วีซ่าทำงานประเภท H-1B เป็นวีซ่าสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยมากมักจะเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสาขาวิชาเฉพาะทาง อาทิ เช่น
1. ชาวต่างประทศที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการ นักหนังสือพิมพ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักบัญชี นักวิเคราะห์การเงิน ทนายความ สถาปนิก แพทย์ ศัลยแพทย์ ทันตแพทย์ นักวิเคระห์ระบบ ที่ปรึกษาทางกฎหมายต่างประเทศ นักจิตวิทยา นักเขียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี่ต่างๆ ครูโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นักวิเคราะห์วิจัยการตลาด รวมทั้งนักศึกษาที่จบปริญญาตรีในสาขาดังกล่าว
2.ชาวต่างประเทศที่เข้าไปทำงานด้านวิจัยและพัฒนาในโครงการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
3. พยาบาล และ ผู้ที่มีความชำนาญเกี่ยวกับการสาธารณสุขศาสตร์
4. นางแบบที่มีชื่อเสียง
5. บริษัทในสหรัฐอเมริกาสามารถขอ H1B Visa ให้แก่ลูกจ้างระดับมืออาชีพ ที่มีความรู้ในระดับผู้เชี่ยวชาญ
H-1B Visa มีอายุของวีซ่านานเท่ากับที่บริษัทนั้นๆตกลงทำสัญญาว่าจ้าง อาจจะเป็น 2-3 ปี แต่จะจำกัดไว้ที่ระยะเวลานานไม่เกิน 6 ปี
ในแต่ละปี รัฐบาลสหรัฐฯจะกำหนดจำนวนผู้มีสิทธฺืยื่นขอวีซ่าประเภท H-1B ไว้อยู่ที่ประมาณ 65,000 คน ในจำนวนนี้อาจจะสงวนสิทธิ์ไว้ให้กับพวกที่ขอวีซ่าประเภท Free Trade visa สำหรับชาวชิลีและสิงค์โปร์อีกประมาณ 6,800 คน นอกจากนี้ USCIS ยังจะให้สิทธิ์ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโท และสูงกว่าระดับปริญญาโทขอวีซ่า H-1B ได้อีกปีละประมาณ 20,000 คน ดังนั้นผู้มีสิทธิ์ขอวีซ่าประเภท H-1B ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่ราวประมาณ 78,200 คน การประกาศจำนวนผู้มีสิทธิ์ยื่นขอวีซ่า H-1B จะประกาศก่อนล่วงหน้า 1 ปี เช่น การขอวีซ่า H-1Bสำหรับปี 2013 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2012 ดังนั้นเดือนเมษายน 2013 จะเป็นการประกาศให้ยื่นคำร้องขอวีซ่า H-1B สำหรับปี 2014
นักศึกษาที่สนใจจะทำงานโดยถือวีซ่า H-1B ควรสมัครงานให้ได้จดหมายตอบรับเข้าทำงาน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม เพื่อจะได้ให้บริษัทที่รับเข้าทำงานขอวีซ่า H-1B ได้ทันในวันที่ 1 เมษายน ถ้าบริษัทยื่นเอกสารขอวีซ่า H-1B หลังวันที่ 1 เมษายน อาจจะหมดโอกาสเริ่มทำงานในวันที่ 1 เดือนตุลาคม ยกตัวอย่าง นักศึกษาสาย STEM หลังจากจบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ภายหลังจากที่ได้ทำงานในช่วงที่ขอ OPT ได้แล้ว หากการทำงานของนักศึกษาท่านนั้นเป็นที่พอใจของนายจ้าง นายจ้างสามารถที่จะช่วยเหลือทำเรื่องขอวีซ่า H1 B ให้ได้ และนับเป็นความจำเป็นที่นายจ้างควรยื่นขอวีซ่า H-1B ก่อนที่ OPT จะหมดอายุ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการต่อเนื่องในการจ้างงาน
ความหมายของคำว่า Cap-Gap คือ ช่วงระยะเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างการจบสิ้นสภาพวีซ่านักเรียน (F-1) และจุดเริ่มต้นของวีซ่า H-1B อนึ่ง กรณีนายจ้างไม่สามารถยื่นเอกสารขอ H-1B มากกว่า 6 เดือนให้นักศึกษา เช่น นายจ้างยื่นคำร้องวันที่ 2 เมษายน แต่การจ้างงานจะเริ่มต้นได้ในวันที่ 1 ตุลาคม และสถานภาพวีซ่านักเรียนสิ้นสุดลงก่อนหน้าวันที่ 1 ตุลาคม และนักศึกษาไม่อยู่ในสถานะที่จะขอขยายระยะเวลา Cap-Gap ได้ นักศึกษาก็จำเป็นต้องเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาและดำเนินการขอวีซ่า H-1B เพื่อกลับเข้าไปทำงานในสหรัฐฯใหม่ การขอวีซ่า H-1B หากนักศึกษาได้งานในมหาวิทยาลัย International Student Office จะเป็นผู้ทำเรื่องยื่นเอกสารขอวีซ่า H-1B ให้นักศึกษา หากนักศึกษาได้งานนอกมหาวิทยาลัยก็จะเป็นนายจ้างหรือบริษัทนั้นๆเป็นผู้ทำเรื่องยื่นเอกสารขออนุมัติวีซ่า H-1B
ขั้นตอนการขอวีซ่า H1B นักศึกษาสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ USCIS
=73566811264a3210VgnVCM100000b92ca60aRCRD
หรือเว็บไซต์ของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา http://www.dol.gov/whd/immigration/h1b.htm
หรือเว็บไซต์ของ International Student Office ของแต่ละสถานศึกษา
ขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไปนี้ นักศึกษาอาจจะไม่จำเป็นต้องทราบโดยละเอียด ที่นำมาเขียนไว้เพื่อนักศึกษาจะได้คำนวณเวลาคร่าวๆได้ว่า แต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาโดยประมาณเท่าไร เมื่อเสร็จทุกขั้นตอนจนกระทั่งได้รับ I-797 Approved Notice นั้น ต้องใช้เวลาโดยประมาณนาน 5-7 เดือน เป็นต้น ขั้นตอนต่างๆมีดังนี้คือ
1. นายจ้างกรอกฟอร์ม Labor Condition Application Form (LCA) ศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.doleta.gov/regions/reg05/Documents/eta-9035.pdf เพื่อส่งไปขออนุมัติที่ U.S.Department of Labor
2. นายจ้างยื่นแบบฟอร์ม I-129 ( http://www.uscis.gov/files/form/i-129.pdf ) ที่กรอกเสร็จแล้วให้ USCIS
3. นายจ้างยื่น LCA ในข้อ1 ที่ได้รับอนุมัติแล้วพร้อม I-129 ในข้อ 2 ให้ U.S.Department of Labor พร้อมค่าบริการประมวลผล 325US$ และค่า Fraud Prevention and Detection อีก 500 US$
4. เมื่อแบบฟอร์ม I-129 ได้รับการอนุมัติแล้ว กรณีลูกจ้างที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถนำเอกสาร I-797 (ได้รับหลังจาก I-129 ได้รับอนุมัติ) ไปยื่นขอวีซ่า H1B ได้ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศที่ตนถือหนังสือเดินทางได้
5. กรณีที่ต้องการให้การดำเนินการเร็วขึ้น นายจ้างอาจใช้บริการที่เรียกว่า Premium Processing Service ซึ่งนายจ้างจะต้องยื่นแบบฟอร์ม I-907 ( http://www.uscis.gov/files/form/i-907.pdf ) พร้อมชำระเงิน 1,125 US$
ผู้สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เพื่อให้เกิดความเข้าใจแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น นักศึกษานอกจากจะศึกษารายละเอียดการขอวีซ่า H-1B จาก International Student Office ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ หากเนื้อหาไม่ชัดเจนพอ ยังมีอีกหลายเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดมากพอที่นักศึกษาจะทำความเข้าใจได้ เช่น เว็บไซต์ของ University of North Carolina/Chapel Hill (hr.unc.edu/files/2012/11/0728_H-1Bdeptpacket.doc) หรือ John Hopkins University
(http://oisss.jhu.edu/Presentations/Employment%20Visas.pdf) หรือเว็บไซต์ International Student Office ของ Ohio State University ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ค่อนข้างเป็นขั้นตอน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
=73566811264a3210VgnVCM100000b92ca60aRCRD เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอวีซ่า H1B ต่อหน่วยงาน DOL และ USCIS มีดังนี้คือ
1. แบบฟอร์ม I-907 เพื่อใช้บริการเร่งด่วนประเภท Premium Processing Fee
2. แบบฟอร์ม G-28 (กรณียื่นโดยทนายหรือตัวแทน)ซึ่งไม่ค่อยพบกรณีนี้มากนัก
3. แบบฟอร์ม I-129
4. ฟอร์ม I-94
5. Sevis Form I-20
6. สำเนาแบบฟอร์ม LCA ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
7. จดหมายรับรองการทำงานจากบริษัท
เมื่อได้รับอนุมัติจาก DOL และ USCIS แล้ว หากนักศึกษามีโอกาสกลับประเทศไทย ให้ยื่นเอกสารขอวีซ่า H-1B ให้เรียบร้อยที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร โดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบด้วย
1. DS-160 Confirmation Number
2. ใบนัดวันสัมภาษณ์
3. Original I-797 Approve Notice
4. สำเนาแบบฟอร์ม I-129
5. จดหมายรับรองการทำงานของบริษัท
6. หนังสือเดินทาง
7. ค่าธรรมเนียมวีซ่าาทำงานจำนวน 190 US$ ชำระที่ไปรษณีย์ หรือ 5,890 บาท ( http://www.thailandpost.com/upload/service/PDF/_20130121_083612.pdf)
8. เอกสารทางการเงินของผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องแสดงให้กงสุลดู แต่ถ้าจะนำไปเป็นเอกสารเสริมเพื่อประกอบให้กงสุลเห็นว่า นักศึกษามีความผูกพันกับครอบครัวและเศรษฐกิจที่จะกลับมาอยู่ประเทศไทยก็ย่อมทำได้
ผู้สนใจอาจจะศึกษาเพิ่มเติมได้จากบางเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ของ U.of Wisconsin (http://www.ohr.wisc.edu/ifss/imminfo/H-1B/H-1B.pdf)
Copyright © 2010-2013 GoVisa All rights reserved.