มารู้จักคำว่า "บัตรเครดิต บัตรเดบิต และบริษัทเครือข่ายต่างประเทศ"

บังเอิญได้อ่านเว็บไซต์กิมหยงดอทคอม ของชาวหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  พบบทความของคุณประภัทร พูนสิน ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขียนเกี่ยวกับ ” ท่านรู้จักบัตเดบิตดีแค่ไหน” คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เริ่มใช้บัตรพลาสติกประเภทต่างๆ แต่ยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างของบัตรเหล่านี้ คุณประภัทรใช้ภาษาง่ายๆอธิบายความแตกต่างของการใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตร e-money ประโยชน์หรือข้อดีของบัตรเดบิต และวิธีการใช้บัตรเดบิต

บัตรพลาสติกที่คนไทยมีใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในเวลานี้มีอยู่ 3 ประเภท คือ

1.  บัตร e-money มีลักษณะที่ผู้ถือบัตรต้องชำระเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ให้บริการบัตรดังกล่าวก่อน จากนั้นผู้ถือบัตรจึงสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขายได้  เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า

2. บัตรเครดิต ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถใช้บัตรชำระค่าสินค้าและบริการ โดยผู้เป็นเจ้าของบัตรจะชำระเงินให้เจ้าของสินค้าและบริการผ่านสถาบันการเงินที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิต

3.  บัตรเดบิต จะทำหน้าที่ 2 ชนิดคือ ผู้ถือบัตรจะใช้บัตรเดบิตชำระค่าสินค้าและบริการโดยยอดค่าใช้จ่ายจะถูกตัดออกจากบัญชีที่ผูกไว้กับบัตรเดบิตใบนั้นทันที หรือผู้ถือบัตรเดบิตจะใช้บัตรเดบิตกดเงินสดออกมาจากตู้เอทีเอ็ม

บล็อก OK Nation วันที่ 19 มีนาคม 2556 และข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับวันที่ 21-23 มีนาคม 2556 ทำให้เราได้ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็มีนโยบายที่จะให้ประชาชนหันมาใช้บัตรเดบิตในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อเหมือนเช่นที่ในต่างประเทศกระตุ้นให้ประชาชนใช้บัตรเดบิตเพิ่มขึ้น เพื่อภาครัฐจะได้ ลดต้นทุนการบริหารจัดการด้านเงินสด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัตรเดบิตเป็นหนึ่งเครื่องมือของการเตรียมระบบการชำระเงินเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือที่รู้จักกันสั้นๆว่า เออีซี  (AEC) ในปี 2558

ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงเอทีเอ็มของ บริษัท NITMX ผ่านไปยังประเทศมาเลเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนามได้แล้ว และกำลังดำเนินการเชื่อมต่อไปยังฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ขณะที่กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงยังต้องให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้เตรียมการเชื่อมต่อระบบเอทีเอ็มเพื่อขยายการให้บริการไปถึงการโอนเงินได้จากเดิมที่สามารถทำได้เพียงการถอนเงิน และสอบถามยอดเท่านั้น และจะพยายามเชื่อมต่อระบบเอทีเอ็มระหว่างกันให้ได้ครบเกือบทุกประเทศอาเซียน และเตรียมการใช้ระบบ local Switching โดยเราสามารถค้นหาข้อมูลตู้เอทีเอ็มของทุกธนาคารในประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์ของ NITMX ได้อีกด้วย http://www.itmx.co.th/site/atm

ระบบ Local Switching คืออะไร  คำตอบคือ การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดให้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตทุกแบรนด์ที่ออกและใช้จ่ายในประเทศไทย จะต้องส่งข้อมูลการทำรายการใช้บัตรผ่านศูนย์กลางที่จัดตั้งและดำเนินการภายในประเทศไทย โดยเริ่มการใช้งานในวันที่ 1 กันยายน 2556 นี้ ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Knowledge ของธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555  http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Phrasiam/Documents/Phrasiam_3_2555/11.pdf

รูปต่อไปนี้เป็นรูปที่มาจากหนังสือ Knowledge ของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อประกอบความเข้าใจเรื่อง Local Switching

