การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตชำระค่าเรียนในต่างประเทศ

การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตชำระค่าเรียนในต่างประเทศ เมื่อก่อนนักศึกษาสามารถใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าเล่าเรียนให้กับสถานศึกษาในต่างประเทศได้ ในปัจจุบันนักศึกษามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น เมื่อหลายสถานศึกษาในต่างประเทศยอมให้นักศึกษาชำระค่าเล่าเรียนผ่านบัตรเดบิตได้ ดังนั้นนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษา ยังไม่มีงานทำไม่มีเงินรายรับไม่มีบัตรเครดิตเป็นของตนเอง นอกจากจะใช้บัตรเดบิตชำระค่าสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศได้แล้ว ยังใช้ในการทำธุรกรรมอื่นๆได้อีก เช่น ชำระค่าตั๋วเครื่องบิน ชำระค่าเล่าเรียน ชำระค่าธรรมเนียม Sevis I-901 ในการยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อไปศึกษาต่อหรือไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม  ยังมีนักศึกษาอีกจำนวนหนึ่งซึ่งอาจจะรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของนักศึกษาที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบัตรเดบิตและบัตรเครดิต ตลอดจนวิธีการใช้งาน หากต้องการนำบัตรเดบิตที่ออกโดยสถาบันทางการเงินในประเทศไทย เช่น ธนาคาร หรือสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร(นอนแบงก์) เช่น บัตรเครดิตที่ออกโดยห้างสรรพสินค้าไปใช้ในต่างประเทศจะทำได้หรือไม่ การออกบัตรเดบิตและบัตรเครดิต จะเป็นการออกบัตรร่วมกันระหว่างสถาบันดังกล่าวในประเทศไทย เช่น สถาบันการเงินในประเทศไทยกับเครือข่ายบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตระหว่างประเทศ อาทิ บริษัท Visa International , MASTERCARD, AMEX, JCB หรือ UnionPay เป็นต้น

บัตรเครดิต จึงเปรียบเสมือนการที่ผู้ถือบัตรขอยืมเงินจากธนาคารออกมาใช้ก่อน เมื่อถึงกำหนดเวลาการใช้เงินคืนคือ 45 วันหรือ 55 วันแล้วแต่ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต  ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถเลือกที่จะชำระงินคืนเต็มจำนวนและตรงตามเวลาที่ตกลงไว้กับธนาคาร ซึ่งหมายความว่าผู้ถือบัตรจะไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยให้กับธนาคาร แต่ถ้าผู้ถือบัตรเครดิตเลือกที่จะผ่อนชำระคืนครั้ง 10 %  ของยอดเงินในใบแจ้งยอดเงิน ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี

บัตรเดบิต คือการใช้เงินสดตามวงเงินที่เจ้าของบัตรมีอยู่ในบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นๆ บัตรเดบิตจะทำหน้าที่ 2 ประเภท คือ

1. กดเป็นเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม เหมือนกับบัตรเอทีเอ็มที่เคยเป็นที่รู้จักกันมาก่อน วิธีการใช้บัตรเดบิตกดเงินสดจากตู้กดเอทีเอ็มในต่างประเทศ ให้สังเกตบัตรเดบิตของทุกธนาคารที่ออกบัตรในประเทศไทยจะมีโลโก้ Visa อยู่ด้านหน้าของบัตร ส่วนด้านหลังบัตรเดบิตจะมีเครื่องหมาย Plus ผู้ที่ต้องการกดเงินจากตู้กดเอทีเอ็มจะต้องสังเกตว่า ที่ตู้กดเอทีเอ็มมีเครื่องหมาย Visa หรือมีเครื่องหมาย Plus อยู่ด้านบนของตู้กดหรือด้านข้างของตู้กดหรือไม่ หากบัตรเดบิตที่จะใช้มีโลโก้ของ Master อยู่ด้านหน้าบัตร ข้างหลังบัตรจะมีคำว่า Cirrus อยู่ ให้เลือกตู้กดเอทีเอ็มที่มีเครื่องหมาย Master หรือ Cirrus ปรากฏอยู่ที่ตู้กด ATM นั้นๆ ดูรูปภาพเครื่องหมาย PLUS กับ CIRRUS ประกอบ

