การซื้อของในสหรัฐอเมริกา

การซื้อของในต่างประเทศโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการต่อรองอย่างเด็ดขาด เพราะทุกร้านจะมีการปิดราคาตายตัว นอกจากในบางกรณีเท่านั้น เช่น การซื้อของใช้แล้ว ซึ่งสามารถต่อราคาได้ ดังนั้นควรสืบดูราคาจากร้านต่างๆเอาเองว่า ร้านไหนมีสินค้าคุณภาพดี ราคาไม่แพงมาก ควรซื้อที่ร้านนั้น สินค้าที่ซื้อทุกชิ้น จะต้องเสียภาษีการขาย Sale Tax หรือที่เมืองไทยใช้คำศัพท์ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษีนี้จะแตกต่างกันแต่ละเมืองแต่ละรัฐหรือแต่ละประเทศ ราคาที่แท้จริง คือ ราคาขายที่ร้านค้าตั้งไว้-ราคาภาษี ในบางรัฐ เวลาซื้อของไม่มี Sale Tax เช่น รัฐ Oregon ราคาสินค้าบางชิ้น อาจแพงกว่าราคาสินค้าประเภทเดียวกัน แต่ขายในรัฐอื่นบ้างเล็กน้อย หรือ บางเมืองเช่น Boston อาจไม่มี Sale Tax สินค้าประเภทอาหาร หรือ รัฐ New Jersey ไม่คิด Sale Tax สินค้าประเภทอาหารและเสื้อผ้า เป็นต้น
สัมภาษณ์น้อง Katai Veeravattanamas เรื่องการ  shopping ไว้ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ดังนี้
” The difference among department stores and stores in the U.S. Here are some example na ka: 

Nordstorm, Macy’s >> luxury department store like siam center or paragon

JC Penny >> cheaper department store like Robinson (lower grade).

Target, wallmart >> they are like Lotus a ka. Pretty much like supermarket, but also provide some cloths

CVS, QFC, Safeway, Alberson, Bartell Drugstore >> these are supermarket ka

Ross, Marshalls >> stores that sell cloth (many kind, mix and do not match), shoes, furniture, and silverware. It’s a lot cheaper from department store ka.

Goodwill >> second hand store ka ”

ในสหรัฐอเมริกา นักศึกษายังสามารถหาซื้อของใช้แล้วได้จาก Garage Sale และบางเมืองมีตลาดประเภท Flea Market ไว้ขายของถูกให้กับคนที่มีรายได้ไม่มากอีกด้วย

Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.