B1

ดังนั้นผู้ใหญ่เองซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะผู้ปกครองควรทำความรู้จักกับบัตรพลาสติกประเภทต่างๆเหล่านี้ให้ดี เพื่อจะได้เป็นอีกผู้หนึ่งที่สามารถให้คำแนะนำแก่เด็กๆที่ต้องการนำบัตรพลาสติกประเภทต่างๆไปใช้ให้ได้อย่างรู้เท่าทันหน้าที่ของบัตรนั้นๆ พร้อมทั้งรู้จักแยกแยะได้ว่า บัตรของสถาบันการเงินที่ออกมามากมายหลากหลายรูปแบบ แบบใดที่เหมาะกับบุคลิกการใช้จ่ายเงินของเรา บางแบบอาจจะออกมาในลักษณะของการใช้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ บางแบบใช้ร่วมกับหน่วยงานเอกชน ศัพท์ที่เรียกใช้บัตรเดบิตประเภทนี้ คือ Co-branded มีบทความเก่าชิ้นหนึ่งของนิตยสารผู้จัดการเมื่อปี 2541  เรื่อง “บริษัทวีซ่าหาญแปรเงินสดเป็นบัตรพลาสติก” ที่ระบุว่า ” ไม่เพียงเฉพาะสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินเท่านั้นที่วีซ่าต้องร่วมทำงานด้วย บรรดาบริษัทห้างร้านก็เป็นอีกกลุ่มลูกค้าหนึ่งที่วีซ่าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องเพื่อสร้างรายได้ โดยวีซ่าได้มีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Co-Branded card ซึ่งอาจจะเป็นบัตรเดบิต หรือเครดิตที่บริษัทหรือห้างร้านออกร่วมกับสถาบันการเงิน ซึ่งในเมืองไทยก็กำลังเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะบรรดาห้างสรรพสินค้า ” และจากบทความดังกล่าว ทำให้ได้ความรู้ว่า ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยที่ให้บริการบัตรเดบิตร่วมกับบริษัทวีซ่าอินเตอร์เนชั่นแนลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2539 ผู้สนใจสามารถอ่านเต็มทั้งบทความได้ที่  http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=3036

เด็กวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานเป็นวัยที่ง่ายต่อการยอมรับสิ่งใหม่ๆและเป็นวัยชอบทดลอง คงจะยินดีพกบัตรพลาสติกเพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการแทนการพกเงินสด จากนโยบาย Local Switching ทำให้บริษัทวีซ่าอินเตอร์เนชั่นแนล(เอเซียแปซิฟิก)เองมีผลกระทบเชิงรายได้ของบริษัทอยูู่บ้าง และพยายามหาทางแข่งขันกับบริษัท National ITMX หลังจาก Local Switching เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 ศึกษาเนื้อหาข่าวเพิ่มเติมได้จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับวันที่ 18-21 สิงหาคม 2556   http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=195445:2013-08-17-07-39-39&catid=101:2009-02-08-11-30-52&Itemid=440

อย่างไรก็ตาม หากต้องการนำบัตรเดบิตไปใช้ในต่างประเทศเพื่อการท่องเที่ยวหรือเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ขอแนะนำให้ลองศึกษารายละเอียดจากเว็บไซต์ Card Association หลักๆที่จะมีคำอธิบายถึงบัตรของบริษัทเครือข่ายต่างประเทศ, แนะนำวิธีการใช้ทั้งบัตรเดบิตและบัตรเครดิตที่ออกโดยบริษัทหลักเหล่านี้ พร้อมวิดีโอประกอบการใช้บัตร การได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ก่อนจะมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับบัตร และทราบเพิ่มเติมได้อีกว่ามีธนาคารพาณิชย์ สถาบันทางธุรกิจแบบใดบ้างในประเทศของเราที่ทำธุรกรรมร่วมกับบริษัทต่างๆ รายชื่อ Card Association ที่เป็นที่นิยมใช้ในต่างประเทศได้แก่

