วีซ่า F-2 และ J-2 คืออะไร วีซ่าทั้งสองแบบนี้มีใครที่มีสิทธิ์ขอได้บ้าง ทำไมชื่อประเภทวีซ่าจึงคล้ายกับวีซ่า F-1 หรือ J-1 ทั้งวีซ่า F-2 และ J-2 จะมีโอกาสได้เรียนหนังสือและทำงานไหม บทความนี้จะอธิบายเรื่อง
- ความหมายของวีซ่า F-2 และ J-2
- คำแนะนำในการวางแผนทางการเงินเมื่อต้องการนำครอบครัวไปอยู่ด้วยระหว่างเรียนหนังสือ
- สิทธิทางกฎหมายของผู้ถือวีซ่า F-2 และ J-2 ว่าด้วยเรื่องเรียนหนังสือ การทำงาน และการเดินทางท่องเที่ยว
- เวลาที่เหมาะสมในการยื่นเรื่องขอวีซ่าและเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอวีซ่า F-2 และ J-2
- ความหมายของวีซ่า F-2 และ J-2
วีซ่า F-2 และ J-2 คืออะไร ขอทบทวนความหมายของวีซ่า F-1 และ วีซ่า J-1 ก่อน วีซ่าทั้งสองชนิดนี้คือ วีซ่าที่ได้รับอนุญาตให้ไปเรียนหนังสือหรือทำวิจัย วีซ่า F-1 เป็นวีซ่านักเรียนที่มีผู้อุปการะหรือสปอนเซอร์เป็นพ่อแม่ของผู้ไปเรียนเอง ในขณะที่วีซ่า J-1 เป็นวีซ่านักเรียนเหมือนกันแต่ผู้อุปการะหรือสปอนเซอร์เป็นหน่วยงานที่ให้ทุนการศึกษา เช่น เป็นรัฐบาล เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ วีซ่า F-2 และวีซ่า J-2 เกี่ยวข้องกับวีซ่า F-1 และวีซ่า J-1 อย่างไรบ้าง คำตอบคือ
- วีซ่า F-2 คือ วีซ่าผู้ติดตามของวีซ่าหลัก F-1 ผู้มีสิทธิ์ถือวีซ่าผู้ติดตาม F-2 ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในฐานะเป็น สามี หรือภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ ลูก ของผู้ถือวีซ่า F-1 ที่มีอายุยังไม่ถึง 21ปี
- วีีซ่า J-2 คือ วีซ่าผู้ติดตามของวีซ่าหลัก J-1 ซึ่งเป็นวีซ่าประเภทนักเรียนที่ได้รับทุนรัฐบาลหรือทุนจากหน่วยงานหรือทุนจากองค์กร http://isss.gsu.edu/current-students/immigration-advising/bringing-family-to-the-united-states/
- พ่อและแม่ของผู้ถือวีซ่า F-1 และวีซ่า J-1 ไม่สามารถขอวีซ่าผู้ติดตามประเภท F-2 และ J-2 นี้ได้
- ผู้ถือวีซ่า J-1 ในโครงการต่อไปนี้ไม่สามารถนำผู้ติดตาม J-2 เข้าไปอยู่ด้วยได้ ได้แก่ ผู้ถือวีซ่า J-1 ในโครงการ Au pair, Camp Counselor, นักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยนมัธยมศึกษา, Summer Work and Travel https://j1visa.state.gov/basics/j2-visa/
- เมื่อเดือนสิงหาคม 2013 (พ.ศ. 2556) Federal Law ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มเติมความหมายของ Dependent ในเรื่องเกี่ยวกับคู่สมรส ไว้ว่า รัฐยอมรับการมี คู่สมรสเพศเดียวกัน ดังนั้นความหมายของคำว่า คู่สมรส ที่เป็นสามี หรือภรรยา จึงหมายรวมถึงคู่สมรสเพศเดียวกันด้วย และคำว่า คู่สมรส คือคนที่จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่คู่รัก หรือคู่หมั้น หรืออยู่ด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส https://international.uiowa.edu/isss/current/family/inviting-spouse-andor-children-us-students
2. คำแนะนำในการวางแผนทางการเงินเมื่อต้องการนำครอบครัวไปอยู่ด้วยระหว่างเรียนหนังสือ
เมื่อทราบความหมายของวีซ่าทั้งสองชนิดนี้แล้ว นักศึกษาต้องวางแผนงบประมาณทางการเงินที่จะนำครอบครัวไปอยู่ด้วย นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว คู่สมรสและลูกยังต้องเผชิญกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมใหม่ หลายมหาวิทยาลัยจึงมีคำแนะนำในเรื่องการวางแผนการเงินในครอบครัวของนักศึกษาว่า ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายด้านใดบ้าง
