Update การทำงาน CPT OPT ที่อเมริกา

Update การทำงาน CPT OPT ที่อเมริกา มา Update การทำงานระหว่างเรียนและการทำงานหลังเรียนจบจากอเมริกากันอีกครั้งว่า  นักศึกษาสามารถทำงานนอกแคมปัสได้หรือไม่ได้ ที่ต้องเขียนเรื่องนี้ให้อ่านกัน เพราะมีน้องๆหลายคนยังเข้าใจผิดเรื่องการทำงานหลังเรียนจบจากอเมริกาอยู่ ทำให้น้องตกอยู่ในสภาพการอยู่เกินระยะเวลาที่มีสิทธิิ์ที่จะอยู่ได้ ( overstay) ผลกระทบที่ตามมาในภายหลังคือ จะขอวีซ่าไปเที่ยวอเมริกาหลังเรียนจบแล้วกลับมาทำงานที่เมืองไทยแล้วไม่ได้ น้องบางคนงงๆกับปัญหาที่เกิดขึ้น คิดแล้วคิดอีกว่า ไม่เคยทำอะไรผิดที่อเมริกา ทำไมจึงขอวีซ่าเข้าอเมริกาไม่ผ่าน

วีซ่านักเรียนทุนส่วนตัวที่คุณพ่อคุณแม่เป็นสปอนเซอร์ให้ไปเรียนต่ออเมริกามี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ  https://www.uscis.gov/working-united-states/students-and-exchange-visitors/students-and-employment

  1. วีซ่า F-1 คือ วีซ่านักเรียนที่ใช้สำหรับไปเรียนหนังสือในโรงเรียน, วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่โรงเรียนภาษา โดยมีเงื่อนไขว่า โรงเรียน, วิทยาลัย, มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนภาษาแห่งนั้นๆ ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐบาลอเมริกันที่เรียกว่า  Student and Exchange Visitors Program (SEVP)
  2. วีซ่า M-1 คือ วีซ่านักเรียนที่ใช้สำหรับไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพ และวิชาอื่นที่ไม่ใช่วิชาการ รวมทั้งไม่ได้หมายถึงกลุ่มที่สมัครไปเรียนภาษาอังกฤษ

วีซ่า F-1 กับการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอเมริกัน

ตามกฎหมายแล้ว วีซ่า F-1 ไม่สามารถทำงานนอกมหาวิทยาลัย (Off-Campus)ได้ในปีที่ 1 งานนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ เป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านอาหารไทย ขับรถส่งอาหาร ฯลฯ

วีซ่า F-1 สามารถเลือกทำงานได้ไม่เกิน 3  ประเภท คือ ทำงานแบบ  CPT, หรือ  Pre-completion  OPT หรือ Post-completion OPT ส่วนใหญ่นักศึกษาที่ไม่ต้องถูกบังคับให้ทำงานแบบ CPT มักจะรอเวลา เพื่อเลือกทำงานแบบ Post-completion OPT เพราะจะมีโอกาสได้ทำงานเต็มเวลาและทำงานได้นานอย่างน้อย 1 ปี

ประเภทของงานที่นักศึกษาต่างชาติจะทำได้ คือ

  • Curriculum Practical Training (CPT)  CPT คือ การฝึกงานซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน อาจจะอยู่ในรูปของ Internship, Cooperative Education

               CPT ของหลักสูตร มีความหมายว่า นักศึกษาต้องทำงานตามวิชาเอก ( major) ที่เลือกลงทะเบียนเรียน เพื่อจะได้เรียนให้จบและรับคุณวุฒิหรือดีกรีนั่นเอง CPT อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ International Student Office ของมหาวิทยาลัย ในขณะที่ OPT เป็นเพียงทางเลือกที่นักศึกษาจะทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ในสหรัฐอเมริกา และจะเลือกทำระหว่างเรียนหรือหลังเรียนจบ โดยนักศึกษาต้องยื่นเรื่องไปที่ United States Citizenship and Immigration Services (USCIS)

ผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการใช้ CPT เต็มจำนวนเวลา คือ ถ้าทำงานครบ 12 เดือน จะทำให้นักศึกษาท่านนั้นหมดโอกาสที่จะได้ทำงานแบบ OPT เพราะการทำงานแบบ OPT มีข้อกำหนดว่า นักศึกษาต่างชาติสามารถทำงานในสหรัฐฯได้นานเพียง 12 เดือนเท่านั้น ยกเว้นผู้ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM)ที่จะทำงานได้นานกว่า  เมื่อนักศึกษาเลือกทำ CPT นาน 12 เดือน เท่ากับนักศึกษาได้ใช้สิทธิ์ทำงาน 12 เดือนไปหมดแล้ว  https://iss.washington.edu/employment/f1-employment/cpt/

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ทำงานแบบ  CPT คือ

  1. ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนเรียนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
  2. วีซ่า F-1 ยังมีอายุอยู่
  3. เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเอกที่เลือกลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ยกตัวอย่างวิดีโออธิบายเรื่อง CPT ของมหาวิทยาลัย University of Texas at Arlington มีด้วยกัน 7 ตอน เฉพาะตอนที่ 1 นีกศึกษาจะเข้าใจภาพกว้างๆว่า CPT คืออะไร ได้ ส่วนตอนที่เหลือเหมาะกับผู้ที่ต้องการทราบขั้นตอนการยื่นเอกสารเพื่อขอ CPT : https://www.youtube.com/watch?v=eJhiDxQ2IAw

  • Optional Practical Training  (OPT) OPT คือการได้มีโอกาสทำงานนอกมหาวิทยาลัย งานที่ทำ ต้องเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่เรียน ฟังแล้วคล้าย CPT

ความแตกต่างระหว่าง CPT  กับ OPT คือ งาน OPT ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนจบจากมหาวิทยาลัย  OPT ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากการทำงานกับนายจ้างในสหรัฐอเมริกา และได้มีโอกาสเรียนรู้การประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมากับการลงมือปฎิบัติงานจริง  ลักษณะการสมัครงานแบบ OPT มี 2 ประเภทคือ

1. OPT สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนจบด้านวิทยาศาสคร์ เทคโนโลยี  วิศวกรรมศาตร์ และคณิตศาสตร์ ระยะเวลาที่ได้รับให้ทำงานคือ 12 เดือน

2. OPT สำหรับผู้ที่เรียนจบมาทางด้านสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือเรียกกันว่า สาย STEM ระยะเวลาที่ได้รับให้ทำงานคือ 24 เดือน

นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขปลีกย่อยอีกเล็กน้อยของนักศึกษาที่จบสาย STEM ตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่จบปริญญาตรีคณิตศาสตร์แต่จบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจและยังไม่เคยขอ OPT เลยสามารถที่จะขอ OPT สาย STEM ได้นาน 24 เดือน หรือนักศึกษาที่จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ขอ OPT STEM ได้ 24 เดือนแล้ว เมื่อจบปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์อีก 1 ใบ ก็ยังสามารถขอ OPT ได้เพิ่มอีก 24 เดือนด้วย ทั้งนี้ขอให้นักศึกษาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ U.S. Citizenship and Immigration Services (USCIS)

https://www.uscis.gov/working-united-states/students-and-exchange-visitors/students-and-employment/stem-opt

หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ที่ International Office ของมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาเรียนจบมา  University of Texas at Arlington ได้ทำวิดีโอออกมา 9 ตอนเพื่ออธิบายเรื่อง OPT https://www.youtube.com/watch?v=d7p-qD4VUXQ

