สิทธิทางกฎหมาย การอยู่ในอเมริกาชั่วคราว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ผลิตหนังสือเล่มเล็กๆ ที่ระบุสิทธิของผู้ที่เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำงานและ/หรือเรียนต่อไว้ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.travel.state.gov/pdf/Pamphlet-Order.pdf
โดยถ้าไม่ได้รับสิทธิที่พึงควรได้รับ ผู้ถูกกระทำการละมิดใดๆทางกฏหมายสามารถโทรศัพท์ไปยังหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการเอาเปรียบแรงงานได้ที่ 2 หมายเลขดังนี้ คือ
1. โทรศัพท์หมายเลข Hotline ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 1-888-373-7888
2. โทรศัพท์ไปที่หน่วยงานค้ามนุษย์และการเอาเปรียบแรงงาน หมายเลข 1-888-428-7581
ในหนังสือเล่มเล็กหนาประมาณ 12 หน้าระบุว่า ผู้เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกาควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และควรเก็บหนังสือเดินทางและบัตรประจำตัวต่างๆไว้กับตัวตลอดเวลา หากมีการละเมิดสิทธิใดๆ ให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐบาล และขอความยุติธรรมจากศาลได้ เช่น ถ้าถูกละเมิดสิทธิในการทำงานให้ขอความช่วยเหลือจากสหภาพ แรงงานอพยพ และ/หรือสิทธิจากกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่ายอมรับคำแนะนำทางกฏหมายจากนายจ้าง หรือนายหน้าจัดหางาน ให้ขอคำแนะนำจากทนายความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้ที่เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกาที่ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ ผู้ที่เข้าไปในสหรัฐอเมริกาด้วยวีซ่าประเภท A-3, G-5, B-1, H-1B, H-1B1, H-2A,H-2B, J-1 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้กศึกษาที่เข้าไปทำงานในโครงการ Work and Travel น่าจะลองหาอ่านดูเพื่อประโยชน์ของตนเองถ้าถูกใครรังแก จะได้ทราบว่าควรทำอย่างไร
ในหน้า 4 และหน้า 5 ของหนังสือเล่มนี้ มีการกล่าวถึงผู้ที่ถือวีซ่า J-1 ว่าฟอร์ม DS-2019 เป็นเอกสารพื้นฐานที่บอกประเภทของโครงการแลกเปลี่ยน และระยะเวลาของโครงการ ถ้าผู้ถือวีซ่าประเภท J-1 เข้าไปในสหรัฐอเมริกาตามโครงการ Work and Travel ช่วงฤดูร้อน แต่ยังไม่มีการจัดหางานให้ทำล่วงหน้าในช่วงสัปดาห์แรกที่ไปถึง สปอนเซอร์ของผู้เดินทางจะต้องช่วยหางานให้ และจะต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าผู้ถือวีซ่าประเภท J-1 นี้จะได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์เช่นเดียวกับลูกจ้างชาวอเมริกัน สำหรับผู้เข้าไปรับการฝึกอบรม หรือฝึกงาน จะมีชั่วโมงการทำงานอย่างน้อยที่สุด 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
สิทธิด้านอื่นที่ผู้เข้าไปทำงานควรทราบ คือ ตามกฎหมายรัฐบาลกลาง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 (2009) ผู้เข้าไปทำงานจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำชั่วโมงละ US$ 6.55 และ US$ 7.25 ต่อชั่วโมง เช่นเดียวกับลุกจ้างชาวอเมริกัน กรณีสิทธิค่าทำงานล่วงเวลา ถ้าผู้ใช้แรงงานทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จึงจะได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า ยกตัวอย่าง เช่น เคยได้รับค่าจ้างชั่วโมงละ US$ 10 ถ้าทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างจะต้องจ่าค่าชั่วโมงที่เกิน ชั่วโมงละ US$15 หากนายจ้างหักเงินตอนจ่ายเช็ค ให้รับทราบไว้ด้วยว่า การหักเงินในลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถุกต้องตามกฎหมาย
นอกจากนั้นในหนังสือเล่มนี้ ยังมีการกล่วถึงสิทธิการทำงานของคนงานหญิง ที่ทำงานที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพ และความปลอดภัยของที่ทำงานเป็นหลัก สิทธิการเข้าร่วมในยูเนี่ยน สิทธิของการถูกล่วงละเมิด และควรปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย หรือเมื่อตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
ข้อควรทราบ วีซ่าประเภทประเภท T หมายถึงวีซ่าสำหรับผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ และวีซ่าประเภท U คือวีซ่าผู้ตกเป็นเหยื่อการก่ออาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ Tip ที่สำคัญของผู้เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกาควรตระหนักไว้ให้ดีคือ ทำสำเนาเอกสารที่สำคัญไว้ที่ประเทศบ้านเกิดหนึ่งชุด กรณีเอกสารสำคัญหาย จะได้ขอให้ทางบ้านส่งสำเนาเอกสารไปให้ อาทิ หนังสือเดินทาง หน้าวีซ่า สัญญาว่าจ้าง เอกสารแสดงตนของผู้เดินทาง ส่วน I-94 เก็บสำเนาถ่ายเอกสาร I-94 ไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้นายจ้างถือหนังสือเดินทางของเราเป็นอันขาด
Copyright © 2010-2011 GoVisa All rights reserved.