หลักสูตรอื่นๆใน Community College

หลักสูตรทั่วไปที่ทุก Community College จะมีเปิดสอนคือ หลักสูตร College Transfer และหลักสูตร Career หรือ Professional Training นอกจากนี้ Community College ยังมีหลักสูตรเสริมพิเศษที่อาจจะไม่ได้มีเหมือนกันทุก Community College ได้แก่

  • หลักสูตร Adult Basic Education และหลักสูตร General Education Development (GED) หลักสูตรแรกเหมาะสำหรับผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีในระดับหนึ่งและต้องการเรียนปรับพื้นฐานวิชาการอ่าน การเขียน และคำนวณ ก่อนไปเข้าชั้นเรียนในวิทยาลัยชุมชน หรือ นำไปใช้ในการสมัครงาน ส่วนหลักสูตรหลังมีไว้ช่วยนักศึกษาที่ต้องการสอบเทียบ 5 วิชาคือ วิทยาศาสตร์ สังคม วรรณคดี คณิตศาสตร์ และการเขียน เพื่อนำไปใช้ในการสอบวัดผลว่า ได้ศึกษาจบเทียบเท่าหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว นักเรียนไทยที่ไปโครงการแลกเปลี่ยน 1 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ไม่ต้องการกลับมาเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยมีสองทางเลือก คือ ติดต่อโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นโรงเรียนของเอกชนเพื่อเข้าเรียนต่อในชั้นเรียนถัดไป หรือทางเลือกที่สองคือ สมัครเข้าเรียนหลักสูตร GED ในวิทยาลัยชุมชนบางแห่งที่มีเปิดสอน ภายหลังจากที่ได้รับวุฒิ GED  ผู้เรียนสามารถส่งสมัครเข้าเรียนต่ออนุปริญญาใน Community College แห่งนั้นเลยได้ บาง Community College เรียกหลักสูตรนี้ว่า Pre-College Community College บางแห่งจะเปิดสอนภาษาอังกฤษ (ESL) สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษไปแสดง หรือที่มีผลสอบภาษาอังกฤษแล้ว แต่คะแนนยังไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ Community College แห่งนั้นจะรับเข้าเรียนได้
  • หลักสูตร External Diploma Program  เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 21 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่เคยสอบเทียบ GED และไม่มีวุฒิที่แสดงว่าศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรนี้ไม่มีสอนตามวิทยาลัย นักศึกษาเรียนอยู่ที่บ้าน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ EDP ไปเยี่ยมเยียนที่บ้านเพื่อดูความก้าวหน้าและประเมินผล ระยะเวลาของหลักสูตรคือ 6 เดือน (ไม่เหมาะกับนักศึกษาต่างชาติ)
  • หลักสูตร College in High School ทั้ง Community College ,Four year College และ University ในสหรัฐอเมริกาจะมีระบบที่เอื้อให้นักเรียนมัธยมปลายที่มีผลการเรียนในระดับปานกลางค่อนข้างดีขึ้นไปได้มีโอกาสลงทะเบียนเรียนบางหลักสูตรในระดับชั้นปีที่หนึ่งของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ สถานศึกษาดังกล่าวจะทำความตกลงไว้กับบาง High School ไม่ใช่นักเรียนมัธยมศึกษาที่โรงเรียนใดก็ได้ จะสามารถสมัครเข้าเรียนในโครงการดังกล่าวได้ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายดังกล่าวมักจะเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันกับวิทยาลัยนั้นๆตั้งอยู่ เช่น North Seattle Community College ทำความตกลงร่วมกันกับ Blanchet High School หรือ Foothill College ทำความตกลงร่วมกับ Henry M.Gunn High School, Palo Alto High School, Mountain View High School, Los Altos High School และ Alta Vista High School เป็นต้น
  • หลักสูตร Bachelor’s Degree Partners คือหลักสูตรที่ Community College มีสัญญาเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมในโครงการว่า มหาวิทยาลัยจะรับนักศึกษาที่เรียนจบอนุปริญญาจาก Community College แห่งนี้ เช่น Foothill College มีโครงการผลิตนักศึกษาปริญญาตรีด้านจิตวิทยาร่วมกับ Palo Alto University หรือ North Seattle Community College (https://northseattle.edu/bachelor-degree-partners)  เป็นพันธมิตรกับสามมหาวิทยาลัยในรัฐ Washington ตือ  Eastern Washington University, Washington State University และ Western Washington University เป็นต้น
  • หลักสูตร Continuing Education ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายสาขาวิชา เช่น การเรียนภาษาต่างๆ คอมพวเตอร์ ศิลปะ และอื่นๆ เป็นหลักสูตรระยะสั้นๆตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึงหนึ่งปี เหมาะกับนักเรียนที่ได้รับวีซ่านักเรียนไปแล้ว แต่อยากหาความรู้เล็กๆน้อยๆในด้านอื่นเพิ่มเติมและไม่อยากเลือกสถานที่เรียนที่คิดค่าเล่าเรียนแพง
  • หลักสูตร Continuing Professional Education ได้แก่การเรียนในหลักสูตรที่จะกำหนดเป้าหมายอาชีพในอนาคต เช่นการเรียนเพื่อสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ CPA, การเรียนหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การเรียนรู้เรื่องภาษี ฯลฯ
  • หลักสูตร Honors Program ผู้สนใจควรอ่านรายยละเอียดของหลักสูตรนี้ให้ดีๆว่า มีเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อที่จะให้ผู้เรียนรักษาสถานภาพอยู่ในโครงการ Honors Program นี้อยู่ได้ เช่น ต้องรักษาเกรดเฉลี่ยสะสมทุกเทอมต่อเนื่อง 3.5 จากคะแนนเต็ม 4.0 หรือหลังจากเรียนจบหลักสูตรอนุปริญญาสองปีแล้ว จะสามารถโอนย้ายหน่วยกิตไปเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชื่ออะไรได้บ้าง ใช่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เป็นที่รู้จักของผู้เรียนหรือไม่ เช่น  http://www.foothill.fhda.edu/hon/index.php#honcour อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังภาพล่างผู้สนใจสมัครเรียนหลักสูตร Honors และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสนใจที่จะให้มีการการันตีว่าจะได้เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต้องอ่านหน้าเว็บไซต์ของ Community College นั้นๆให้รอบคอบด้วยตนเอง เพราะอาจมีบาง Community College นำเสนอชื่อมหาวิทยาลัยที่จะส่งต่อไม่อยู่ในความรู้จักของผู้สมัคร ผู้สมัครจึงจำเป็นต้องสนใจค้นหาข้อมูลด้วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง อาทิ เว็บไซต์ http://www.qcc.mass.edu/honors/community.html พูดถึง Honors Program ไว้ดังนี้