สำหรับรายชื่อวิชาสาย STEM ถ้าไม่มั่นใจว่า วิชาที่เราเรียนมาก็เป็นกึ่งๆวิทยาศาสตร์จะจัดว่า เป็น STEM หรือไม่นั้น ให้ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของ US Immigration and Customs Enforcement (ICE)

https://www.ice.gov/sites/default/files/documents/Document/2016/stem-list.pdf

การขอทำงาน OPT จะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วงเวลา คือ

  • Pre-completion OPT นักศึกษาสามารถทำเรื่องขอทำ  Pre-completion OPT ได้หลังจากเรียนจบการศึกษาในปีที่ 1 หรือได้ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2 เทอมไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย

เนื่องจากการยื่นขอ OPT ต้องใช้เวลาในการพิจารณา https://www.uscis.gov/working-united-states/students-and-exchange-visitors/students-and-employment/optional-practical-training

  1. นักศึกษาทั้งสาย Non-STEM และสาย STEM  จะเริ่มสมัคร OPT ได้หลังจากที่ Designated School Official ( DSO) ได้ลงบันทึกคำว่า OPT ใน I-20 ฉบับใหม่ให้แล้ว (ดูรูปตัวอย่าง I-20 ที่อนุญาตให้ทำ OPT ได้ที่หน้า 11 จากเว็บไซต์ของ Campbellesville University (Kentucky) http://player.slideplayer.com/13/4121077/# หลังจากนั้น นักศึกษาต้องยื่นเรื่องขอ Pre-completion OPT ก่อนเรียนจบปีที่ 1 เป็นเวลา นาน 90 วัน เพื่อนักศึกษาจะได้เริ่มทำ OPT หลังเรียนจบปีที่ 1 
  2. เมื่อได้รับอนุมัติให้ได้ทำ  Pre-completion OPT นักศึกษาจะทำงานในมหาวิทยาลัยได้วันละ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (Part-Time) และ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ( Full-time) ในระหว่างปิดภาคเรียน นักศึกษาระดับปริญญาเอกบางคนที่อยู่ระหว่างการเขียนวิทยานิพนธ์ ต้องการหางานพิเศษทำเพื่อหารายได้ก็อาจจะขอ Pre-completion OPT ได้ แต่ต้องระวังเงื่อนไขหลังจบที่จะกล่าวต่อไป
  • Post-completion OPT หมายความว่า นักศึกษาสามารถขอ Post-completion OPT หลังจากเรียนจบได้อีกช่วงหนึ่ง และควรยื่นเรื่องขอ Post-completion OPT ก่อนเรียนจบ 30 วัน เพราะต้องใช้เวลาดำเนินการเช่นเดียวกัน หลักการคือ
  1. นักศึกษาทั้ง สาย Non-STEM และสาย STEM จะต้องยื่นเรื่องภายในเวลา 30 วันที่ได้รับ I-20 ฉบับใหม่ที่มีคำว่า OPT บันทึกอยู่บน I-20 นักศึกษาอาจจะเริ่มยื่นเรื่องขอ Post-completion OPT ก่อนเรียนจบ 90 วัน และต้องไม่ช้าไปกว่า 60 วันหลังจากจบรับปริญญา
  2. กรณีส่วนขยายเวลา ( Cap-Gap Extension) ของ OPT กลุ่ม STEM นักศึกษาจะต้องยื่นเรื่องภายในเวลา 60 วันที่ DSO ได้ลงบันทึก OPT ใน I-20 ของนักศึกษาสาย STEM และอาจจะยื่นเรื่องสมัครในส่วนที่ขยายเวลาภายใน 90 วันก่อนที่สัญญาการว่าจ้างจะหมดอายุ ช่วง Cap-Gap Extension คือช่วงสิ้นสุดของวีซ่า F-1 ก่อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นวีซ่า H-1B หรือวีซ่าทำงานของ skilled worker
  3. เมื่อได้รับอนุมัติ Post-completion OPT แล้ว นักศึกษาจะทำงานได้วันละ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กรณีต้องการทำงานเป็น Part-time หรือมากกว่า 20  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้าต้องการทำงานเป็น Full-time