1. Visa Internationalhttp://visa.co.th/index.shtml

เนื้อหาเว็บไซต์ จะมีความรู้ที่เป็นคำอธิบาย หรือเป็นภาพเคลื่อนไหว อาทิ เช่น ประเภทของบัตร (บัตรเดบิต หรือ บัตรเครดิต) , คุณสมบัติของบัตรจะกล่าวถึงบัตรวีซ่า เพย์เวฟ, สิทธิพิเศษและผู้ช่วยส่วนตัว, ความปลอดภัย, เอทีเอ็ม, การใช้เอทีเอ็มในต่างประเทศ, ความปลอดภัยในการช้อปปิ้งออนไลน์ ฯลฯ

2. Master Card http://www.mastercard.com/sea/gateway.html

เนื้อหาเกี่ยวกับบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร Pre-paid การสมัครเป็นสมาชิกบัตร ระบบ PayPass ของบัตร Master ที่ใช้การแตะบัตรเข้าที่เครื่อง PayPass การให้ความรู้แก่ผู้ใช้่บัตรในด้านต่าง ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ศูนย์การเรียนรู้ที่ประเทสมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปรื และเวียดนาม ฯลฯ

3. American Express มีบริการบัตรเครดิตอย่างเดียว : https://www.americanexpress.com/th/th/content/information-about-credit-cards.html

4. JCB เป็นบัตรที่มาจากประเทศญี่ปุ่น : http://www.jcbcard.com/brand/issuer.html

5. Union Pay เป็นบัตรที่มาจากประเทศจีน : http://en.unionpay.com/

ที่มาของข้อมูล

http://www.gimyong.com/talung/index.php?topic=200394.0

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=855480

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=174951:2013-03-20-05-21-57&catid=104:-financial-&Itemid=443

Copyright © 2010-2013 GoVisa All rights reserved

รู้ไว้ก่อนไปเมืองนอกกับธนาคารชาติและศคง.

กระแสคนไทยให้ความสำคัญใช้บัตรพลาสติกที่เกี่ยวข้องกับการเงินมีเพิ่มมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ วารสารทางการเงิน จากสถิติล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2556 ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวนผู้ถือบัตรเครดิต 17,473,108 คน จำนวนผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม  14,925,400 คน และจำนวนผู้ถือบัตรเดบิต   41,607,157 คน รวมจำนวนผู้มีบัตรพลาสติก 74,005,665 คน และข้อมูลจาก Payment Systems Insight ไตรมาสที่ 1 ปี 2556                   http://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/Publication/ps_quarterly_report/Payment

%20Systems%20Insight/Payment_Insight_2013Q1.pdf

ระบุปริมาณการเติบโตจากการชำระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวม e-Money) ไว้ว่ามีจำนวน 99,290 รายการ คิดเป็นมูลค่า 336 พันล้านบาท  และยังได้อธิบายถึงประโยชน์ของการใช้บัตรพลาสติกไว้ดังนี้คือ

สำหรับผู้บริโภค : ให้ความสะดวกสบาย และปลอดภัย และสามารถเลือกใช้บริการที่หลากหลายให้เหมาะกับความต้องการ

สำหรับร้านค้า :     เป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานลูกค้า การบริหารจัดการข้อมูลการทำธุรกิจ และการขายที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับระบบเศรษฐกิจของประเทศ :

  • จำนวนเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่ลดลงจะสามารถลดต้นทุนในการพิมพ์ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ รวมถึงต้นทุนในการจัดการเงินสดอื่น ๆ ได้เป็นอย่างมาก
  • การใช้บัตรยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียน โดยการใช้จ่ายที่สะดวกรวดเร็ว จะเป็นแรงกระตุ้นหนึ่งให้มีความต้องการใช้จ่ายที่มากขึ้น ส่งผลเป็นวัฏจักรการเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้า การจ้างงาน และย้อนกลับมาเป็นรายได้และการใช้จ่ายที่มากขึ้น