- ค่าเช่าบ้านแบบครอบครัว นักศึกษาไม่สามารถพักร่วมกับนักศึกษาที่เป็นโสดได้ ต้องอยู่หอพักที่จัดไว้สำหรับคนมีครอบครัว ในบางครั้งเสียงเด็กอาจจะไปรบกวนสมาธินักศึกษาท่านอื่นได้ หรือเด็กอาจจะต้องการพิ้นที่ในการวิ่งเล่น และอื่นๆ ในกรณีที่คู่สมรสยังไม่มีลูกก็อาจจะได้พักหอ Upper class ของนักศึกษาปี 3-4 ขึ้นไป หรือหอนักศึกษาปริญญาโท
- ค่าประกันสุขภาพและค่ารักษาพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะผู้ถือวีซ่า J-2 บังคับว่า ต้องทำประกันสุขภาพภายใน 30 วันที่เดินทางถึงสหรัฐอเมริกา หากเลย 30 วันไปแล้วจะทำประกันสุขภาพได้ทุกวันที่เปิดเทอมครั้งใหม่
- ค่าใช้จ่ายเรื่องรถ ค่าน้ำมันรถ และอื่นๆเกี่ยวกับรถ
- ค่าดูแลเด็ก ค่า baby-sit และค่าสันทนาการต่างๆที่จะจัดให้ลูก ตามกฎหมายสหรัฐฯ เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ หรือ 11 ขวบ(ขึ้นอยู่กฎหมายแต่ละรัฐ) ไม่สามารถถูกทิ้งให้อยู่ที่บ้านตามลำพังได้ ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย ถ้าปล่อยเด็กไว้ตามลำพัง ผู้ปกครองจะเข้าข่ายมีความผิดทางอาญา ถ้าไม่มีคนดูแลเด็กต้องนำไปฝากไว้ที่ศูนย์ Daycare หรือจ้าง Baby-sitter มาดูแล ถ้าเด็กอายุครบ 5 ขวบในวันที่ 1 ตุลาคม ต้องส่งเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน
- ค่าอาหาร
- ค่าเสื้อผ้าในฤดูหนาว https://www.mines.edu/isss/current-students/f-1-students/inviting-spouse-andor-children-u-s-students/
สรุปว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีข้อห้ามในเรื่องที่นักศึกษาจะนำครอบครัวไปอยู่ด้วย มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขค่าใช้จ่ายของคู่สมรสและลูกแต่ละคนต่อหนึ่งภาคการศึกษา บางมหาวิทยาลัยให้ข้อมูลที่เป็นเสียงสะท้อนจากประสบการณ์ตรงของนักศึกษาอีกด้วย เพื่อนักศึกษาจะได้ใช้เป็นข้อมูลวางแผน เช่น University of Iowa ได้แสดงงบประมาณค่าใช้จ่ายของการนำครอบครัวไปอยู่ด้วยและข้อคิดเห็นจากนักศึกษาท่านหนึ่งว่า เหนื่อย ทำให้นักศึกษาต้องตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ยากลำบาก เป็นอุปสรรคต่อการเรียน ฯลฯ https://international.uiowa.edu/isss/current/family/inviting-spouse-andor- children-us-students
รัฐ Iowa เป็นตัวอย่างของรัฐที่ค่าครองชีพไม่สูงมากนัก นักศึกษาควรหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่จะไปเรียน มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่คำนวณค่าใช้จ่ายลูกไว้ที่ประมาณ 3,000 เหรีญ เช่น University of Texas at Dallas ประเมินค่าใช้จ่ายของลูกไว้คนละ 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเทอม http://www.utdallas.edu/isso/i20-expenses/ แต่ถ้าอยู่ในเมืองใหญ่ ค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น เว็บไซต์ New York University กำหนดค่าดูแลลูก 1 คนไว้ที่ 5,400 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเทอม และคู่สมรสอีก 10,800 ดอลล่าร์สหรัฐต่อหนึ่งเทอม https://www.nyu.edu/students/student-information-and-resources/student-visa-and-immigration/newly-admitted/before-you-arrive/bring-family.html
