การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตชำระค่าเรียนในต่างประเทศ เมื่อก่อนนักศึกษาสามารถใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าเล่าเรียนให้กับสถานศึกษาในต่างประเทศได้ ในปัจจุบันนักศึกษามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น เมื่อหลายสถานศึกษาในต่างประเทศยอมให้นักศึกษาชำระค่าเล่าเรียนผ่านบัตรเดบิตได้ ดังนั้นนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษา ยังไม่มีงานทำไม่มีเงินรายรับไม่มีบัตรเครดิตเป็นของตนเอง นอกจากจะใช้บัตรเดบิตชำระค่าสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศได้แล้ว ยังใช้ในการทำธุรกรรมอื่นๆได้อีก เช่น ชำระค่าตั๋วเครื่องบิน ชำระค่าเล่าเรียน ชำระค่าธรรมเนียม Sevis I-901 ในการยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อไปศึกษาต่อหรือไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักศึกษาอีกจำนวนหนึ่งซึ่งอาจจะรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของนักศึกษาที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบัตรเดบิตและบัตรเครดิต ตลอดจนวิธีการใช้งาน หากต้องการนำบัตรเดบิตที่ออกโดยสถาบันทางการเงินในประเทศไทย เช่น ธนาคาร หรือสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร(นอนแบงก์) เช่น บัตรเครดิตที่ออกโดยห้างสรรพสินค้าไปใช้ในต่างประเทศจะทำได้หรือไม่ การออกบัตรเดบิตและบัตรเครดิต จะเป็นการออกบัตรร่วมกันระหว่างสถาบันดังกล่าวในประเทศไทย เช่น สถาบันการเงินในประเทศไทยกับเครือข่ายบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตระหว่างประเทศ อาทิ บริษัท Visa International , MASTERCARD, AMEX, JCB หรือ UnionPay เป็นต้น
บัตรเครดิต จึงเปรียบเสมือนการที่ผู้ถือบัตรขอยืมเงินจากธนาคารออกมาใช้ก่อน เมื่อถึงกำหนดเวลาการใช้เงินคืนคือ 45 วันหรือ 55 วันแล้วแต่ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถเลือกที่จะชำระงินคืนเต็มจำนวนและตรงตามเวลาที่ตกลงไว้กับธนาคาร ซึ่งหมายความว่าผู้ถือบัตรจะไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยให้กับธนาคาร แต่ถ้าผู้ถือบัตรเครดิตเลือกที่จะผ่อนชำระคืนครั้ง 10 % ของยอดเงินในใบแจ้งยอดเงิน ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี
บัตรเดบิต คือการใช้เงินสดตามวงเงินที่เจ้าของบัตรมีอยู่ในบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นๆ บัตรเดบิตจะทำหน้าที่ 2 ประเภท คือ
1. กดเป็นเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม เหมือนกับบัตรเอทีเอ็มที่เคยเป็นที่รู้จักกันมาก่อน วิธีการใช้บัตรเดบิตกดเงินสดจากตู้กดเอทีเอ็มในต่างประเทศ ให้สังเกตบัตรเดบิตของทุกธนาคารที่ออกบัตรในประเทศไทยจะมีโลโก้ Visa อยู่ด้านหน้าของบัตร ส่วนด้านหลังบัตรเดบิตจะมีเครื่องหมาย Plus ผู้ที่ต้องการกดเงินจากตู้กดเอทีเอ็มจะต้องสังเกตว่า ที่ตู้กดเอทีเอ็มมีเครื่องหมาย Visa หรือมีเครื่องหมาย Plus อยู่ด้านบนของตู้กดหรือด้านข้างของตู้กดหรือไม่ หากบัตรเดบิตที่จะใช้มีโลโก้ของ Master อยู่ด้านหน้าบัตร ข้างหลังบัตรจะมีคำว่า Cirrus อยู่ ให้เลือกตู้กดเอทีเอ็มที่มีเครื่องหมาย Master หรือ Cirrus ปรากฏอยู่ที่ตู้กด ATM นั้นๆ ดูรูปภาพเครื่องหมาย PLUS กับ CIRRUS ประกอบ
บางท่านเกิดความไม่แน่ใจว่า เมนูหรือคำสั่งในการให้บริการต่างๆบนหน้าจอเอทีเอ็มในต่างประเทศจะมีความเหมือนหรือความแตกต่างกับหน้าจอของตู้กดเอทีเอ็มในประเทศไทยหรือไม่นั้น YouTube และ Google เป็นเสิร์จเอ็นจินที่จะช่วยตอบคำถามในเรื่องเหล่านี้ได้ดี ลองค้นหาคำว่าตู้กดเอทีเอ็มในประเทศที่เราต้องการไป หรือค้าหาจากเว็บไซต์ของบริษัทเครือข่ายต่างประเทศที่อยู่ด้านหน้าบัตรที่เราถืออยู่ จะเห็นได้ว่ามีหลายเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเว็บไซต์ YouTube ที่จะมีการสาธิตวิธีการกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศให้ได้ศึกษากันก่อนหน้าที่จะเดินทางเข้าไปในประเทศเหล่านั้น เช่น
