หลักสูตร BTEC แตกต่างจากหลักสูตร A Level และ IB อย่างไร
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของสหราชอาณาจักร ที่จะใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรได้โดยตรง โดยนักเรียนไม่ต้องเรียนหลักสูตรประเภท Foundation Year หรือ International Foundation Year ก่อน มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- หลักสูตร BTEC level 3
- หลักสูตร GCE A Level
- หลักสูตร IB Diploma
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในแต่ละหลักสูตรจะมีการกำหนดอายุของผู้เรียนไว้ด้วย ทั้งนี้เพราะกฏในการสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร นักเรียนจะต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์จะไม่มีมหาวิทยาลัยใดรับเข้าเรียน หลักสูตรทั้งสามที่กล่าวมาแล้วคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร
ความหมายของเนื้อหาหลักสูตร BTEC, GCE A Level และ IB Diploma
หลักสูตร BTEC
BTEC ย่อมาจาก Business and Technology Education Council นักเรียนที่เรียนจบชั้น ม.4 อายุ 16 ปี ถ้ามีความถนัดหรือมีทักษะในการปฎิบัติมากกว่าการอ่านหนังสือเพื่อทำความเข้าใจ หรือต้องท่องหนังสือนานๆ บางเว็บไซต์อาจจะกล่าวว่า BTEC เหมาะกับนักเรียนที่มีความถนัดในการใช้มือหรือการทำมากกว่าการเรียนด้านวิชาการ วิชาที่เรียนใน BTEC ส่วนใหญ่ไม่มีการสอบข้อเขียน แต่จะใช้ส่งผลงานที่เป็น Project ใหญ่ตอนจบ อาจจะเป็นเดี่ยวหรืองานกลุ่มแล้วแต่อาจารย์ผู้สอน เช่น วิชาออกแบบ, วิชาดนตรี ฯลฯ เป็นต้น https://www.youtube.com/watch?v=GWwzpDy8UmU
BTEC เกิดขึ้นเมื่อราวค.ศ.1980 เศษๆ ผู้เลือกเรียน BTECs เมื่อเรียนจบแล้ว เทียบเท่าได้กับผู้ที่เรียนจบหลักสูตร A Level : https://qualifications.pearson.com/en/support/support-topics/understanding-our-qualifications/comparing-btec-to-other-qualifications/btec-qualifications-by-level.htmlBTEC มีจำนวน 2,000 วิชาให้เลือกเรียน ครอบคลุม 16 วิทยาการสาขา และมีตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับ 7 ระดับ 7 หมายถึงหลักสูตรหลังระดับปริญญาตรี (Postgraduate study) : https://www.ucas.com/further-education/post-16-qualifications/qualifications-you-can-take/btec-diplomas วิทยาการสาขาต่างๆ ได้แก่
- Applied Science
- Art and Design
- Business
- Childcare
- Construction
- Engineering
- Media
- Health and Social Care
- Hospitality
- ICT
- Land-based
- Performing Arts
- Public Services
- Sport
- Travel and tourism
BTEC มีความยืดหยุ่นให้กับผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถเลือกลงเรียนวิชาใน BTEC 1 วิชา และเลือกเรียนวิชาใน GCSE หรือ A Level ได้อีก 1 วิชา นักเรียนมีโอกาสทำข้อสอบย่อยได้ตั้งแต่เรียนปีที่ 1 หากผลคะแนนสอบได้ออกมาไม่ดี นักเรียนสามารถเปลี่ยนไปเรียนวิชาใหม่ได้ในปีที่ 2
BTEC แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
- BTEC Firsts คือระดับเริ่มต้นถึงระดับ 2 ซึ่งเป็นมาตราฐานเดียวกันกับระดับ GCSE BTEC Firsts เป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้เรียนได้เข้าไปสู่การเริ่มต้นทำงาน
- BTEC Nationals เริ่มตั้งแต่ระดับ 3 เทียบเท่ากับระดับ A Level ผู้จบระดับนี้สามารถนำคุณวุฒิไปใช้สมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้ หรือจะนำไปใช้ในการสมัครทำงาน
