การทำประกันสุขภาพ (Health Insurance )ในอเมริกา
การทำประกันสุขภาพ (Health Insurance )ในอเมริกา การทำประกันสุขภาพในระหว่างศึกษาอยู่ในต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เนื่องด้วยค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศมีราคาแพงมาก หากมีการทำประกันสุขภาพไว้แล้ว ยามเจ็บป่วย ประกันสุขภาพจะช่วยประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาลได้มาก
โดยปกติ สถานศึกษาทุกแห่งในสหรัฐอเมริกาจะแนะนำให้นักศึกษาซื้อประกันสุขภาพเมื่อเปิดภาคเรียน นักศึกษาสามารถที่จะเลือกทำประกันสุขภาพได้ 2 ประเภท คือ
- สถานศึกษาบางแห่งแนะนำให้นักศึกษาทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันซึ่งจัดทำโครงการ/กรมธรรม์พิเศษสำหรับนักเรียน/นักศึกษาของตน บางแห่งอาจกำหนดเป็นข้อบังคับว่าต้องทำกับบริษัทประกันที่ทางสถานศึกษาเป็นผู้ติดต่อให้ เช่น http://world.utexas.edu/isss/insurance/plan
กรมธรรม์ประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประมาณ 50,000 ดอลล่าร์สหรัฐบ้าง 100,000 ดอลล่าร์สหรัฐบ้าง ส่วนราคาเบี้ยประกันสุขภาพจะอยู่ระหว่าง 300-500 ดอลล่าร์สหรัฐต่อหนึ่งภาคการศึกษา หรือประมาณ1,100-1,500 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปีบ้าง นักศึกษาบางท่านอาจจะคิดว่าราคาเบี้ยประกันแพง ไม่อยากทำประกันสุขภาพ แต่นักศึกษาต้องคำนึงว่า
– เป็นกฎของการไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า นักศึกษาต้องมีประกันสุขภาพ
– ยามเจ็บป่วยถ้าไม่มีประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ดังนั้นลองศึกษาดูจากเว็บไซต์สถานศึกษาที่ตอบรับมาก่อนว่า เบี้ยประกันสุขภาพมีราคาประมาณเท่าไร ถ้าคิดว่าแพงเกินไป อยากจะทำกับบริษัทอื่นที่ไม่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ต้องดูว่า สถานศึกษาอนุญาตให้นักศึกษาซื้อประกันสุขภาพได้เองจากบริษัทอื่นที่ไม่ได้ร่วมกับสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนได้ไหม เป็นต้น
2. ทำประกันสุขภาพกับบริษัทที่ไม่ได้ร่วมกับสถานศึกษาของตน บางสถานศึกษามีรายชื่อบริษัทที่รับทำประกันสุขภาพ ไว้ให้ โดยนักศึกษาสามารถที่จะเลือกทำกับบริษัทใดก็ได้ เช่น University of California-Los Angles ได้ให้ list บริษัทประกันสุขภาพที่นักศึกษาเลือกทำได้เองไว้ที่เว็บไซต์ http://www.uclahealth.org/body.cfm?id=85
หรือของ University of Illinois at Urbana Champaign ที่ชี้แจงว่า นักศึกษาสามารถทำกับบริษัทประกันสุขภาพอื่นได้ แต่ควรจะมีหลักฐานที่แสดงว่า ได้ซื้อประกันสุขภาพมาขอยกเว้นการจ่ายค่าทำประกันสุขภาพกับมหาวิทยาลัย http://isss.illinois.edu/form_downloads/forms/f1238011211.pdf
หรือถ้านักศึกษาจะทำประกันกับทางมหาวิทยาลัยก็ให้เข้าไปศึกษารายละเอียดที่เว็บไซต์ต่อไปนี้ http://www.si.uiuc.edu/ เป็นต้น
