ประกาศสอบชิงทุน Chevening ประจำปี 2019

ประกาศสอบชิงทุน Chevening ประจำปี 2019

ทุนเชฟนิ่ง หรือ ทุน Chevening เป็นทุนของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรและบางองค์กรที่ร่วมด้วย เช่น British Library หรือ Oxford university ( ในกรณีประเทศไทย ตรวจสอบรายชื่อหน่วยงานที่เข้าร่วมหรือ Partners ได้ที่ http://www.chevening.org/thailand/ ) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชิญชวนผู้นำรุ่นใหม่ที่เฉลียวฉลาดในสายอาชีพนั้นๆ มาช่วยกันทลายกำแพงที่ขวางกั้นประเทศ ด้วยการสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงผู้คนที่อยู่บนโลกใบนี้เข้าด้วยกัน  ดังนั้น หัวใจสำคัญของทุน Chevening จึงอยู่ที่คำว่า ” Leadership& Influence, Networking, Studying และ Career Path” และ 5 คำนี้จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรียงความที่ผู้สมัครสอบชิิงทุน Chevening จะต้องยื่นพร้อมใบสมัครสอบ

ทุน Chevening ประกาศให้ยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2018 เวลา 18.00 น. ของไทย หรือ เที่ยงวันของสหราชอาณาจักร ( 12.00 BST ) ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2018 เวลา 12.00 GMT หรือ เที่ยงวันของสหราชอาณาจักร เพื่อไปศึกษาต่อวิชาใดก็ได้ในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยใดก็ได้ในสหราชอาณาจักรเป็นเวลานาน 1 ปี  http://www.chevening.org/thailand/ ในปีนี้ ทางทุน Chevening เน้นเรื่องการส่งชื่อผู้ที่จะเขียน Letter of Recommendation หรือผู้ที่จะเป็น Reference ให้ผู้สมัคร จำนวน2 ท่าน จะต้องส่งจดหมาย Reference ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2019 เวลา เที่ยงวันของสหราชอาณาจักร รูปแบบของการเขียน Reference จะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษและอยู่ในรูปไฟล์ Pdf. ที่มีขนาดไม่เกิน 5 MB ผู้ที่เป็น Reference ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า www.chevening.org/apply/english-language-requirement

  1. รู้จักกันมานานเท่าไร
  2. ความสามารถของผู้สมัครมีอะไรบ้าง
  3. การติดต่อครั้งสุดท้ายกับผู้สมัครคือเมื่อไร
  4. สรุปการให้เหตุผลสนับสนุนผู้สมัครว่า สมควรเป็นผูู้ได้รับทุน

สำหรับการประกาศผลการสอบสัมภาษณ์รอบสุดท้าย คือ ประมาณเดืิอนมิถุนายน 2019 ผู้ที่ได้รับทุน Chevening จะเดินทางไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักรในปีการศึกษา 2019 หรือประมาณเดือนกันยายน/ตุลาคม 2019

ทุน Chevening แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. Chevening Fellowships ใช้เวลาในการสรรหาผู้เหมาะสมได้รับทุนนาน 6 เดือนนับจากวันที่ปิดรับสมัคร ทุน Fellowships สำหรับผู้สมัครที่ทำงานมาระยะหนึ่งจนมีตำแหน่งงานอยู่ระดับกลาง ทุน Chevening Fellowship ของประเทศไทย ค้นหาได้ที่เว็บไซต์ http://www.chevening.org/apply ทุน Fellowships ของไทยปีที่ผ่านมาชื่อ ทุน Oxford Centre for Islamic studies ซึ่งปิดรับสมัครไปแล้ว ของปีนี้ยังไม่มีรายชื่อทุน Fellowshipsให้กับนักศึกษาจากประเทศไทย
    1. Chevening Scholarships ใช้เวลาในการสรรหาผู้เหมาะสมได้รับทุนนานประมาณ 8 เดือนนับจากวันที่ปิดรับสมัคร รับผู้สมัครจบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรหลังปริญญาตรี แต่ยังไม่ถึงระดับปริญญาโท (Postgraduate)

ผู้สนใจสมัครทุน Chevening สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเรื่องกำหนดการรับสมัครได้ที่เว็บไซต์ http://www.chevening.org/apply/application-timeline