Cirrus+

บางท่านเกิดความไม่แน่ใจว่า เมนูหรือคำสั่งในการให้บริการต่างๆบนหน้าจอเอทีเอ็มในต่างประเทศจะมีความเหมือนหรือความแตกต่างกับหน้าจอของตู้กดเอทีเอ็มในประเทศไทยหรือไม่นั้น YouTube และ Google  เป็นเสิร์จเอ็นจินที่จะช่วยตอบคำถามในเรื่องเหล่านี้ได้ดี ลองค้นหาคำว่าตู้กดเอทีเอ็มในประเทศที่เราต้องการไป หรือค้าหาจากเว็บไซต์ของบริษัทเครือข่ายต่างประเทศที่อยู่ด้านหน้าบัตรที่เราถืออยู่ จะเห็นได้ว่ามีหลายเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเว็บไซต์ YouTube ที่จะมีการสาธิตวิธีการกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศให้ได้ศึกษากันก่อนหน้าที่จะเดินทางเข้าไปในประเทศเหล่านั้น  เช่น

  • ตู้กดเอทีเอ็มในต่างประเทศ สามารถทำธุรกรรมอื่นๆได้ เช่น ฝากเช็คเข้าบัญชี YouTube โดยพระมหาทองสมุทร วรสาร แสดงวิธีการฝากเช็คกับตู้เอทีเอ็มของธนาคาร Chase ในประเทศสหรัฐอเมริกา  http://www.youtube.com/watch?v=Yx2Ctkx3GPE

2. บัตรเดบิตยังทำอีกหน้าที่หนึ่ง คือ ใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆ หากต้องการนำมาบัตรเดบิตมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ผู้ถือบัตรควรจะดำเนินการขอเปิดการใช้บริการก่อน เพื่อทางสถาบันที่ออกบัตรและบริษัทเครือข่ายในต่างประเทศจะได้รับทราบการใช้งานของผู้ถือบัตร หากมีปัญหาที่จะต้องติดต่อกับทางสถาบันที่ออกบัตรและ/หรือบริษัทเครือข่ายในต่างประเทศในภายหลัง จะได้มีประวัติการเปิดใช้งานบัตรเดบิตเป็นหลักฐาน นอกจากนี้ยังจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตด้วยการกำหนดรหัสผ่านและข้อความส่วนบุคคล ในขั้นตอนการขอใช้บัตรดังกล่าวผ่านระบบออนไลน์ ส่วน วงเงินสด ที่จะใช้ได้นั้นขึ้นอยู่กับความตกลงของผู้ถือบัตรเดบิตกับธนาคารที่ออกบัตรเดบิตนั้น

ความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตกับบัตรเดบิต

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

1.กำหนดอายุและรายได้ของผู้ที่สามารถจะมีบัตรได้ กล่าวคือ กำหนดอายุผู้มีบัตรคือ 20 ปีขึ้นไป รายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาท 1.ไม่มีกำหนดอายุและรายได้ของผู้มีบัตร
2.เป็นบัตรที่ธนาคารอนุญาตให้เจ้าของบัตรใช้จ่ายได้ตามวงเงินที่ธนาคารอนุมัติ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินอยุ่ในบัญชีธนาคาร ดังนั้นเมื่อครบกำหนดการชำระเงินคืนให้ธนาคาร หากชำระตรงเวลาที่ธนาคารผู้ออกบัตรกำหนดและชำระเต็มตามจำนวนที่ได้ใช้ไป ธนาคารจะไม่คิดค่าธรมมเนียมหรือดอกเบี้ย เปรียบเทียบได้เสมือนกับการกูยืมเงินธนาคารมาใช้ซื้อสินค้าและบริการนั่นเอง 2.เป็นบัตรที่เจ้าของบัตรมีเงินสดฝากอยู่ในบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ออกบัตรเดบิตให้ เมื่อนำบัตรไปใช้ในการชำระสินค้าหรือชำระค่าบริการ จำนวนเงินดังกล่าวจะถูกหักออกไปจากบัญชีเงินฝากของตนเอง
3.เมื่อกดเงินสดมาใช้ เจ้าของบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดมาใช้ประมาณ 3% ของยอดเงินที่ถอนแต่ละครั้ง พร้อมกับค่าภาษี (VAT) อีก 7%ส่วนการคิดอัตราดอกเบี้ยจากการกดเงินสดผ่านบัตรเครดิตจะคิดอัตราเดียวกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ 20% และจะคิดดอกเบี้ยทันทีแม้จะชำระเต็มวงเงิน (โปรดปรึกษาเจ้าหน้าที่สถาบันที่ออกบัตรเครดิตก่อนที่จะกดเงินสดด้วยบัตรเครดิต เพราะอัตราดอกเบี้ยที่กล่าวมาอาจไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสดที่กดจากบัตรเครดิต) 3.หากเป็นการใช้ในประเทศเดียวกันกับที่ออกบัตรเดบิตให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดออกมาใช้ หากเป็นการกดเงินสดในต่างประเทศ เช่น เมื่อเดินทางไปท่องเที่ยว ไปประชุม หรือไปศึกษาต่อต่างประเทศ ผู้เป็นเจ้าของบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดระหว่าง 100-250 บาท ขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมจากประเทศที่ออกบัตรเดบิต และค่าธรรมเนียมของประเทศที่เจ้าของบัตรเดบิตจะใช้บัตรเดบิตไปกดเเงินสดจากตู้เอทีเอ็มในประเทศนั้นๆ(ประการหลังขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศที่เดินทางไป)
4.มีคะแนนสะสมที่สามารถนำไปใช้ในการแลกซื้อสินค้าและบริการหลากหลายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ 4.ในบางประเทศ บัตรเดบิตไม่มีคะแนนสะสม แต่ประเทศไทยในปัจจุบัน บัตรเดบิตมีคะแนนสะสมเพื่อแลกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมรายการกับสถาบันการเงินที่ออกบัตรเดบิต

อนึ่ง ในการชำระค่าเล่าเรียนให้กับสถานศึกษาในต่างประเทศ เจ้าของบัตรเดบิตที่ต้องการจะนำบัตรเดบิตของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยไปใช้ ดังได้กล่าวไว้ในข้อ 2. ว่าควรเปิดการใช้บริการก่อน เช่น ถ้าเป็นบัตรเดบิตของ Visa จะต้องดำเนินการผ่าน  Verified by Visa ก่อน หากเป็นบัตรเดบิตที่ร่วมกับเครือข่ายบัตร Master จะต้องดำเนินการสมัครผ่าน MasterCard SecureCode ก่อน

เว็บไซต์บริษัท Visa International มีคำอธิบายเกี่ยวกับ เคล็ดลับการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ http://www.visa.co.th/ap/th/personal/security/onlineshopping.shtml  ส่วนบริษัท Master มีคำอธิบายการเพิ่มความปลอดภัยในการช้อปปิ้งออนไลน์ที่  http://www.mastercard.us/securecode.html  บริษัท Master เองได้มีการผลิตหนังสั้นเพื่อให้ผู้ใช้บัตรเกิดความเข้าใจในเรื่องการใช้บัตรของ Master เช่น หนังสั้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตกับบัตรเดบิต  http://www.mastercard.us/tools-and-tips/pointers.html

รายชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่สามารถออกบัตรเดบิตที่ใช้ชำระค่าสินค้าออนไลน์ออกได้ มีดังนี้ คือ

