MoneyGram กับ Western Union ต่างกันอย่างไร

MoneyGram เป็นการโอนเงินอีกประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีการคล้ายกันกับการโอนเงินของ Western Union สำนักงานใหญ่ของ MoneyGram ตั้งอยู่ที่เมืองดัลลัส ในรัฐเท็กซัส

มีศูนย์ MoneyGram มากกว่า 350,000 แห่งใน 192 ประเทศทั่วโลก การโอนเงินประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีเงินในบัญชีกับธนาคาร หรือมีบัตรเครดิตกับธนาคาร เหมาะกับการโอนเงินจำนวนไม่มาก เช่นไม่ถึง 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ  และผู้รับเงินต้องการได้รับเงินแบบเร่งด่วนภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที ขั้นตอนการส่งเงินคือ  ค้นหาที่ตั้งของธนาคารที่เป็นตัวแทนในการส่งเงินประเภทนี้ http://moneygram.co.th/en ในเมืองไทยมี 4 ธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการ คือ

1. ธนาคารไทยพาณิชย์ ศึกษาเพิ่มเติมจาก http://www.scb.co.th/th/personal-banking/others/international-remittance/MoneyGram

2. ธนาคารทหารไท  https://www.tmbbank.com/en/product/view/moneygram-transfer.html

3. ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย : https://www.cimbthai.com/th/personal/products/money-transfer/money-gram.html

4. ธนาคารออมสิน https://www.gsb.or.th/services/foreignexchange/%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8.aspx

การค้นหาตัวแทนเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ https://www.moneygram.com/wps/portal/moneygramonline/home/findlocation?countryCode=TH&languageCode=th

ผู้ที่ต้องการส่งเงินเลือกกรอกแบบฟอร์มของธนาคารที่ต้องการใช้บริการ พร้อมทั้งนำหลักฐานแสดงตัวตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชนถ้าอยู่ในประเทศไทย หากพำนักอยู่ในต่างประเทศให้แสดงหลักฐานคือหนังสือเดินทาง พร้อมยื่นเงินที่ต้องการจะโอนให้เจ้าหน้าที่ธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแปลงค่าเงินเป็นสกุลในประเทศที่ผู้รับพำนักอยู่ ผู้ส่งสามารถส่งข้อความได้ 10 คำโดยไม่ต้องเสียเงินค่าบริการให้เจ้าหน้าที่ธนาคาร ผู้ส่งเงินสามารถโอนเงินได้สูงสุดจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ ถ้าเป็นสกุลเงินอื่นจะต้องมีจำนวนเมื่อเทียบเท่าเงินสหรัฐอเมริกาไม่เกิน 10,000 เหรียญ และส่งได้วันละ 2 ครั้ง เรื่องวงเงินสุงสุดที่จะโอนได้ เช่น  ถ้าต้องการโอนมากกว่า 10,000 เหรียญ ผู้โอนสามารถปรึกษากับธนาคารตัวแทนเป็นกรณีๆไป

ลองศึกษาจากเว็บไซต์ของธนาคารที่เป็นตัวแทนการโอนเงินแบบเร่งด่วน MoneyGram เช่น ธนาคารออมสิน  https://www.youtube.com/watch?v=Bnh4EzSOJsQ

https://youtu.be/Bnh4EzSOJsQ

เมื่อยื่นแบบฟอร์มและจำนวนเงินเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้ง “หมายเลขอ้างอิง ให้ผู้ส่งเงินๆจะทำการติดต่อกับผู้รับเงิน เพื่อแจ้ง “หมายเลขอ้างอิง” ผู้รับเงินจะไปติดต่อธนาคารที่มีบริการ MoneyGram ที่สะดวกแจ้ง “หมายเลขอ้างอิง” และกรอกฟอร์มรับเงินพร้อมทั้งแสดงหลักฐานแสดงตัวตน เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ ใบขับขี่ หรือ หนังสือเดินทาง เป็นต้น ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการโอนเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศที่กำหนดโดย MoneyGram ไม่ใช่ของธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นๆ

อนึ่ง ก่อนที่ผู้ส่งเงินจะส่งเงิน สามารถประเมินราคาค่าใช้จ่ายต่างๆผ่านเว็บไซต์ของ MoneyGram ได้ก่อนการตัดสินใจ   https://www.moneygram.com/wps/portal/moneygramonline/home/estimator?LC=th-TH   เช่น ถ้าต้องการโอนเงินประมาณ 320,000 บาทจะเสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินประมาณ 12,000 บาท  กอลลาน