คุณสมบัติของคนที่จะขอ Post-completion OPT ได้

  • วีซ่า F-1 ยังมีิอายุอยู่
  • ไม่เคยทำ Pre-completion OPT ในระดับปริญญาเดียวกันนาน 12 เดือน( เช่น ตอนลงทะเบียนเรียน MBA อยู่ ทำ Pre-completion OPT นาน 12 เดือนมาก่อน) เพราะจะทำให้นักศึกษาหมดสิทธิ์ที่จะขอ P0st-completion OPT
  • ต้องไม่เคยทำ CPT ในระดับปริญญาเดียวกันแบบเต็มเวลานาน 12 เดือนด้วยเช่นเดียวกัน เพราะถ้าทำไปจะกี่เดือนก็ตาม เวลาที่ได้ทำไปนั้นจะถูกนำมาหักออกจากระยะเวลาที่ได้รับ Post-completion OPT เช่น ถ้านักศึกษาเคยทำ Pre-completion OPT หรือ CPT มาก่อนหน้านี้แล้ว 6 เดือน นักศึกษาจะเหลือสิทธิในการทำ Post-completion OPT อีกเพียง 6 เดือนเท่านั้น   https://www.youtube.com/watch?v=ikUlhioZMWo

ประเภทของงาน OPT ที่ได้รับเงินเดือนเป็นค่าตอบแทน ได้แก่

  • นักศึกษาสามารถสมัครเข้าทำงานได้ 2 บริษัทในเวลาเดียวกัน แต่ลักษณะงานที่ได้รับการตอบรับให้เข้าทำต้องเป็นงานที่ตรงกับสาขาที่เรียนจบมา
  • งานที่มีสัญญาระยะสั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานสาย Performing Arts เช่น งานดนตรี
  • งานที่ได้รับการว่าจ้างตามสัญญา ต้องมีหลักฐานต่อไปนี้แสดงประกอบ คือ ระยะเวลาในสัญญาว่าจ้าง, ชื่อและที่อยู่ของบริษัทที่ว่าจ้าง
  • นักศึกษาสามารถเปิดธุรกิจส่วนตัวเองได้ โดยแสดงหลักฐานว่า ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งบริษัทเอง และต้องเป็นบริษัทเกี่ยวข้องกับงานที่เรียนจบมา
  • ถ้างานที่ได้ทำเป็นงานที่สมัครผ่านบริษัทเอเจนซี่หรือบริษัที่ปรึกษาก็ถือว่า ใช้ได้เหมือนกัน
  • กรณีนักศึกษาสาย STEM บริษัทที่รับเข้าทำงานควรจะมีชื่ออยู่ในรายชื่อ E-Verify ของ USCIS : https://www.uscis.gov/e-verify

ประเภทของงาน OPT ที่ไม่ได้รับเงินเดือน ได้แก่ งานอาสาสมัคร งานอินเทอร์นที่ไม่ผิดกฎหมาย

เงื่อนไขการสิ้นสุดหรือการหมดอายุ Post-completion OPT คือ

  1. ถ้านักศึกษาที่ได้รับ Post-completion OPT 12 เดือน ยังหางานทำไม่ได้นาน 90 วัน ถือว่า OPT ของนักศึกษาสิ้นสุดลงและต้องเดินทางออกจากสหรัฐอเมริกาทันที ก่อนจะกลายสถานภาพเป็นอยู่เกินระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลกระทบต่อการขอวีซ่าไปเที่ยวอเมริกาในภายหลังได้
  2. กรณีของนักศึกษาสาย STEM OPT ซึ่งได้รับ Post-completion OPT นาน 24 เดือน ถ้ายังหางานทำตามสาขาวิชาที่เรียนจบมาไม่ได้ภายใน 150 วัน Post-completion OPT ของนักศึกษา OPT ก็จะสิ้นสุดลง ทันทีเช่นเดียวกัน