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

วิธีการสมัครและการโอนย้ายหน่วยกิตของ Community College

เมื่อรู้จักวิทยาลัยชุมชนหรือ Community College กันบ้างแล้ว นักศึกษาบางท่านที่สนใจสมัครไปศึกษาต่อในวิทยาลัยชุมชนอาจจะไม่ทราบว่า ควรจะเริ่มต้นอย่างไร

วิธีการสมัครเข้าเรียนต่อในวิทยาลัยชุมชน เมื่อผู้สมัครได้ใช้ปัจจัยต่างๆเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า จะเลือกสมัครวิทยาลัยชุมชนที่ใดบ้าง ปัจจัยต่างๆได้แก่ เรื่องวิชาที่ต้องการจะไปเรียนต่อ เงื่อนไขการสมัคร งบประมาณที่ทางบ้านไม่เดือดร้อนถ้าจะต้องเดินทางไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกานาน 4 ปีเพื่อให้ได้รับปริญญาตรี เงื่อนไขพิเศษอื่นๆ อาทิ รัฐที่มีญาติอยู่หรือมีเพื่อนมีคนรู้จักอยู่ อากาศ การคมนาคม และ ฯลฯ ผู้สมัครจะเข้าไปที่เว็บไซต์ของวิทยาลัยที่สนใจ โดยอาจจะเลือกกรอกฟอร์มใบสมัครออนไลน์หรือดาวน์โหลดใบสมัครออกมากรอกก็ตาม เตรียมจ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครในรูปของตราสารประเภทดราฟท์ หรือจะใช้วิธีการจ่ายเงินโดยหักจากบัตรเครดิต ผู้สมัครยังต้องแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้เพิ่มเติมอีกด้วย คือ