- เว็บไซต์ของบริษัท Visa International จะมีการสาธิตวิธีการใช้เอทีเอ็มในต่างประเทศ http://visa.co.th/personal/atm/overseas.shtml หรือ http://visa.co.th/index.shtml
- ตู้กดเอทีเอ็มในต่างประเทศ สามารถทำธุรกรรมอื่นๆได้ เช่น ฝากเช็คเข้าบัญชี YouTube โดยพระมหาทองสมุทร วรสาร แสดงวิธีการฝากเช็คกับตู้เอทีเอ็มของธนาคาร Chase ในประเทศสหรัฐอเมริกา http://www.youtube.com/watch?v=Yx2Ctkx3GPE
2. บัตรเดบิตยังทำอีกหน้าที่หนึ่ง คือ ใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆ หากต้องการนำมาบัตรเดบิตมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ผู้ถือบัตรควรจะดำเนินการขอเปิดการใช้บริการก่อน เพื่อทางสถาบันที่ออกบัตรและบริษัทเครือข่ายในต่างประเทศจะได้รับทราบการใช้งานของผู้ถือบัตร หากมีปัญหาที่จะต้องติดต่อกับทางสถาบันที่ออกบัตรและ/หรือบริษัทเครือข่ายในต่างประเทศในภายหลัง จะได้มีประวัติการเปิดใช้งานบัตรเดบิตเป็นหลักฐาน นอกจากนี้ยังจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตด้วยการกำหนดรหัสผ่านและข้อความส่วนบุคคล ในขั้นตอนการขอใช้บัตรดังกล่าวผ่านระบบออนไลน์ ส่วน วงเงินสด ที่จะใช้ได้นั้นขึ้นอยู่กับความตกลงของผู้ถือบัตรเดบิตกับธนาคารที่ออกบัตรเดบิตนั้น
ความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตกับบัตรเดบิต
บัตรเครดิต (Credit Card) |
บัตรเดบิต (Debit Card) |
1.กำหนดอายุและรายได้ของผู้ที่สามารถจะมีบัตรได้ กล่าวคือ กำหนดอายุผู้มีบัตรคือ 20 ปีขึ้นไป รายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาท | 1.ไม่มีกำหนดอายุและรายได้ของผู้มีบัตร |
2.เป็นบัตรที่ธนาคารอนุญาตให้เจ้าของบัตรใช้จ่ายได้ตามวงเงินที่ธนาคารอนุมัติ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินอยุ่ในบัญชีธนาคาร ดังนั้นเมื่อครบกำหนดการชำระเงินคืนให้ธนาคาร หากชำระตรงเวลาที่ธนาคารผู้ออกบัตรกำหนดและชำระเต็มตามจำนวนที่ได้ใช้ไป ธนาคารจะไม่คิดค่าธรมมเนียมหรือดอกเบี้ย เปรียบเทียบได้เสมือนกับการกูยืมเงินธนาคารมาใช้ซื้อสินค้าและบริการนั่นเอง | 2.เป็นบัตรที่เจ้าของบัตรมีเงินสดฝากอยู่ในบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ออกบัตรเดบิตให้ เมื่อนำบัตรไปใช้ในการชำระสินค้าหรือชำระค่าบริการ จำนวนเงินดังกล่าวจะถูกหักออกไปจากบัญชีเงินฝากของตนเอง |
3.เมื่อกดเงินสดมาใช้ เจ้าของบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดมาใช้ประมาณ 3% ของยอดเงินที่ถอนแต่ละครั้ง พร้อมกับค่าภาษี (VAT) อีก 7%ส่วนการคิดอัตราดอกเบี้ยจากการกดเงินสดผ่านบัตรเครดิตจะคิดอัตราเดียวกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ 20% และจะคิดดอกเบี้ยทันทีแม้จะชำระเต็มวงเงิน (โปรดปรึกษาเจ้าหน้าที่สถาบันที่ออกบัตรเครดิตก่อนที่จะกดเงินสดด้วยบัตรเครดิต เพราะอัตราดอกเบี้ยที่กล่าวมาอาจไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสดที่กดจากบัตรเครดิต) | 3.หากเป็นการใช้ในประเทศเดียวกันกับที่ออกบัตรเดบิตให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดออกมาใช้ หากเป็นการกดเงินสดในต่างประเทศ เช่น เมื่อเดินทางไปท่องเที่ยว ไปประชุม หรือไปศึกษาต่อต่างประเทศ ผู้เป็นเจ้าของบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดระหว่าง 100-250 บาท ขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมจากประเทศที่ออกบัตรเดบิต และค่าธรรมเนียมของประเทศที่เจ้าของบัตรเดบิตจะใช้บัตรเดบิตไปกดเเงินสดจากตู้เอทีเอ็มในประเทศนั้นๆ(ประการหลังขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศที่เดินทางไป) |
4.มีคะแนนสะสมที่สามารถนำไปใช้ในการแลกซื้อสินค้าและบริการหลากหลายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ | 4.ในบางประเทศ บัตรเดบิตไม่มีคะแนนสะสม แต่ประเทศไทยในปัจจุบัน บัตรเดบิตมีคะแนนสะสมเพื่อแลกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมรายการกับสถาบันการเงินที่ออกบัตรเดบิต |