อนึ่ง นักศึกษาทุนรัฐบาลที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานกพ. ถ้าเข้าไปศึกษาในเว็บไซต์ของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา http://www.oeadc.org/scholars/healthinsurance/Insurance20112012/HealthInsRule20112012 จะเห็นว่า นักเรียนทุนที่ไม่ได้ทำประกันสุขภาพผ่านสถานศึกษา ทางสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาให้นักศึกษาใช้บริการของบริษัท Aetana นักศึกษาทุนส่วนตัวที่ยังไม่ได้เดินทาง โดยเฉพาะท่านผู้ปกครองที่เป็นห่วงบุตรธิดา อาจลองเข้าไป download จากเว็บไซต์นี้ เพื่อเป็นกรณีศึกษาว่า นักเรียนทุนรัฐบาลเขาทำประกันกับบริษัทใด มีวิธีการเลือกแผนประกันอย่างไร แล้วถ้าบุตรของเราไม่อยากทำประกันสุขภาพกับสถานศึกษา ควรเลือกทำประกันแบบไหนดี หรือกับบริษัทไหนดี เป็นต้น เว็บไซต์ของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา คือ http://www.oeadc.org/scholars/healthinsurance/Insurance20112012/InsuranceBrochure20112012/view
นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวกับการทำประกันสุขภาพในการไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ที่
- http://www.travelinsure.com/ หรือจะเข้าไปดูราคาเบี้ยประกันได้ที่ http://www.travelinsure.com/what/susahigh.asp
- http://www.usa-healthinsurance.com/ ถ้าจะลองไปศึกษา Student health insurance ของเว็บไซต์นี้ คือ http://www.usa-healthinsurance.com/health-insurance-products.html
- http://www.healthinsuranceusa.com/ ซึ่งจะมี link ไปยังเว็บไซต์ของบริษัทประกันอีกหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา เช่น Aetana, Cigna เป็นต้น
สรุป หลักเกณฑ์ง่ายๆในการทำประกันสุขภาพ คือ นักศึกษาควรทราบว่า กรมธรรม์ประกันสุขภาพมีผลบังคับใช้อย่างไรบ้าง หากเกิดการเจ็บป่วยจะได้ทราบว่า สามารถเรียกร้องอะไรจากบริษัทประกันได้บ้าง อย่างไรก็ตาม สำหรับนักศึกษาที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้วกับบริษัทประกันในประเทศไทย ควรตรวจสอบก่อนหน้าเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาว่า กรมธรรม์มีผลครอบคลุมการไปศึกษาต่อต่างประเทศหรือไม่/อย่างใด ครอบคลุมวงเงินตามเงื่อนไขสถานศึกษาในสหรัฐอเมริกากำหนดไว้หรือไม่ สถานพยาบาลในต่างประเทศสามารถเรียกเก็บเงินจากบริษัทในประเทศได้โดยตรงหรือไม่ เพราะในทางปฏิบัติ ผู้ถือกรมธรรม์ในประเทศไทยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลในต่างประเทศก่อน แล้วจึงจะส่งใบเรียกเก็บมาเรียกเงินคืนกับบริษัทในประเทศไทย โดยผู้ขอเงินคืนจำเป็นต้องเดินทางกลับมาดำเนินการด้วยตนเอง หรือทำหนังสือมอบฉันทะให้ตัวแทนในประเทศไทยทำเรื่องแทนให้ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อาจทำให้ผู้ถือกรมธรรม์ได้รับเงินคืนไม่ครบตามจำนวนที่ชำระไปแล้ว ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทยที่ทำการโฆษณาเกี่ยวกับประกันสุขภาพซึ่งนักศึกษาสามารถนำไปใช้ในต่างประเทศได้ แต่ขอให้นักศึกษาสอบถามเงื่อนไขต่างๆดังที่ได้อธิบายไว้แล้วให้ชัดเจนก่อนเลือกใช้บริการ เว็บไซต์ที่รวบรวมบริษัทประกันภัยในประทศไทย คือ http://www.insurancethailand.info/ มีบริษัทที่นักศึกษาบางท่านเคยทำประกันสุขภาพ เช่น Bupa, Allianz, New Hampshire เป็นต้น
Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.