เนื่องจากบัตรพลาสติกที่เกี่ยวกับการชำระเงินในท้องตลาดเวลานี้มีสถาบันที่ออกมาให้บริการมากมาย ทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร(นอนแบงค์) ผู้ใช้จึงควรทราบความหมายของบัตรประเภทต่างๆ ,วิธีการใช้, ความแตกต่างของบัตรพลาสติก บังเอิญได้ชมภาพยนต์สั้นที่จัดทำโดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งปรากฏอยู่ใน YouTube และโฆษณาบนรถไฟฟ้า BTS http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/Pages/index.aspx

BO1

ซึ่งจากภาพยนต์ดังกล่าวทำให้ต้องเข้าไปค้นหาคำว่า ” ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน” ของธนาคารแห่งประเทศ ทำให้ได้พบว่า เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่มีคุณประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่มเกี่ยวกับการเงิน, วิธีการใช้เงิน และวิธีป้องกันการถูกหลอกลวงเหมาะกับเด็กๆรุ่นใหม่ที่ผู้ปกครองเริ่มอนุญาตให้ออกเดินทางไปต่างประเทศด้วยวัยที่น้อยลง เด็กๆเหล่านี้หลายคนยังใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินไม่คล่อง หรือผู้ใหญ่ที่เพิ่งจะเริ่มมีการเดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบต่างๆไม่คล่อง เมื่อคนเหล่านี้ไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์หลายธนาคาร จึงพบว่า แต่ละธนาคารมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินออกมามากมายออกมามากจนเลือกใช้ไม่ถูก บางครั้งกลับทำให้เกิดความสับสนเพิ่มขึ้นไปอีก

บล็อกนี้ใคร่ขอแนะนำให้ผู้ที่ต้องมีการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีส่วนเกียวข้องกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้เดินทางใหม่ๆที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนักได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ตามกลุ่มอายุของผู้เรียกดูข้อมูล ได้แก่ ประชาชน, สถาบันการเงิน, นักวิชาการ, สื่อมวลชน, นักเรียนและนักศึกษา

BO2

BO3

ในกลุ่มผู้เรียกดูที่เป็นประชาชน จะมีหัวข้อมัลติมิเดียประกอบเรื่อง รอบรู้บริการทางการเงิน ส่วนของนักเรียนและนักศึกษ เมื่อคลิกเลือกหัวข้อ การใช้บริการทางการเงิน ทั้งประชาชน นักเรียนและนักศึกษาจะได้รับฟังและรับชมสื่อการเรียนการสอนด้านการชำระเงินด้วยภาพมัลติมิเดียพร้อมคำศัพท์ , เกมส์, และเอกสารของธนาคารแห่งประเทศไทยเหมือนกัน  http://www2.bot.or.th/PSServices/

BO4

ยกตัวอย่างเมื่อคลิกเลือกบัตรเดบิตจะมีคำอธิบายตั้งแต่บัตรเดบิตคืออะไร ประเภทของบัตร ขั้นตอนการใช้การบริการ ข้อดีและข้อควรระวัง เป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจในบัตรพลาสติกชนิดต่างๆก่อนจะเลือกสมัครใช้บริการบัตรพลาสติกของธนาคารพาณิชย์ต่างๆในประเทศไทย

นอกจากนี้ในหน้าเว็บไซต์ที่เป็นของ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ยังมีรายการ ” สาราน่ารู้ ” ที่อยู่ในรูป เอกสาร หนังสือ สื่อ Interactive Display และรายการถามตอบ กับศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

BO6สำหรับผู้ที่มีการวางแผนไปต่างประเทศ เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อที่ทางศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินจัดทำขึ้นนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่คนทุกกลุ่ม และทุกระดับ และเป็นเนื่อหาความรู้ทีอยู่ในรูปการนำเสนอที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อ เช่น เมื่อคลิกเลือกเรื่อง “อัตราแลกเปลี่ยน” จะมีบทเรียนสั้นๆในรูปชุดมัลติมิเดียถึง 12 ตอน ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ “เงินเฟ้อ” มีทั้งหมด 13 ตอนก็อยู่ในรูปมัลติมิเดียด้วยเช่นเดียวกัน

bo7

Copyright © 2010-2013 GoVisa All rights reserved