Computer Architecture จะประกอบด้วยวิชา 3 หมวดหลัก คือ instruction set architecture (ISA) ซึ่งเป็นตัวกำหนดรหัสเครื่องที่โปรเซสเซอร์อ่าน, microarchitecture คือวิธีที่โปรเซสเซอร์นำ ISA ไปใช้ , และการออกแบบระบบ systems design ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบฮาร์ดแวร์อื่นๆ ทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น Computer Architecture จึงเป็นส่วนย่อยของ Systems Architecture เพราะ Computer Architecture มุ่งเน้นไปที่ส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ ส่วน Systems Architecture ประกอบด้วยทั้งองค์ประกอบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในด้านการใช้งาน Systems Architecture ยังใช้ได้กับระบบต่างๆ มากมายนอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ รวมถึงระบบแบบกระจาย ระบบองค์กร และสถาปัตยกรรมคลาวด์
- เนื้อหาที่ต้องเรียนใน Systems Architecture มีอาทิ Introduction to Computing and Programming, Introduction to Object-Oriented Programming, Data structures and Algorithms, Computing Organization and Programming, Computer Systems and Networks,Computer Structures: HW/SW Codesign of a Processor, Compilers, Interpreters, and Program Analyzers, Introduction to Software Engineering ศึกษาเพิ่มเติมจากตัวอย่างเว็บไซต์ของ Georgia Institute of Technology (https://www.cc.gatech.edu/academics/threads/systems-architecture)
- ส่วนเนื้อหาที่ต้องเรียนใน Computer Architecture ได้แก่ Computer Arhchitecture and Engineering, Introduction to Digital Design and Integrated Circuits, Computer Systems Architecture, Advanced Operating Systems, Programming Embedded Systems, Advanced Computer Organization, High Performance Computer Architecture, Introduction to VLSI Systems, Data Structures and Algorithms, Intermediate Programming Concepts and Tools ศึกษาเพิ่มเติมจากตัวอย่างเว็บไซต์ของ University of Washington (https://www.ece.uw.edu/academics/bachelor-of-science/bsece/pathways/computer-architecture/)
- Theory of Computation
- Theory of Computation ทฤษฎีการคำนวณจัดเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา และใช้แบบจำลองที่เรียกว่า Automata ( เครื่องจักรเชิงนามธรรม Automata มีไว้ใช้แก่ไขปัญหาในการคำนวณ) เพื่อศึกษาตรรกะของการคำนวณ Theory of Computation มีความสำคัญเพราะจะช่วยพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และตรรกะที่มีประสิทธิภาพ ทฤษฎีนี้ใช้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเขียนอัล กอริทึมที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยภาษาโปรแกรม การออกแบบคอมไพเลอร์ การแก้ปัญหาในสาขาฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ และชีววิทยา Theory of Computation มีสองทฤษฎีหลักคือ ทฤษฎีความสามารถในการคำนวณ (Computability theory) ที่กำหนดว่าคอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ กับทฤษฎีความซับซ้อน (Complexibility theory) ซึ่งใช้เปรียบเทียบวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา มักเรียกว่าอัลกอริทึม
- การศึกษา Theory of Computation ยังจะแตกต่างจากการศึกษา Computer Theory แม้ชื่อจะคล้ายกัน เพราะ Computer Theory เป็นสาขาวิชาที่ประกอบไปด้วยทฤษฎีการคำนวณ ตลอดจนสาขาอื่น ๆ ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาการเขียนโปรแกรม อัลกอริทึม โครงสร้างข้อมูล ทฤษฎีข้อมูลและการเข้ารหัส และการออกแบบซอฟต์แวร์
- เนื้อหาที่ต้องเรียน Theory of Computation มีอาทิ Introduction to Algorithms and their Limitations, Introduction to Theoretical Computer Science, Discrete Mathematics for Computer Science, Computational Complexity, Algorithms for Data Science, Economic Analysis as a Frontier of Theoretical Computer Science, Systems Security, Fairness and Privacy: Perspectives from Law and Probability เป็นต้น (ตัวอย่างหลักสูตรจาก Harvard University: https://toc.seas.harvard.edu/toc-courses)
- เนื้อหาที่ต้องเรียนใน Computer Theory เช่น Complexity theory, Cryptography, Randomized algorithms and stochastic processes, Algorithmic game theory, Spectral methods, High-dimensional geometry and continuous optimization, Network models and algorithms, Learning theory ( อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ Georgia Institute of Technology: https://www.scs.gatech.edu/theory)
- User Experience Design
