ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อต่างประเทศระดับมัธยม

ค่าใช้จ่ายเรียนต่อต่างประเทศระดับมัธยม ในปัจจุบันแม้จะมีโรงเรียนนานาชาติจำนวนเกือบ 200 แห่งในประเทศไทย แต่จำนวนผู้ปกครองที่สนใจส่งลูกไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษามีเพิ่มขึ้นทุกปี ประเทศเป้าหมายมักจะเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และประเทศยอดนิยม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา ผู้ปกครองที่ส่งลูกไปเรียนตั้งแต่ชั้นเล็กๆ มีความคาดหวังอยากที่จะให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเท่ากับคนชาตินั้นๆ เพื่อจะได้มีงานดีเงินเดือนดี นอกจากนี้ลูกจะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความคิดความอ่านที่เป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบสูง และมีโอกาสได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ผู้ปกครองหลายท่านตั้งคำถามว่า ” ค่าใช้จ่ายส่งลูกไปเรียนเมืองนอกตกปีละเท่าไร ” ถ้าเราค้นหาจากเว็บไซต์ของโรงเรียน ก็มักจะดูเฉพาะค่าเรียนเป็นหลักรวมทั้งค่ากินอยู่ เช่น ค่าอยู่โรงเรียนประจำ( Boarding )หรือ เป็นค่า Homestay ถ้าไม่มีหอพักนอนในโรงเรียน

ในความเป็นจริงนอกเหนือจากค่าเรียนและค่าที่พักแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่ ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น คืออะไรบ้าง มีประโยชน์ที่ต้องทราบก่อนล่วงหน้าไหม ถ้าผู้ปกครองทราบก่อนล่วงหน้าได้ก็จะมีหลักในการวางแผนงบประมาณได้อย่างชัดเจนขึ้น  ในการที่จะเลือกประเทศและประเภทของโรงเรียนที่ต้องการส่งลูกไปเรียนต่อ

ค่าใช้จ่ายเรียนต่อต่างประเทศระดับมัธยม ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น ได้แก่

  1. ค่าสมัครเรียน บางประเทศใช้ Application fee บางประเทศใช้ Registration fee หรือ Administration fee ปกติค่าสมัครเรียนจะจ่ายพร้อมกับการยื่นใบสมัครและเอกสารสมัครอื่นๆ ค่าสมัครเรียนของนักเรียนต่างชาติ ( International students) จะสูงกว่าค่าสมัครเรียนของนักเรียนในประเทศนั้นๆ ( Domestic students) เล็กน้อย
  • ประเทศสหรัฐอเมริกา : เงินค่าสมัครประมาณ 70-150 US$
  • สหราชอาณาจักร : เงินค่าสมัครประมาณ 25 – 55 Pound Sterling
  • ประเทศออสเตรเลีย : เงินค่าสมัครประมาณ 50-500 AU$
  • ประเทศนิวซีแลนด์ : เงินค่าสมัครประมาณ 100 – 500  NZ$
  • ประเทศแคนาดา : ค่าสมัครประมาณประมาณ 200- 300 Can$

2. การยื่นคะแนนสอบต่างๆ เพื่อสมัครเข้าเรียนต่อระดับขั้นมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนจะชี้แจงเรื่องการยื่นคะแนนสอบ ภายใต้หัวข้อวิธีการสมัครเข้าเรียน (How to apply) โรงเรียนในต่างประเทศจะมี 2 ประเภทหลักๆ คือ

2.1 ประเภทไม่ขอดูคะแนนสอบมาตราฐานใดๆเลย พิจารณาผลการเรียนที่ผ่านมาแล้วบอกรับเป็นนักเรียนได้เลย

2.2 ประเภทต้องมีผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งยื่นให้โรงเรียนดูด้วย อาทิ TOEFL, SSAT, AAES หรือแบบทดสอบของโรงเรียนเอง กรณีโรงเรียนที่ขอดูคะแนนสอบ มักจะเป็นโรงเรียนที่ค่อนข้างเข้ายาก มีการแข่งขันในการรับเข้าเรียนค่อนข้างสูง และมักจะเป็นโรงเรียนที่มีสถิติว่า มีนักเรียนทำคะแนนสอบที่ต้องใช้ยื่นส่งสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้สูงๆ และสามารถเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้