อนึ่ง ในการชำระค่าเล่าเรียนให้กับสถานศึกษาในต่างประเทศ เจ้าของบัตรเดบิตที่ต้องการจะนำบัตรเดบิตของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยไปใช้ ดังได้กล่าวไว้ในข้อ 2. ว่าควรเปิดการใช้บริการก่อน เช่น ถ้าเป็นบัตรเดบิตของ Visa จะต้องดำเนินการผ่าน Verified by Visa ก่อน หากเป็นบัตรเดบิตที่ร่วมกับเครือข่ายบัตร Master จะต้องดำเนินการสมัครผ่าน MasterCard SecureCode ก่อน
เว็บไซต์บริษัท Visa International มีคำอธิบายเกี่ยวกับ เคล็ดลับการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ http://www.visa.co.th/ap/th/personal/security/onlineshopping.shtml ส่วนบริษัท Master มีคำอธิบายการเพิ่มความปลอดภัยในการช้อปปิ้งออนไลน์ที่ http://www.mastercard.us/securecode.html บริษัท Master เองได้มีการผลิตหนังสั้นเพื่อให้ผู้ใช้บัตรเกิดความเข้าใจในเรื่องการใช้บัตรของ Master เช่น หนังสั้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตกับบัตรเดบิต http://www.mastercard.us/tools-and-tips/pointers.html
รายชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่สามารถออกบัตรเดบิตที่ใช้ชำระค่าสินค้าออนไลน์ออกได้ มีดังนี้ คือ
ธนาคารกรุงไทย
http://www.ktb.co.th/ktb/th/product-detail-personal.aspx?product=MyYpSr9vCh4220tbWhnQjQ%3D%3D
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกสิกรไทย
http://www.kasikornbank.com/TH/Personal/Debit/Pages/KWebShopping.aspx
ธนาคารทหารไทย
http://www.tmbbank.com/personal/cards/atm-debit-cards/tmb-debit-basic.php
ธนาคารไทยพาณิชย์
http://www.scb.co.th/th/personal-banking/deposit/debit-atm-card/debit-card
ธนาคารธนชาติ
ธนาคารศรีอยุธยา
https://www.krungsri.com/th/consumer-detail.aspx?did=161&sub=true
อย่างไรก็ตาม หากนักศึกษาต้องการใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อชำระเงินค่าเล่าเรียนให้กับสถานศึกษาในต่างประเทศ นักศึกษาควรพิจารณาเงื่อนไขในการเลือกใช้บัตรดังกล่าวจากเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ และสำรวจเรื่องปลีกย่อยเหล่านี้ประกอบด้วยคือ
1. วงเงินที่เจ้าของบัตรสามารถใช้ได้ จำนวนค่าเล่ารียนที่ต้องชำระนั้นอาจมีจำนวนเงินสูงกว่าวงเงินที่เจ้าของบัตรมีสิทธิ์ใช้บัตร บัตรเดบิตจะมีวงเงินสดที่จะถอนได้ไม่เกินวันละกี่แสนบาทตามกฎเกณฑ์ของแต่ละสถาบันที่ออกบัตร หากต้องการใช้เกินวงเงินที่มีสิทธิ์ใช้ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่สถาบันเรื่องการขอเพิ่มวงเงิน
2. หากเลือกชำระค่าเล่าเรียนด้วยบัตรเครดิต ต้องพิจารณาเรื่องข้อกำหนดของบางสถานศึกษาด้วย เช่น บางแห่งไม่รับบัตรเครดิตวีซ่า แต่รับบัตรเครดิตมาสเตอร์ เป็นต้นดังเว็บไซต์ของ University of North Carolina at Chapel Hill: http://finance.unc.edu/saur/student-account-services/payment-options-and-access/ ดังนั้น โปรดศึกษารายละเอียดจากหน้าเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในเรื่องของวิธีการชำระค่าเล่าเรียนว่า สถานศึกษาแห่งนั้นๆใช้วิธีการใดในการชำระค่าเล่าเรียนได้บ้าง
3. ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สถานศึกษาในต่างประเทศสามารถรับบัตรเดบิตจากต่างประเทศในการชำระค่าเล่าเรียนได้ หากบัตรเดบิตนั้นมีวงเงินครอบคลุม แต่บางสถานศึกษาก็มีกฎเกณฑืเฉพาะของสถานศึกษาของตนเอง อาทิ จะรับเฉพาะบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารในประเทศที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ เช่น University of Southern California ในประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้บัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารในสหรัฐอเมริกาชำระค่าเล่าเรียน http://fbs.usc.edu/depts/sfs/page/2512/in-person-payments/
4. สถานศึกษาส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเครดิต (Convenience Fee) เพื่อชำระค่าเล่าเรียนแตกต่างกันไป โดยทั่วไปค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเครดิตจะอยู่ระหว่าง 2.25%-3.0% แล้วแต่สถานศึกษาจะกำหนด เช่น Indiana University Purdue University คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต 2.7 % http://www.bursar.iupui.edu/cccfee.asp