ความแตกต่างระหว่างการโอนเงินแบบ MoneyGram และ Western Union จากหลายๆเว็บไซต์ต่างประเทศได้พูดเปรียบเทียบ 2 คู่แข่งรายใหญ่ที่ดูสูสีกันมากใน 5 เรื่องใหญ่ๆ คือ

  1. อัตราแลกเปลี่ยนที่ 2 บริษัทนี้ใช้ต่างกันมากน้อยเท่าไร เช่น  ถ้าต้องการส่งเงินไปอเมริกา อัตราแลกเปลี่ยนของเวสเทิร์น ยูเนียน คือเท่าไร และของมันนี่แกรมคือเท่าไร
  2. ค่าธรรมเนียมในการให้บริการ เช่น ถ้าจะส่งเงิน 200 ดอลลาร์ เวสเทิร์นยูเนียนคิดค่าบริการเท่าไร และ มันนี่แกรมคิดต่างกันเท่าไร
  3. ความเร็วในการที่ผู้รับจะได้รับเงิน เช่น สถิติสูงสุดของเวสเทิร์นยูเนียนคือ 5 วัน แต่มันนี่แกรมคือ 4 วัน
  4. จำนวนเงินที่ส่งได้สูงสุดต่อวัน (เงื่อนไขของประเทศไทยดูเหมือนว่าประเด็นนี้ทั้งสองบริษัทมีคะแนนเท่ากัน คือ ส่งสูงสุดได้  10,000 ดอลลาร์ต่อวัน
  5. ตรงที่ผู้รับอยู่มีศูนย์ของบริษัทใด หรือมีทั้ง 2 บริษัทตั้งอยู่

คำถามทั้ง 4 ข้อนี้ผู้ส่งอาจจะสอบถามจากศูนย์บริการที่กล่าวไว้ หรือ ลองใช้โปรแกรมคำนวณของ 2 บริษัทเอง

ทั้ง 2 ระบบ ผู้รับสามารถเลือกรับเป็นเงินสด หรือ ให้ผู้ส่งโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับเลยก็ได้

หมายเหตุ ธนาคารที่เป็นตัวแทนทั้งของ Western Union และ MoneyGram ส่วนใหญ่จะแนะนำผู้ส่งเงินหรือผู้ที่จะโอนเงินว่า ถ้าผู้ส่งเงินต้องการโอนเงินจำนวนมากเกินกว่า 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือสกุลอื่นเมื่อเทียบเท่ากับ 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป ให้ใช้วิธีการโอนเงินของธนาคารที่เรียกว่า ระบบ SWIFT  ทั้งนี้เพราะผู้โอนเงินจะจ่ายค่าธรรรมเนียมในการโอนเงินน้อยกว่าการโอนเงินแบบเร่งด่วน นอกจากนี้ผู้โอนเงินอาจจะสังเกตเห็นความแตกต่างในเรื่องราคาอัตราแลกเปลียนเงินระหว่างประเทศของระบบ SWIFT และ การโอนเงินแบบเร่งด่วนว่ามีความแตกต่างกันพอสมควร รวมทั้งความแตกต่างของเวลาในประเทศผู้ส่งเงินและผู้รับเงิน

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี ผู้โอนเงินอาจจะได้รับข้อมูลจากผู้ที่ต้องการให้ส่งเงินไปให้หรือผู้รับเงินนั่นเองว่า ต้องการได้รับเงินแบบเร่งด่วน เพราะผู้รับเงินอาจจะอยู่ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่หนึ่งที่ใด ไม่สามารถไปใช้บริการจากธนาคารที่เคยใช้เป็นประจำได้  หรือ ในกรณีที่ผู้รับเงินต้องการได้รับเงินโอนแบบเร่งด่วนในวันนี้และต้องการได้รับจำนวนเงินไม่มากนัก เมื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในการโอนที่ต้องจ่ายไป กับ ระยะเวลาที่ผู้รับเงินต้องการได้รับเงิน เห็นว่า มีส่วนแตกต่างเพียงเล็กน้อย แต่ผู้ที่ต้องการได้รับเงินมีความสะดวกที่จะได้รับเงินรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องใช้เวลารอนาน 1-3 วัน เหมือนกับการโอนเงินผ่านธนาคาร (Swift)  ผู้โอนเงินและผู้รับเงินก็คงต้องใช้วิจารณญาณร่วมกันว่า จะเลือกใช้บริการโอนเงินแบบใด เช่น การโอนเงินแบบเร่งด่วนของ Western Union หรือ MoneyGram โดยอาจจะพิจารณาจากจุดที่ผู้รับเงินอยู่ ณ เวลานั้นว่า มีศูนย์ใดที่ผู้รับเงินสะดวกที่จะเดินทางไปรับเงินได้บ้าง เป็นต้น

Copyright © 2010-2011 GoVisaEdu All rights reserved.