1. Transcript ที่แสดงผลการเรียนรายวิชาในแต่ละเทอมตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 4-6

2. ผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS ซึ่งคะแนนสอบที่ต้องทำได้นั้น ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของวิทยาลัยชุมชนนั้นๆในการรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียน ส่วนใหญ่นักศึกษาควรแสดงผลสอบ TOEFL ประมาณ 61 คะแนนจากคะแนนเต็ม 120 คะแนน IELTS ประมาณ 6.0 เช่น เว็บไซต์ของ Foothill College http://www.foothill.edu/international/ad_english.php

วิทยาลัยชุมชนบางแห่งมีเงื่อนไขการรับนักศึกษาต่างชาติที่ค่อนข้างอะลุ้มอล่วยกับนักศึกษาต่างชาติ กล่าวคือ ไม่ต้องแสดงผลสอบภาษาอังกฤษ แต่นักศึกษาต้องสมัครไปเรียนภาษาอังกฤษก่อน หรืออาจจะสมัครควบคู่ไปกับการเรียนต่อในระดับอนุปริญญาเลย  อาทิ Seattle Central Community College http://www.seattlecentral.edu/international/english-proficiency.php เป็นต้น

3. จดหมายรับรองฐานะการเงินจากธนาคารของผู้ที่เป็นสปอนเซอร์ว่า มีเงินอยู่ในบัญชีธนาคารอย่างน้อยครอบคลุมหนึ่งปีการศึกษา เช่น Seattle Central Community College

(http://www.seattlecentral.edu/international/admission-procedure.php  ) ต้องการให้ผู้ปกครองแสดงว่ามีสถานภาพทางการเงินที่มากกว่า 18,500 ดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากที่รวบรวมหลักฐานการสมัครครบ จะต้องส่งเอกสารดังกล่าวให้สถานศึกษาที่ต้องการสมัคร บางแห่งจะกำหนดวันปิดรับสมัครวันสุดท้าย ( Deadline) เช่น Foothill College ( http://www.foothill.edu/international/ad_deadlines.php )

บางแห่งไม่มีกำหนดวันปิดรับสมัครที่แน่นอน ถ้าผู้สมัครส่งเอกสารสมัครครบ จะได้รับคำตอบกลับมาในเวลาไม่นาน เช่น การสมัครเข้าเรียนอนุปริญญาที่ Shoreline Community College ในรัฐ Washington ดังเว็บไซต์

http://www.international.shoreline.edu/news_howto.html  

การขอโอนย้ายหน่วยกิต จาก Community College ไปยังวิทยาลัย 4 ปี หรือ มหาวิทยาลัย โดยปกติ Community College จะยึดหลัก Articulation Agreement กับมหาวิทยาลัยในรัฐเดียวกัน หรือพยายามหาพันธมิตรเป็นมหาวิทยาลัยในรัฐอื่น เพื่อให้การโอนย้ายหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัยมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ลองดูตัวอย่างจากเว็บไซต์ของ Pierce Community College http://www.pierce.ctc.edu/international/transfer