วีซ่า M-1 กับการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

วีซ่า M-1 คือ วีซ่าสำหรับผู้ไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพ ได้แก่ วิชาการบิน, วิชาทำอาหาร, วิชาเจียระไนเพชรพลอย, วิชาศิลปะและการออกแบบ, วิชาโรงแรม วิขาพยาบาลฉุกเฉิน ช่างซ่อมรถยนต์ เป็นต้น ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ของสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งใน Las Vegas ระบุชื่อโรงเรียนหรือวิทยาลัยเฉพาะใน Las Vegas, Nevada ที่จะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพได้ขัดขึ้นว่า มีสถานศึกษาประเภทใดบ้างที่ให้นักศึกษาไปเรียนด้วยวีซ่าแบบ M-1 https://www.youtube.com/watch?v=DXUWIt12_b4

https://youtu.be/DXUWIt12_b4

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับวีซ่า คือ

  1. วีซ่า M-1 ไม่สามารถทำงานระหว่างเรียนหนังสือแบบ CPT ของวีซ่า F-1 ได้ http://www.jccc.edu/admissions/international/visa/new-fi-m1/requirements-m1.html
  2. นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนเทอมละ 12 หน่วยกิต
  3. หลังจากเรียนจบจึงจะมีสิทธิ์ทำงานได้ ถ้านักศึกษาลงทะเบียนครบแต่ละเทอม นักศึกษามีสิทธิ์ได้อยู่ต่ออีก 30 วันหลังเรียนจบเพื่อเตรียมเก็บของกลับบ้าน แต่ถ้ามีการขาดเรียนหรือจำนวนเวลาเรียนขาด นักศึกษาจะหมดสิทธิ์อยู่ต่ออีก 30 วัน
  4. วีซ่า M-1 ส่วนใหญ่จะมีอายุนานประมาณ 1 ปี หรือสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ถ้านักศึกษาไม่สามารถเรียนจบตามเวลาที่กำหนดใน I-20 นักศึกษาไม่สามารถขอขยายเวลาเพื่ออยู่ต่อได้
  5. ถ้าผู้ถือวีซ่า M-1 ต้องการดำเนินเรื่องขอต่อวีซ่าเพื่อฝึกงาน จะต้องยื่นเรื่องก่อนเรียนจบ 90 วัน ระยะเวลาที่จะได้รับอนุมัติให้อยู่ฝึกงานเป็นไปตามกฎ คือ ถ้าลงทะเบียนเรียนนาน 4 เดือนจะได้ฝึกงานนาน 1 เดือน ระยะเวลาที่จะได้ฝึกงานนานที่สุดคือ ไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนนาน 24-30 เดือน     https://studyinthestates.dhs.gov/sevis-help-hub/student-records/fm-student-employment/m-1-practical-training

ข้อพึงควรระวัง คือ เมื่อได้รับอนุมัติทำงาน วีซ่า M-1 ของนักศึกษายังมีอายุอยู่เท่ากับระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ทำงาน

M-1 Students

5. ข้อจำกัดของวีซ่า M-1 คือ วีซ่า M-1ไม่สามารถเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่า F-1 ได้ ถ้านักศึกษาต้องการเปลี่ยนวิชาเรียน และระดับการเรียน ต้องนำ I-20 กลับมาขอวีซ่าใหม่ที่ประเทศไทย ( ข้อมูลจากเว็บไซต์ Homeland Security Department : https://studyinthestates.dhs.gov/change-of-status

ผู้สนใจเรื่องวีซ่า M-1 อ่านกฎเพิ่มเติมเรื่อง 8 Code of Federal Regulations (CFR) 214.2(m)(13)-(14) 

ขอจบด้วยวิดีโอเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับสถานภาพของวีซ่า M-1 ได้ดีพอสมควร https://www.youtube.com/watch?v=imQjBwm-a1k

 

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.