- BTEC Apprenticeships เริ่มตั้งแต่ระดับ 2 ถึงระดับ 5
บางเว็บไซต์อาจจะมีการแบ่ง BTEC อออกเป็น 6 ระดับ คือ https://qualifications.pearson.com/en/support/support-topics/understanding-our-qualifications/our-qualifications-explained/about-btecs.html
- BTEC First
- BTEC National
- BTEC Higher National
- BTEC Foundation Diploma in Art and Design
- BTEC Specialist and Professional Qualifications
- BTEC Tech Awards
การคิดคะแนนสอบ BTEC ผู้สอบจะได้รับทราบคะแนนเป็นตัวอักษร ได้แก่
- P หมายถึง Pass
- M คือ Merit
- D หมายถึง Distinction
- D* คือ Distinction*
- U หมายถึง Unclassified
หลักสูตร GCE A Level
GCE A Level ย่อมาจาก General Certificate of Education (GCE) Advanced Level หลักสูตร A-Level เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี หลังจากผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร GCSE แล้ว A-Level มีวิชาให้เลือกเรียนหลายวิชา ส่วนใหญ่นักเรียนในระดับ A-Level จะลงเรียนเพียง 2-4 วิชา ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเท่านั้น เช่น เลือกเรียน 3 วิชาในปีที่ 1 และอีก 3 วิชาในปีที่ 2 แล้วสอบจบ
ผลการสอบ A-Level มี 5 ระดับ คือ A*, A, B, C, D และ E มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะพิจารณารับนักเรียนที่มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B คุณสมบัติขั้นต่ำของนักเรียน ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากผลการสอบทั้ง 2 ระดับ คือใช้คะแนน GCSE ที่เรียนจบก่อนหน้า A-Level ร่วมกับคะแนนสอบ A-Level มหาวิทยาลัยชั้นนำมีทีเกณฑ์การรับเข้าเรียนยากของอังกฤษเช่น Oxbridge, London School of Economics (LSE) หรือ Imperial College จะใช้ผล A-Level ในการพิจารณาคัดเลือกเท่านั้น (ไม่รับผลสอบจากหลักสูตร Foundation) เช่นเดียวกับปริญญาตรีบางคณะซึ่งไม่สามารถเรียนผ่านระบบ Foundation ได้เช่น แพทยศาสตร์ เภสัชศาตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ เป็นต้น
คลิกอ่านเพิ่มเติมที่ หลักสูตรมัธยมศึกษาแบบอังกฤษ
อนึ่ง บางท่านอ่านแล้วอาจไม่เข้าใจว่า หลักสูตร Foundation คืออะไร หลักสูตร Foundation Year เป็นหลักสูตรที่ออกแบบให้นักเรียนต่างชาติ ที่ไม่ได้เรียนจบในหลักสูตรนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับของสหราชอาณาจักร เช่น A-Level หรือ IB Diploma หรือเป็นนักเรียนต่างชาติที่จบ A-Level มาแต่ได้คะแนนไม่สวย และมีความต้องการสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่เข้าค่อนข้างยาก
หลักสูตร International Baccalaureate Diploma หรือ IB
IB ย่อมาจาก International Baccalaureate หลักสูตร IB Diploma เป็นหลักสูตร 2 ปี สำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 16-18 ปี ผลสอบ IB Diploma จะใช้ในการยื่นสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศต่างได้ หลักสูตร IB เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1968 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลักสูตร IB Diploma เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งในด้านวิชาการและเป็นคนที่รอบรู้ในด้านอื่นๆประกอบด้วย เช่น รู้วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รู้จักการทำงานเป็นทีม เป็นต้น https://www.youtube.com/watch?v=xA6as6cxf4M
หลักสูตร IB ทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