ธนาคารกรุงไทย

http://www.ktb.co.th/ktb/th/product-detail-personal.aspx?product=MyYpSr9vCh4220tbWhnQjQ%3D%3D

ธนาคารกรุงเทพ

http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/PersonalBanking/DailyBanking/CreditCards/BualuangiPay/Pages/NewFAQs.aspx

ธนาคารกสิกรไทย

http://www.kasikornbank.com/TH/Personal/Debit/Pages/KWebShopping.aspx

ธนาคารทหารไทย

http://www.tmbbank.com/personal/cards/atm-debit-cards/tmb-debit-basic.php

ธนาคารไทยพาณิชย์

http://www.scb.co.th/th/personal-banking/deposit/debit-atm-card/debit-card

ธนาคารธนชาติ

http://www.thanachartbank.co.th/tbankcmsfrontend/personalTHDetail.aspx?PTypeID=9&ProID=129&PName=personal

ธนาคารศรีอยุธยา

https://www.krungsri.com/th/consumer-detail.aspx?did=161&sub=true

อย่างไรก็ตาม หากนักศึกษาต้องการใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อชำระเงินค่าเล่าเรียนให้กับสถานศึกษาในต่างประเทศ นักศึกษาควรพิจารณาเงื่อนไขในการเลือกใช้บัตรดังกล่าวจากเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ และสำรวจเรื่องปลีกย่อยเหล่านี้ประกอบด้วยคือ

1. วงเงินที่เจ้าของบัตรสามารถใช้ได้ จำนวนค่าเล่ารียนที่ต้องชำระนั้นอาจมีจำนวนเงินสูงกว่าวงเงินที่เจ้าของบัตรมีสิทธิ์ใช้บัตร บัตรเดบิตจะมีวงเงินสดที่จะถอนได้ไม่เกินวันละกี่แสนบาทตามกฎเกณฑ์ของแต่ละสถาบันที่ออกบัตร หากต้องการใช้เกินวงเงินที่มีสิทธิ์ใช้ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่สถาบันเรื่องการขอเพิ่มวงเงิน

2. หากเลือกชำระค่าเล่าเรียนด้วยบัตรเครดิต ต้องพิจารณาเรื่องข้อกำหนดของบางสถานศึกษาด้วย เช่น บางแห่งไม่รับบัตรเครดิตวีซ่า แต่รับบัตรเครดิตมาสเตอร์ เป็นต้นดังเว็บไซต์ของ University of North Carolina at Chapel Hill:  http://finance.unc.edu/saur/student-account-services/payment-options-and-access/ ดังนั้น โปรดศึกษารายละเอียดจากหน้าเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในเรื่องของวิธีการชำระค่าเล่าเรียนว่า สถานศึกษาแห่งนั้นๆใช้วิธีการใดในการชำระค่าเล่าเรียนได้บ้าง

3. ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สถานศึกษาในต่างประเทศสามารถรับบัตรเดบิตจากต่างประเทศในการชำระค่าเล่าเรียนได้ หากบัตรเดบิตนั้นมีวงเงินครอบคลุม แต่บางสถานศึกษาก็มีกฎเกณฑืเฉพาะของสถานศึกษาของตนเอง อาทิ จะรับเฉพาะบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารในประเทศที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ เช่น University of Southern California ในประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้บัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารในสหรัฐอเมริกาชำระค่าเล่าเรียน http://fbs.usc.edu/depts/sfs/page/2512/in-person-payments/

4. สถานศึกษาส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเครดิต (Convenience Fee) เพื่อชำระค่าเล่าเรียนแตกต่างกันไป โดยทั่วไปค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเครดิตจะอยู่ระหว่าง 2.25%-3.0%  แล้วแต่สถานศึกษาจะกำหนด เช่น  Indiana University Purdue University คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต 2.7 %  http://www.bursar.iupui.edu/cccfee.asp