คุณสมบัติผู้สมัคร   http://www.chevening.org/apply/eligibility-criteria

  1. มีสัญชาติไทยเท่านั้น และไม่ใช่บุคคลที่ถือสองสัญชาติ
  2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรหลังปริญญาตรี ( Postgraduate) และมีวัตถุประสงค์สมัครไปเรียนต่อปริญญาโทเท่านั้น
  3. มีความตั้งใจเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากจบการศึกษาและหลังจากจบโครงการต้องอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 2 ปี 
  4. ถ้าสมัครสอบชิงทุน Chevening Scholarships มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 2 ปี หรือประมาณ 2,800 ชั่วโมง ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการนับจำนวนชั่วโมงในการทำงานได้ที่ http://www.chevening.org/apply/work-experience ถ้าสมัครสอบชิงทุน Chevening Fellowships จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 5-7 ปี ขึ้นอยู่กับประเภททุน Fellowhships ที่ยื่นสมัคร
  5. สมัครเรียนมหาวิทยาลัยใน UK ได้ 3 แห่ง และเลือกหลักสูตรได้ 3 หลักสูตร แต่หลังจากยื่นสมัครแล้ว ไม่สามารถขอเปลี่ยนหลักสูตรที่ต้องการเรียนได้
  6. อนึ่ง ผู้สมัครเรียนต่อ MBA จะต้องออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเองอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ครอบคลุมค่าเล่าเรียนปีละ 18,000 ปอนด์ ผู้สมัคร ต้องได้รับจดหมายตอบรับจากมหาวิทยาลัยแบบไม่มีเงื่อนไขว่า ให้ไปเรียนภาษาอังกฤษ หรือไปเรียน Pre-Sessional จดหมายตอบรับจากมหาวิทยาลัยต้องออกมาภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2019 ส่วนจดหมายตอบรับจากทุน Chevening เรียกว่า FAL หรือ Final Confirmation of your award ผู้ได้รับทุนต้องส่ง FAL ไปยังมหาวิทยาลัยที่ตอบรับ เพื่อให้มหาวิทยาลัยออก Confirmation of Acceptance for Studies หรือ  CAS หากมหาวิทยาลัยออก CAS ให้ก่อน ผู้ได้รับทุนต้องส่งสำเนา FAL ให้มหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยรับทราบว่า ท่านได้รับทุน Chevening http://www.chevening.org/chevening/placement-timeline-what-to-expect
  7. มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ โดยในปีนี้ทางทุนให้โอกาสใช้ผลสอบภาษาอังกฤษชนิดใดชนิดหนึ่งได้ http://www.chevening.org/apply/english-language-requirement
  • Academic IELTS  ต้องได้ 6.5 ทุก band คือ Listening, Reading, Speaking, Writing ต้องได้ 5.5
  • Pearson PTE Academic ต้องได้ 58 คะแนน ทั้ง 4 ทักษะต้องได้คะแนนอย่างน้อย 42
  • TOEFL iBT ต้องได้ 79 คะแนน Listening- 17 คะแนน , Reading- 18 คะแนน, Speaking- 20 คะแนน, Writing- 17 คะแนน
  • C1 Advanced (formerly Cambridge English: Advanced [CAE]) ต้องได้ 176 คะแนน โดยแต่ละทักษะต้องได้คะแนนอย่างน้อย 162 คะแนน
  • Trinity ISE II (B2) โดยแจ้ละทักษะต้องได้คะแนนดังนี้ คือ Listening- 2 คะแนน, Reading- 15 คะแนน, Speaking- 8 คะแนน, Writing- 14 คะแนน

เอกสารที่ใช้ยื่นสมัคร ได้แก่

  1. สำเนาหนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน
  2. Transcript ปริญญาตรี
  3. ชื่อหลักสูตรปริญญาโท 3 หลักสูตรที่ต้แงการสมัครไปเรียนต่แ
  4. ชื่อ Reference 2 ชื่อ
  5. ผลสอบภาษาอังกฤษ (ถ้ามีในวันยิ่นามัครออนไลน์)
  6. จดหมายตอบรับเข้าเรียนต่อปริญญาโท(ถ้ามีในวันส่งใบสมัครออนไลน์)

ทุน Chevening ประกอบด้วยเงินช่วยเหลือต่างๆ ได้แก่

  1. เงินค่าเล่าเรียนเต็ม
  2. เงินเดือนรายเดือน
  3. ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
  4. เงินเบี้ยเลี้ยงในการมาถึงUK
  5. ค่าสมัคร Visa
  6. ทุนสำหรับการเดินทางมาเข้าร่วมอีเวนท์ของทุนChevening ที่ UK

ผู้สนใจสมัครสอบชิงทุน ควรอ่านรายละเอียดการยื่นใบสมัครออนไลน์ได้ที่  http://www.chevening.org/apply/online-application-system หลังจากยื่นใบสมัคร ผู้สมัครจะได้รับอีเมล์ให้เข้าไปทำการจองวันนัดสอบสัมภาษณ์ ช่วงระยะเวลาการสอบสัมภาษณ์ของผู้สมัครจากทั่วโลกคือ ระหว่าง วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2019 การสอบสัมภาษณ์จะเป็นการสัมภาษณ์แบบเห็นหน้าเห็นตากัน ส่วนการสัมภาษณ์ทาง Skype จะเป็นในกรณีพิเศษเท่านั้น

คำแนะนำเพิ่มเติมในการยื่นใบสมัคร (Tips) ให้อ่านจาก Common Errors in Applications ได้แก่  http://www.chevening.org/apply/guidance/common-errors

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว โดยเรื่องการถือสองสัญชาติ
  2. การนับจำนวนชั้วโมงในการทำงานที่ผ่านมา
  3. การตอบรับกลับมาของมหาวิทยาลัยต้องไม่มีเรื่องการต้องไปเรียนภาษาอังกฤษก่อนล่วงหน้าหลักสูตรปกติ
  4. การยืนยันความเป็นตัวตนของผู้สมัคร และการตอบคำถาม Yes หรือ NO ต้องอยู่บนหลักความเป็นจริงในตัวผู้สมัคร
  5. การคัดลอกข้อความจากผู้อื่นมาใช้โดยไม่ระบุที่มา กรรมการรับสมัครใช้ Plagiarism Software ในการตรวจสอบข้อมูล
  6. ในการกรอกแบบฟอร์มให้ใช้ภาษาอังกฤษภาษาเดียว

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.