- หลักสูตรระดับต้น ( Primary Years Programme หรือ PYP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 3 ถึง 12 ปี
- หลักสูตรระดับกลาง (Middle Years Programme หรือ MYP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 11 ถึง 16 ปี
- หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรนานาชาติ (IB Diploma Programme หรือ IBDP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 16 ถึง 19 ปี https://www.youtube.com/watch?v=igOl2nG5HzQ
https://youtu.be/igOl2nG5HzQ
คลิกอ่านเพิ่มเติม เนื้อหาหลักสูตร International Baccalaureate Diploma
ผลสอบ IB Diploma อยู่ที่ผู้เรียนจะต้องสอบผ่าน 6 วิชา โดยจะต้องเป็น
- 1 วิชาจากวิชาในกลุ่มที่ 1 ถึงกลุ่มที่ 5
- 1 วิชาจากกลุ่มที่ 2
- 1 วิชาจากกลุ่มที่ 3
- 1 วิชาจากกลุ่มที่ 4
- 1 วิชาจากกลุ่มที่ 5
- 1 วิชาจากกลุ่มที่ 6
- มีอย่างน้อยสามวิชาที่ต้องสอบแบบ Higher Level (HL)ที่ใช้เวลาเรียนนานประมาณ 240 ชั่วโมง
- อีก 3 วิชาเป็น Standard Level (SL) ที่ใช้ระยะเวลาเรียนนนานประมาณ 150 ชั่วโมง
- การประเมินผลมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 7 ในแต่ละวิชา บวกกับคะแนนพิเศษ 3 คะแนนจาก Extended Essay, และ Theory of Knowledge รวมกันเป็น 45 คะแนน
- การที่นักเรียนจะสอบผ่าน IB Diploma Programme ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน
- นักเรียนที่ไม่ผ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว จะไม่ได้รับ IB Diploma แต่จะได้เพียง IB Certificate
การจัดสอบ IB Diploma จะมีขึ้นปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ส่วนครั้งที่สองในเดือนพฤศจิกายน หากสอบไม่ผ่านจะสามารถสอบได้ใหม่อีกไม่เกิน 3 ครั้ง นักเรียนที่มีสิทธิสอบ IB Diploma คือนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบ IB เท่านั้น
เมื่อทราบแล้วว่า แต่ละหลักสูตรมีเนื้อหาและวิธีการคิดคะแนนอย่างไร ในการยื่นสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ไม่ว่าผู้สอบจะใช้ผลคะแนนจาก BTEC, GCE A-LEVEL หรือ IB Diploma เว็บไซต์ UCAS ได้แสดงวิธีการคำนวณคะแนนจากหลักสูตรที่นักเรียนเลือกเรียนว่า เทียบเท่ากับกี่คะแนนในการที่จะเลือกส่งสมัครไปยังมหาวิทยาลัยชื่ออะไร https://www.ucas.com/sites/default/files/New%20Tariff%20toolkit%20HEPs.pptx หรือ https://www.ucas.com/advisers/guides-and-resources/information-new-ucas-tariff-advisers คลิก ดาวน์โหลด UCAS Tariff
ตัวอย่าง เมื่อนักเรียนเข้าไปที่เว็บไซต์ UCAS ได้แล้ว ให้ลองศึกษาดูว่า มหาวิทยาลัยต่างๆต้องการใช้ผลคะแนนสอบของแต่ละหลักสูตรอย่างไร เพื่อจะได้เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักเรียน ที่มีจุดแข็งจุดอ่อนในเรื่องควรจะเลือกเรียนหลักสูตรแบบใดดี ได้เกิดความสบายใจว่า มหาวิทยาลัยต่างๆสามารถที่จะรับคะแนนสอบจากหลากหลายหลักสูตร ทั้ง BTEC, GCE A-Level, IB Diploma และอื่นๆได้ https://www.ucas.com/ucas/subject-guide-list โดยลองคลิกเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเรียนและมหาวิทยาลัยที่ค้องการสมัคร ในที่นี้ได้เลือก ปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย Aberdeen : https://digital.ucas.com/courses/details?coursePrimaryId=3dbf10aa-d365-c5f8-95d2-7157c2f5719e&academicYearId=2019
Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.