เมื่อค่าใช้จ่ายที่มหาวิทยาลัยแสดงให้เห็นสูงเช่นนี้ คู่สมรสจะช่วยทำงานหาเงินเพิ่มรายได้ได้หรือไม่ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วีซ่า F และ วีซ่า J คือ วีซ่าที่ได้รับอนุญาตให้ไปเรียนหนังสือหรือทำวิจัย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานนอกบริเวณรั้วมหาวิทยาลัย ( Off-campus working ) ยกเว้นแต่งานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร Currriculum หรือ Curricular Practical Training (CPT) หรืออยู่ในเงื่อนไขการทำงานหลังเรียนจบ Optional Practical Training (OPT) วีซ่า F-2 และ J-2 เป็นวีซ่าผู้ติดตาม F-1 และ J-1 ดังนั้นวีซ่าผู้ติดตาม F-2 และ J-2 ก็ย่อมถูกจำกัดเงื่อนไขตามคนที่ถือวีซ่าหลัก F-1 และ J-1 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงทำงานไม่ได้ หรือทำได้ก็อยู่ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ นักศึกษาควรอ่านคำแนะนำที่ International Student Office ของสถานศึกษาที่ตนเองจะไปศึกษาต่อว่าด้วยเรื่อง การรักษาสถานภาพวีซ่าทั้งของตนเอง คู่สมรส และลูก พยายามอย่าทำผิดกฎหรือระเบียบ เพราะจะมีผลกระทบต่อการเดินทางเข้าไปในสหรัฐฯครั้งต่อไปในอนาคต หลังจากเรียนจบและกลับมาทำงานที่ประเทศไทยแล้ว https://isso.columbia.edu/content/maintaining-status-dependents
3. สิทธิทางกฎหมายของผู้ที่ถือวีซ่าประเภท F-2 และ J-2 ว่าด้วย เรื่องเรียนหนังสือ การทำงานและการเดินทางท่องเที่ยว
กรณีเรียนหนังสือ
- ผู้ถือวีซ่า F-2 ที่เป็นคู่สมรส ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2015 F-2 คู่สมรสได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนกับสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองจาก Student and Exchange Visitor Program (SEVP)ได้ โดยรูปแบบการศึกษาจะเป็นลักษณะการเรียนเพื่อพักผ่อน ไม่ได้เรียนจริงจัง เป็นหลักสูตรสั้นๆ เช่น สอนทำอาหาร สอนหัดเล่นเทนนิส และไม่ใช่หลักสูตรวิชาชีพจริงๆ อย่างไรก็ตาม จะมีมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งที่อนุญาตให้ F-2 ลงทะเบียนเรียนหลักสูตร Part-time ระดับปริญญาได้ เช่น เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย William and Mary ในรัฐ Virginia : https://www.wm.edu/offices/revescenter/issp/visasandimmigration/f1student/f2/index.php ดังนั้นกฎหมายในแต่ละรัฐจึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย ควรหาข้อมูลในเมืองและรัฐที่ได้รับจดหมายตอบรับให้ไปเรียนต่อด้วย
อนึ่ง ในกรณีผู้ถือวีซ่า F-2 หากต้องการเรียน Part-time ระดับปริญญา บางมหาวิทยาลัย เช่น Colorado School of Mines ได้อธิบายผู้ได้รับการตอบรับเข้าเรียนต่อที่ Colorado School of Mines ว่า ผู้ถือวีซ่า F-2 สามารถลงทะเบียนเรียนระดับปริญญาตรีได้ไม่เกิน 12 หน่วยกิตต่อเทอม และปริญญาโทได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิตต่อเทอม หากไม่ปฎิบัติตามก็จะพ้นสภาพวีซ่า F-2 https://www.mines.edu/isss/current-students/f-1-students/inviting-spouse-andor-children-u-s-students/