- User Experience Design(UX) เป็นสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับนักออกแบบจากหลากหลายสาขา เช่น การออกแบบภาพ การเขียนโปรแกรม จิตวิทยา และการออกแบบปฏิสัมพันธ์ UX คือการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือ การบริการทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยศึกษาว่า ผู้คนโต้ตอบกับผลิตภัณฑ์ บริการ และพื้นที่อย่างไร และจะสร้างประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพและสนุกสนานให้กับผู้ใช้ได้อย่างไร ความหมายของการโต้ตอบกับผลิคภัณฑ์หมายถึงการออกแบบ UX มุ่งเน้นไปที่อินเทอร์เฟซระหว่างบุคคล ผลิตภัณฑ์ และระบบ เช่น นักออกแบบ UX อาจพิจารณาว่าเว็บไซต์นั้นดึงดูดสายตาหรือไม่ ใช้งานง่ายไหม และมีการสร้างแบรนด์ที่สอดคล้องกันหรือไม่ การออกแบบ UX มุ่งหวังที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่เรียนรู้และใช้งานง่าย สนุกสนาน และช่วยให้ผู้ใช้บรรลุเป้าหมายได้ จึงต้องเน้นที่มนุษย์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของมนุษย์ การที่จะสร้างประสบการณ์ที่มีความหมาย ทั้งในด้านการออกแบบ UX เกี่ยวข้องกับหลายด้านที่แตกต่างกันของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างแบรนด์ การใช้งาน ฟังก์ชัน และการออกแบบ นักออกแบบ UX จะต้องทำให้การโต้ตอบในชีวิตประจำวันนั้นดูมีประโยชน์ สนุกสนาน และเข้าถึงได้
- User Interface Design (UI) มักใช้คู่กับ User Experience Design ความหมายของทั้งสองคำนี้ไม่เหมือนกัน เพราะ UX เป็นการคิดเชิงออกแบบ การออกแบบที่เน้นที่มนุษย์ และการวิจัยผู้ใช้ในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกี่ยวข้องกับงาน การกระทำ และสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ ตัวนักออกแบบการโต้ตอบจะเน้นที่การทำให้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลตอบสนองต่อการกระทำของผู้ใช้ในลักษณะที่เหมาะสม ในขณะที่ User Interface Design(UI) มีหน้าที่รับผิดชอบต่อรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การโต้ตอบ ความสามารถในการใช้งาน พฤติกรรม และความรู้สึกโดยรวม การออกแบบ UI สามารถกำหนดได้ว่าผู้ใช้มีประสบการณ์เชิงบวกกับผลิตภัณฑ์หรือไม่ ส่วน User Interaction หมายถึงการโต้ตอบของผู้ใช้คือการติดต่อระหว่างผู้ใช้และอินเทอร์เฟซดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำต่างๆ เช่น การเลื่อน การคลิก และการลาก การโต้ตอบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบดิจิทัล เนื่องจากจะกำหนดว่าผู้ใช้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์อย่างไร ในขอบเขตของการขายแบบดิจิทัล การทำความเข้าใจการโต้ตอบของผู้ใช้จึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น
- เนื้อหาที่เรียน เช่น Introduction to Design Thinking, Visual Storytelling, Design Technology, Introduction to Visual Communication, User Experience, Motion Graphics, Web Design, Digital Photography for Artists, Front-End, Visual Design and Typography, Back-End, User Experience: Human Centered Design เป็นต้น (ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของ Academy of Art University: https://www.academyart.edu/art-degree/interaction-ui-ux-design/ )
- Web Development
- Web Development เป็นวิชาครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น กลยุทธ์เว็บไซต์และอีคอมเมิร์ซ ระบบการจัดการฐานข้อมูล และการมาร์กอัป (Mark-up)และสคริปต์เว็บขั้นสูง นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะในการพัฒนา Front-End หรือคือส่วนด้านหน้าของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานมองเห็นได้ และสามารถโต้ตอบกับมันได้ การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานหรือ User Experience Design (UX) การพัฒนาแอปพลิเคชันเว็บ และการสร้างและจัดการฐานข้อมูล Web Development จึงเป็นสาขาหนึ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง และการดูแลรักษาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเว็บ นักพัฒนาเว็บจะใช้ภาษาการเขียนโปรแกรม เครื่องมือ และกรอบงานเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่มีรูปลักษณ์และฟังก์ชันการทำงานตามต้องการ เทคโนโลยีบางส่วนที่นักพัฒนาเว็บใช้ในการพัฒนาเว็บ คือ Javascript, Artificial Intelligence, Msachine Learning, Agumented Reality และ Virtual Reality
- เนิ้อหาที่เรียนมีอาทิ Introduction to Computer Science, Introduction to Information Systems, Designing the User Experience, Advanced Programming for Information Technology, Building Web Applications, Adv Website Development, Computing Applications in Business, Usability&Measuring UX, Web Ming and Information Retrieval, Mobile Applications;Design, Interface, Implementation, Requirements Analysis and Systems Design, E-Commerce Technology เป็นต้น (อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ New Jersey Institute of Technology: https://catalog.njit.edu/undergraduate/computing-sciences/informatics/web-information-systems-bs/)
Copyright © 2010-2024 GoVisa All rights reserved