  • ประเทศสหรัฐอเมริกา ยื่นคะแนนสอบ TOEFL iBT และ SSAT บางแห่งให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง บางประเทศสามารถยื่น ISEE ได้ แต่เมืองไทยยังไม่มีศูนย์สอบของข้อสอบ ISEE

ค่าสอบ TOEFL iBT 185US$ ค่าส่งผลสอบให้สถานศึกษา 20 US$ ต่อ 1 สถานศึกษา

ค่าสอบ SSAT  257 US$ ถ้านักเรียนต้องการให้ผล SSAT ส่งไปให้ที่พักในสหรัฐฯต้องเสียค่าบริการ 35 US$ ถ้าเป็นที่พักที่อยู่นอกสหรัฐฯ ค่าบริการ 65 US$

  • สหราชอาณาจักร ใช้ข้อสอบของโรงเรียนเองเป็นข้อสอบ Math กับ English ส่วนใหญ่โรงเรียนส่งมาให้สถานที่เป็นกลางในการจัดสอบ คือ เอเจนซี่แนะแนวการศึกษา หรือถ้าไม่ได้ใช้เอเจนซี่ สามารถเลือกใช้บริการของบริติชเคานซิลเป็นสถานที่จัดสอบ แต่ต้องไปลงทะเบียนและจ่ายค่าบริการเรื่องสถานที่ให้บริติชเคานซิล นอกจากนี้โรงเรียนยังจะมีการสอบ Skype Interview โดยจะทำการนัดหมายวันเวลากับนักเรียนก่อนล่วงหน้า
  • ประเทศออสเตรเลีย ยื่นคะแนนสอบ AAES ค่าสมัครสอบ 520 AU$ ศูนย์สอบในไทยมี 2 แห่งตรวจดูได้จากเว็บไซต์ https://aeas.com.au/home/welcome/
  • ประเทศนิวซีแลนด์ ใช้ข้อสอบของโรงเรียนเองเป็นข้อสอบ Math กับ English และมี skype interview จากบางโรงเรียน หรือบางโรงเรียนขอดูผลสอบ TOEFL หรือ IELTS ก็มี
  • ประเทศแคนาดา ใช้ข้อสอบของโรงเรียน เป็นข้อสอบ Math กับ English บางโรงเรียนใช้คะแนนสอบ TOEFL หรือ IELTS อย่างใดอย่างหนึ่ง บางแห่งใช้ TOEFL Junior
  1. ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นนักเรียนในปีแรก มีบางโรงเรียนในต่างประเทศเท่านั้น ที่ผู้ปกครองต้องจ่ายค่าแรกเข้าเรียน ซึ่งจะจ่ายเฉพาะปีแรกปีเดียว จำนวนเงินที่โรงเรียนกำหนดให้จ่ายหาอ่านได้จากเว็บไซต์ของโรงเรียน บางโรงเรียนมีรายการโปรโมชั่นว่า สำหรับลูกคนแรกของครอบครัวต้องจ่ายจำนวนนี้ คนที่สองที่จะเข้าโรงเรียนเดียวกันไม่ต้องจ่ายก็มี บางโรงเรียนโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร จะคืนเงินให้ผู้ปกครองหลังจากที่นักเรียนจบการศึกษา

4. ค่าประกันสุขภาพ บางประเทศจะรวมอยู่ในค่าเล่าเรียนไม่ได้แยกออกมาให้เห็นชัดเจนว่า ค่าประกันสุขภาพคิดเป็นเงินเท่าไร

  • ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาแตกต่างกันไปตามพิ้นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ เช่น Stevenson School มีบริการ Health Insurance ให้นักศึกษาต่างชาติผ่าน United Health Care Options PPO Plan จำนวน 1,795 US$ ต่อ 1 ปีการศึกษา: https://www.stevensonschool.org/admission/tuition
  • สหราชอาณาจักร เนื่องจากนักเรียนต้องชำระค่า NHS ( National Health Service) ในตอนกรอกฟอร์มวีซ่านักเรียนอยู่แล้ว เวลาเจ็บป่วยนักเรียนสามารถใช้สิทธ์รักษาในโรงพยาบาลได้เลย ยกเว้น การป่วยด้วยเรื่องฟัน ตา หรือการต้องรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด จะมีการคิดเงินเพิ่ม หรือ รวมไปในใบเสร็จของเทอมถัดไปที่ผู้แกครองจะต้องชำระ ค่ากายภาพบำบัดโดยประมาณ 49-51 Pound Sterling: https://www.millfieldschool.com/sites/default/files/downloads/Admissions/Fees/Senior_Fees_2017-18_0.pdf
  • ประเทศออสเตรเลีย  OSHC Medical Insurance ประมาณ 559 AU$ ต่อปี ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์รัฐบาลออสเตรเลีย https://www.studyinaustralia.gov.au/english/live-in-australia/insurance
  • ประเทศนิวซีแลนด์ ประมาณ 585 NZ$  ต่อ 1 ปีการศึกษา เช่น Palmerston North Boys’ High School: http://www.pnbhs.school.nz/international/fees/ แต่มีบางโรงเรียนที่ให้นักเรียนจัดทำประกันสุขภาพไปเอง เช่น St. Margaret’s College ที่ Christchurch: https://www.stmargarets.school.nz//wp-content/uploads/2017/04/2018-International-Fees.pdf
  • ประเทศแคนาดา แต่ละโรงเรียนจะจัดเตรียมไว้ให้ประมาณ 400-950 can$ ต่อ 1 ปีการศึกษา เช่น Burnaby School District ราคา Medical Insurance 950 Can$ : https://www.studyinburnaby.ca/resources/fees/ หรือ Bodwell High School 400 Can$: https://bodwell.edu/admissions/fees-schedule/ BODWELL Highshool

6. ค่าดูแลนักเรียนอายุน้อยกว่า 18 ปี

ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั่วไป Director ของโรงเรียนหรือ International Student Advisor จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบนักเรียนต่างชาติแทนผู้ปกครองที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้น โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐฯจึงมักไม่ได้กล่าวถึงการใช้ Guardianship เหมือนประเทศอื่นๆ Cushing Academy:  https://www.cushing.org/page/admissions/international-students/international-student-services

สหราชอาณาจักร มีการใช้บริการ Guardianship ผู้ปกครองสามารถเลือกใช้บริการ Guardianship จากหน่วยงานของคนไทย คือ สำนักงานกพ. ที่ลอนดอน หรือจากบริษัทของอังกฤษเอง ข้อดีของการใช้บริการจากหน่วยงานหรือองค์กรมากกว่าเพื่อนหรือคนรู้จักในอังกฤษ คือ มีความเป็นมืออาชีพในการแก้ไขปัญหาที่นักเรียนต่างชาติกำลังประสบอยู่ได้ดีกว่าเพื่อน ลักษณะบริการของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น Guardianship คือ ดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียนต่างชาติในทุกเรื่อง เช่น การจัดหาที่พักกับครอบครัวในระหว่างวันที่โรงเรียนหยุด และนักเรียนไม่สามารถอยู่ในโรงเรียนได้ การต่ออายุวีซ่า การพาไปหาหมอเมื่อเจ็บป่วย รวมทั้งการหากิจกรรมให้นักเรียนทำระหว่างโรงเรียนหยุดยาวและนักเรียนไม่อยากกลับประเทศของตนเอง

ประเทศออสเตรเลีย เป็นกฎหมายของประเทศออสเตรเลียที่นักเรียนอายุไม่ถึง 18 ปี ต้องมี Guardian: https://www.homeaffairs.gov.au/trav/stud/more/welfare-arrangements-under18  โรงเรียนในออสเตรเลียสามารถรับเป็นผู้ดูแลนักเรียนต่างชาติโดยไม่ต้องผ่านบริษัทรับบริการ Guardian ก็ได้ แต่ต้องมีจดหมายหรือฟอร์มเซ็นต์ยินยอมจากผู้ปกครองแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลนักเรียนคนนั้น เช่น John Paul International School กำหนดค่า Student Welfare ไว้ 1000 AU$ ต่อ 1 ปีการศึกษา http://www.jpic.com.au/admissions/Pages/fee-schedule.aspxNon-Tuition Fees