2. ผู้ถือวีซ่า J-2 สามารถลงทะเบียนเรียนแบบเต็มเวลา ( Full-time) หรือแบบไม่เต็มเวลา (Part-time) อย่างใดอย่างหนึ่งได้ หากผู้ถือวีซ่า J-2 ได้รับการตอบรับเข้าเรียนเต็มเวลา หน่วยงานที่ดูแลเรื่อง Visa and Immigration Service ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ จะแนะนำให้ผู้ถือวีซ่า J-2 ทำเรื่องเปลี่ยนสถานภาพของการถือวีซ่าจาก J-2 ไปเป็นวีซ่า F-1 แทน
3. ผู้ถือถือวีซ่า F-2 หรือ J-2 ที่เป็นลูกจะต้องเป็นผู้มีอายุไม่เกิน 21 ปี จะได้รับสิทธิ์เข้าเรียนในโรงเรียนประถมหรือมัธยมศึกษาในสหรัฐฯได้ฟรี หรือต้องชำระเงินค่าเรียนหรือไม่นั้น ผู้ถือวีซ่าหลัก F-1 และ J-1 สามารถสอบถามไปที่ International Student Office ของมหาวิทยาลัยที่ผู้ถือวีซ่าหลัก F-1 หรือผู้ถือวีซ่า J-1 เรียนอยู่ เพื่อขอคำแนะนำก่อนหน้าที่ F-2 หรือ J-2 ที่เป็นลูกจะเดินทางเข้าไปในสหรัฐฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจจะนำลูกเดินทางไปอยู่ด้วยหรือไม่ เหตุผล คือ
- บางเมือง เช่น Boston ผู้ถือวีซ่า F-1 ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนให้ลูกด้วย แม้จะเลือกโรงเรียนที่เป็น Public School แล้วก็ตาม https://www.bu.edu/isso/immigration-status/immigration-overview/dependent-classifications/
- ในบางรัฐมีเงื่อนไขที่นักเรียนต่างชาติสามารถเข้าเรียนใน Public School ได้เพียงปีเดียว ปีต่อไปต้องเปลี่ยนไปเรียน Private School แทน เว็บไซต์ของ Homeland Security Department ได้พูดถึงการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมปลายว่า เป็นเรื่องกฎหมายของแต่ละรัฐด้วย ” Laws regarding compulsory education vary by State…..” ซึ่งจะเห็นได้จากคำแนะนำจากบางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เรื่องการเปลี่ยนสถานภาพวีซ่าให้ผู้เรียนจาก F-2 เป็น F-1 แทน
- หรือบางรัฐอนุญาตให้ลูก F-2 เข้าเรียนในโรงเรียนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรับรองจาก SEVP ได้ https://studyinthestates.dhs.gov/kindergarten-to-grade-12-students
- หรือ F-2 ที่เป็นลูกต้องการเรียนระดับวิทยาลัย เช่น ใน Community College ก็สามารถเข้าเรียนในวิทยาลัยได้
- ถ้าเป็นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และผู้ถือวีซ่า F-2 มีอายุเกิน 21 ปีแล้ว จะต้อง เปลียนวีซ่าจาก F-2 เป็นวีซ่า F-1 แทน https://www.ice.gov/doclib/sevis/pdf/Nonimmigrant%20Class%20Who%20Can%20Study.pdf
กรณีการทำงาน
- เนื่องจาก ผู้ถือวีซ่า F-2 เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การอุปการะของวีซ่าหลัก F-1 จึงไม่มีสิทธิ์ในการทำงานประเภทใดๆ รวมทั้งไม่มีมีสิทธิ์ในการที่จะได้รับ Practical Training ตามผู้ถือวีซ่า F-1 ที่ได้รับ OPT แต่ผู้ถือวีซ่า F-2 สามารถทำงานประเภทอาสาสมัครที่ไม่มีเงินเดือนได้
- ผู้ถือวีซ่า F-2 จะไม่ได้รับ Social Security Number เพราะทำงานที่ได้รับเงินเดือนไม่ได้ https://iss.washington.edu/employment/ssn/
- ในบางกรณีไม่ใช่ทุกกรณีที่ว่า ผู้ถือวีซ่า J-2 จะทำงานได้ ถ้าอยู่ในกรณีทำงานได้ ผู้ถือวีซ่า J-2 จะต้องได้รับ Work Permit จาก U.S. Citizenship and Immigration Services (USCIS) ดังนั้น ผู้ถือวีซ่า J-2 ควรปรึกษา International Student Officers ประจำมหาวิทยาลัยที่ผู้ถือ J-1 เรียนหรือทำวิจัยอยู่
- กรณีผู้ถือวีซ่า J-2 หากมีรายได้จากการทำงาน ก็ต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาลอเมริกันด้วย https://global.rutgers.edu/maintaining-f-2j-2-visa-status
กรณีการไปท่องเที่ยวประเทศต่างๆ
- ในเรื่องการเดินทางไปเที่ยวประเทศอื่น การได้รับวีซ่า F1, F2, หรือ J-1, J-2 หากต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศอื่นก็ต้องขอวีซ่า เพื่อเข้าไปเที่ยวประเทศนั้นๆ ตามกฎที่ประเทศนั้นๆมีกับคนไทย เช่น ประเทศแคนาดา นักศึกษาไทยแม้จะมีวีซ่านักเรียนของสหรัฐฯแล้ว ก็ยังคงต้องขอวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปเที่ยวในแคนาดา ตามกฎหมายที่ประเทศแคนาดาตราไว้กับผู้ถือหนังสือเดินทางไทย ในขณะที่การเดินทางไปเที่ยวเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโกอนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย ที่มีวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่านักเรียนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว ไม่ต้องขอวีซ่าเข้าเม็กซิโก ถ้าการเดินทางเข้าไปเที่ยวอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ดังนั้น F-1, F-2, J-1, J-2 จึงไม่ต้องขอวีซ่าเข้าไปเที่ยวเม็กซิโก http://www.thailatinamerica.net/mexico/index.php/comunidad-thai/tourism-mex-menu/283-thai-visa
2. หากผู้ถือวีซ่า F-1, F-2, J-1, J-2 เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในแคนาดา เม็กซิโก หรือประเทศในแถบหมู่เกาะแคริเบียน โดยไม่ได้ตรวจสอบว่า วีซ่า F-1, F-2, J-1, J-2 ของตนใกล้หมดอายุแล้ว และการท่องเที่ยวนั้นมีระยะเวลานานไม่เกิน 30 วัน หากวีซ่าหมดอายุ ผู้ถือวีซ่า F-1, F-2, J-1, J-2 ยังมีโอกาสที่จะเดินทางกลับเช้าไปในสหรัฐฯได้อีกครั้ง ด้วยระบบที่เรียกว่า Automatic Revalidation : https://help.cbp.gov/app/answers/detail/a_id/1218/~/automatic-revalidation-for-certain-temporary-visitors ถ้าไม่มั่นใจในการเดินทางกลับเข้ามาอีกครั้ง ให้ติดต่อกับ Office of Visa and Immigration ของมหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ http://www.dartmouth.edu/~ovis/updates/f1/dependents.html
3.โดยทั่วไป ผู้ถือวีซ่า F-1, J-1 กลับมาเยี่ยมบ้าน ผู้ถือวีซ่า F-2, J-2 จะต้องกลับมาเยี่ยมบ้านด้วย หรือถ้าผู้ถือวีซ่า J-1 เสร็จภาระกิจในการเรียนหรือการทำวิจัย ผู้ถือวีซ่า J-2 ต้องกลับประเทศของตนเองด้วย เพราะผู้ถือวีซ่า F-2, J-2 เป็นผู้อยู่ภายใต้การอุปการะของ F-1, J-1 จึงอยู่ในสหรัฐฯเดี่ยวๆเองไม่ได้ แต่ในบางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจะให้ข้อมูลว่า ถ้าผู้ถิอวีซ่าหลักคือ F-1, J-1 กลับมาเยี่ยมบ้านช่วงสั้นๆและมีกำหนดการกลับไปเรียนต่อที่เดิม โดยใช้ Sevis I-901 หมายเลขเดิม ผู้ถือวีซ่า F-2, J-2 สามารถอยู่ในสหรัฐฯได้โดยไม่มีผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 อยู่ด้วยได้ https://ois.usc.edu/students/f2dependents/current-f2-dependents/
4. หากผูุ้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 จบภาระกิจในการเรียนหรือการทำวิจัยกลับประเทศไทย วีซ่า F-2 หรือ J-2 ก็พลอยหมดอายุไปด้วยต้องเดินทางกลับประเทศของตนเอง
สรุป ข้อได้เปรียบเสียเปรียบของผูุ้ถือวีซ่า F-2 และ J-2