ประเทศนิวซีแลนด์ เรียกว่า Guardianship สามารถให้โรงเรียน หรือ Host Family เป็น Guardian ให้ได้ หรือผู้ปกครองบางท่านที่มีเวลา และต้องการไปอยู่กับลูกที่นิวซีแลนด์สามารถขอ Guardian visa ไปอยู่กับลูกได้ แต่จะต้องอยู่กับลูกตลอดเวลาที่ลูกยังเรียนอยู่ที่นิวซีแลนด์จะกลับมาเมืองไทยก่อนลูกไม่ได้ https://www.immigration.govt.nz/new-zealand-visas/apply-for-a-visa/about-visa/parents-or-guardians-of-students-visitor-visaNew Zealand Guardianship

ประเทศแคนาดา เรียกว่า Custodianship กรณีนักเรียนอายุไม่ถึง 18 ปี หรือไม่ถึง 19 ปีแล้วแต่กฎหมายของรัฐนั้นๆ https://www.canada.ca/en/immigration-refugees-citizenship/services/study-canada/study-permit/prepare/minor-children.html ผู้ปกครองที่ไม่ได้เดินทางไปอยู่กับนักเรียน ผู้ปกครองจำเป็นต้องกรอกฟอร์มเพื่อมอบอำนาจให้คนที่อยู่ในแคนาดาเป็นผู้ดูแลนักเรียนแทน ซึ่งโรงเรียนในแคนาดามักจะรับทำหน้าที่นั้นให้ โดยคิดค่าบริการ Custodian fee แตกต่างกัันไป เช่น Bodwell School มี Homestay Coordinator ทำหน้าที่เป็น Custodian ให้กับนักศึกษาต่างชาติ https://bodwell.edu/admissions/#International_Students

8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าหนังสือเรียน, ค่าเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนต่างชาติที่อ่อนภาษาอังกฤษ, ค่าอุปกรณ์เทคโนโลยี่ บางแห่งมีคิดค่าซอฟแวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย, ค่าที่นักเรียนต่างชาติต้องจ่ายให้กระทรวงศึกษาธิการของประเทศนั้นๆ เช่น ของประเทศนิวซีแลนด์ มีค่าThe Ministry of Education Levy, ค่าซักเสื้อผ้า, ค่าเรียนวิชาเสริมอื่นๆเพื่อพัฒนาบุคคลิกภาพของนักเรียน เป็นต้นว่า ค่าเรียนดนตรี ค่าเรียนขี่ม้าและค่าเรียนศิลปะอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาบังคับ, ค่าเบี้ยเลี้ยงรายอาทิตย์หรือรายเดือน, ค่าไปทัศนศึกษา ซึ่งอาจจะเลือกไม่ไปได้, ค่าสอบในชั้นเรียนสุดท้ายเพื่ิอเตรียมนำผลสอบไปยื่นสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ค่าตั๋วเครื่องบินบินกลับไทย เมื่อคำนวณราคาตั๋วไปกลับกับค่า Homestay ใกล้เคียงกัน

ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ปกครองอาจจะไม่ได้คาดคิดมาก่อน ในตอนวางแผนส่งลูกไปเรียนต่อเมืองนอก รูปภาพที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นเพียงยกตัวอย่างหนึ่งโรงเรียนจากในประเทศยอดนิยมทั้ง 5 แห่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า โรงเรียนที่ยกตัวอย่างเป็นตัวแทนของโรงเรียนทุกแห่งในประเทศนั้น เพียงแสดงให้ผู้ปกครองเห็นรายจ่ายที่ซ่อนอยู่ เพราะโรงเรียนหรือเอเจนซี่อาจจะแจ้งเฉพาะค่าเรียนและค่าที่พักในเบื้องต้นไปก่อน ต่อเมื่อนักเรียนได้วีซ่า และจะโอนเงินไปเรียนแล้ว ผู้ปกครองจึงได้เห็นว่า ยังมีค่าใช้จ่ายปลีกย่อยอื่นๆอีกพอสมควร

Brewster Academy:Tuition and Fees

ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อต่างประเทศระดับมัธยม

บางโรงเรียนจะแสดงรายการค่าประกันต่างๆที่ผู้ปกครองต้องจ่าย เช่น Royal School ที่ Wolverhampton : https://theroyalschool.co.uk/boarding/fees/

ประเทศออสเตรเลีย

Copyright © 2 010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.