- โดยปกติ ผู้ถือวีซ่า F-2 ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนหนังสือแบบเป็นเรื่องเป็นราวได้ ในขณะที่ผู้ถือวีซ่า J-2 สามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกระดับการศึกษา และสามารถลงทะเบียนเรียนแบบ Full-time หรือ Part time ก็ได้ จุดเหมือนกันในเรื่องการเรียนของวีซ่า F-2 และ J-2 คือ ถ้าต้องการลงทะเบียนเรียนแบบเต็มเวลา ( Full-time) สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนสถานะภาพวีซ่าจากการเป็นผู้ถือวีซ่า F-2 และ J-2 ให้เป็นผู้ถือวีซ่า F-1 และ J-1 แทน
- ผู้ถือวีซ่า F-2 ไม่สามารถทำงานได้และไม่สามารถมี Social Security Number ได้ ในขณะที่ผู้ถือวีซ่า J-2 สามารถทำงานได้ และต้องไม่ใช่ทำงานเพื่อหารายได้สนับสนุนการเรียนของผู้ถือวีซ่า J-1 เมื่อมีรายได้ก็ต้องเสียภาษีให้รัฐตามปกติของคนที่มีรายได้
- ทั้งผู้ถือวีซ่า F-2 และ J-2 ไม่สามารถเดินทางเข้าไปในสหรัฐก่อนหน้าผู้ถือวีซ่า F-1 และ J-1 จะเดินทางเข้าไปในสหรัฐฯ
4. เวลาที่เหมาะสมในการยื่นเรื่องขอวีซ่าและเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอวีซ่า F-2 และ J-2
เมื่อ F-1 หรือ J-1 ตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่า จะนำคู่สมรสและลูกไปอยู่ ก็จะมาถึงเรื่องเวลาที่เหมาะสมในการยื่นเรื่องขอวีซ่าและเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอวีซ่า นักศึกษาที่ต้องการนำคู่สมรสและลูกติดตามไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาด้วย สามารถยื่นเรื่องขอได้ 2 ช่วงเวลา ดังนี้คือ
- ขอพร้อมกันกับผู้ร้องขอวีซ่า F1 และ วีซ่า J-1 โดย F-1 หรือ J-1 แจ้งไปที่มหาวิทยาลัยว่า จะนำคู่สมรสและหรือลูกไปอยู่ด้วยระหว่างเรียน เพื่อให้มหาวิทยาลัยออกจดหมายตอบรับให้กับคู่สมรสด้วยที่เรียกว่า Dependent Form I-20 หรือ Dependent Form DS-2019 โดยคู่สมรสและลูกไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียม Sevis I=901 แต่คู่สมรสและลูกจะได้หมายเลข Sevis I-901 เรียงต่อกันกับผู้ถือวีซ่าหลัก F-1 หรือ J-1
เอกสารที่ใช้ยื่นขอวีซ่า จะใช้แบบเดียวกับผู้ขอหลัก F-1 หรือ J-1 โดยมีเอกสารเพิ่มเติม คือ
- DS-160 Confirmation Number ของผู้ขอวีซ่า F-2
- DS-160 Confirmation Number ของผู้ขอวีซ่า J-2
- Dependent Form I-20 สำหรับผู้ยื่นขอวีซ่า F-2
- Dependent Form DS-2019 สำหรับผู้ยื่นขอวีซ่า J-2
- จดหมายรับรองฐานะการเงินที่แสดงว่า ผู้ขอหลัก F-1 หรือ J-1 มีงบประมาณมากพอที่จะอุปการะคู่สมรส และลูกได้
- ทะเบียนสมรสพร้อมเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษ
- สูติบัตรของลูกพร้อมเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษ
2. ขอหลังจากที่ผู้ถือวีซ่า F-1 หรือผู้ถือวีซ่า J-1 เดินทางเข้าไปเรียนหรือเข้าไปทำวิจัยในสหรัฐอเมริกาแล้วประมาณ 1-2 เทอม ผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 ต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ Designated School Official (DSO) ของมหาวิทยาลัย หรือไปขอคำแนะนำที่ International Student Office เพื่อขอรับทราบขั้นตอนในการยื่นเอกสารขอวีซ่า F-2 หรือ J-2 ที่สำคัญ ผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 ต้องแสดงหลักฐานการเงินว่า เป็นผู้มีความสามารถจะดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของคู่สมรสและลูกได้ เช่น เว็บไซต์ของ Dartmouth College ต้องการให้ผู้ถือวีซ่า F-1 ที่เข้าเรียนในหลักสูตรที่มีระยะเวลาไม่เกิน 9 เดือน ต้องแสดงหลักฐานการเงินว่า สามารถดูแลคู่สมรสได้ด้วยเงิน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ และลูกอีกคนละ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ : http://www.dartmouth.edu/~ovis/updates/f1/dependents.html
เอกสารที่ต้องใช้ยื่นประกอบการขอวีซ่า F-2 หรือ J-2 ในกรณีที่ 2 นี้ได้แก่
- หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่
- DS-160 Confirmation Numberของผู้ยื่นขอวีซ่า F-2
- DS-160 Confirmation Number ของผู้ยื่นขอวีซ่า J-2
- Dependent Form I-20 สำหรับผู้ยื่นขอวีซ่า F-2
- Dependent Form DS-2019 สำหรับผู้ยื่นขอวีซ่า J-2
- จดหมายจาก Office of International Student and scholars ยืนยันสถานะวีซ่าของผู้ถือวีซ่าหลัก F-1 หรือ J-1
- Transcript ของผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1
- จดหมาย Recommendation จากอาจารย์ปัจจุบันของผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 จำนวน 1ฉบับ
- สำเนาเอกสารต่อไปนี้ของผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 ได้แก่ สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง, สำเนา I-20, สำเนา DS-2019, สำเนา I-94 และสำเนาหน้าวีซ่าของผูุ้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1
- จดหมายรับรองฐานะการเงินจากธนาคารของ sponsor คือ ผูุ้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 รวมทั้งถ้าผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 มีรายได้จากเงินเดือน Research Assistantship หรือTeaching Assistantship ให้แสดงจดหมายรับรองจากภาควิชาว่า ได้รับเงินเดือนเดือนละเท่าไรด้วย
- ทะเบียนสมรสพร้อมเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษ
- สูติบัตรของลูกพร้อมเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษ
- รูปถ่าย
- เอกสารที่แสดงว่าผู้ถือวีซ่า F-1 หรือ J-1 จะกลับเมื่อเรียนจบ เช่น ของวีซ่า J-1 อาจจะเป็นจดหมายรับรองการได้รับทุนจากหน่วยงาน ส่วนของวีซ่า F-1 อาจจะเป็นจดหมายชี้แจงจากผู้ถือวีซ่า F-1 ว่าแผนการทางการศึกษาของผู้ถือวีซ่า F-1 คืออะไรหลังเรียนจบ
หลังจากผู้ยื่นขอวีซ่า F-2 หรือ J-2 ได้รับวีซ่า และเดินทางเข้าไปในสหรัฐฯแล้ว ผู้ถือวีซ่าหลัก F-1 หรือ J-1 ต้องไปรายงานให้ Office of International Students and Scholars รับทราบถึงการมาถึงของวีซ่า F-2 หรือ J-2 พร้อมสำเนาหน้าหนังสือเดินทาง, หน้าวีซ่า และ สำเนา I-94 ด้วย
การที่ F-2 หรือ J-2 จะถูกปฏิเสธไม่ได้รับวีซ่า มักเกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆคือ
- ขาดหลักฐานการเงินที่จะทำให้กงสุลเชื่อมั่นว่า มีเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้
- ไม่สามารถทำให้กงสุลมั่นใจได้ว่า สมาชิกในครอบครัวที่เมื่อได้รับโอกาสให้เข้าไปอยูที่สหรัฐอเมริกาแล้ว จะเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อภาระกิจของผู้ถือวีซ่า F-1 หรือผู้ถือวีซ่า J-1 สิ้นสุดลง
Copyright © 2 010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.