สิ่งที่นักศึกษาควรปฏิบัติในการโอนย้ายหน่วยกิต

  1. นักศึกษาควรเตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งปี กล่าวคือ เมื่อเริ่มขึ้นปีที่สองควรที่จะต้องหมั่นนัดหมายเข้าไปขอคำปรึกษาจากอาจารย์  อาจารย์ Deldre Girard จาก Seattle Central Community College ได้ทำชาร์ตแสดงช่วงเวลาที่ควรเริ่มค้นคว้าหาข้อมูลไปจนกระทั่งได้รับการตอบรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยไว้ได้น่าสนใจดังภาพข้างล่างนี้ http://www.seattlecentral.edu/transfercenter/Timeline.pdf
  2. เว็บไซต์ของ Pierce Community College แนะนำว่า เมื่อจบหลักสูตรอนุปริญญาจาก Community College แล้วจะสามารถโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้ แต่การจะได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จำเป็นที่นักศึกษาต้องดูคะแนนของนักศึกษาทำไว้ที่ Community ตลอดสองปีที่ผ่านมา เว็บไซต์  http://www.pierce.ctc.edu/international/ref/files/itl_conditionaltransfer.pdf  แสดงตัวอย่างคะแนนเฉลี่ยสะสมจาก Pierce College ที่นักศึกษาทำได้หลังจากเรียนจบ 2 ปีจาก Pierce Community College เพื่อโอนย้ายไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆในรัฐ Washington หรือเว็บไซต์ของ Foothill College ที่ได้แสดงสถิติว่าผู้ที่จบการศึกษาด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมเท่าไรจะย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยใดได้บ้าง
  3. เทคนิคในการโอนย้ายหน่วยกิตยังมีอีกมาก หากเป็นไปได้ เมื่อเริ่มเข้าเรียนในปีที่หนึ่งให้นักศึกษาลองหาทางไปพบปะพูดคุยกับอาจารย์แนะแนวเพื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้น อาทิ  โดยทั่วไป นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน General Education ใน Community College วิชา General Education จะประกอบด้วยวิชาในหมวดหลักๆ 4 หมวดหมู่คือ Communication; Computation; Creative, Critical and Analytical thinking; Community/Global Consciousness and Responsibililty โดยแต่ละหมวดจะมีคำอธิบายแยกย่อยว่าประกอบไปด้วยวิชาอะไรบ้าง
  4.  การจะขอโอนย้ายหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีบางแห่งจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป  ยกตัวอย่างหลักสูตรของ Foothill College ในรัฐ California จะกำหนดชื่อวิชาที่จะลงทะเบียนเรียน General Education เพื่อขอโอนย้ายหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัยในกลุ่ม California State University และกลุ่มมหาวิทยาลัย University of California ว่าอยู่ในหมวด IGETC   http://www.foothill.fhda.edu/transfer/forms/TransferGEGuide11.12.pdf  การลงทะเบียนรายวิชา General Education ควรเลือกลงเฉพาะวิชาที่สามารถได้รับการยอมรับให้โอนย้ายไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการสมัครได้ หรือ จะใช้วิธีเลือกลงรายวิชาตามรูปแบบที่ California State University ทั้ง 23 วิทยาเขตจะยอมรับได้ และอย่าลืมตรวจสอบด้วยว่ากรณีที่เป็น University of California จะยอมรับการโอนย้ายหน่วยกิตในวิชาเดียวกันกับที่ California State University จะยอมรับได้หรือไม่ นั่นคือเหตุผลที่นักศึกษาควรเข้าไปขอคำปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอตัวอย่าง เช่น ในหนังสือแนะนำการลงทะเบียนเรียนเพื่อโอนย้ายหน่วยกิตของ Foothill College กำหนดไว้ว่า การจะสมัครเข้าเรียนต่อที่ California State University (CSU)  CSU ต้องการให้นักศึกษาที่ต้องการโอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปเรียนที่ California State University ผ่านการลงทะเบียนเรียนวิชา U.S. History, Constitution and American Ideals เป็นต้น  และก่อนที่จะทำการโอนย้ายหน่วยกิตได้ นักศึกษาต้องได้รับการรับรองวิชา

 ( Certification) ที่เรียนจาก Community College ด้วย อนึ่งนักศึกษาต่างชาติควรอ่านรายละเอียดจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการทำการโอนย้ายหน่วยกิตไปเรียนด้วยว่า ต้องการเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมหรือไม่ อาทิ มหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูงต้องการให้นักศึกษาแสดงผลสอบ SAT ประกอบด้วย เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การโอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปเรียนที่ Brown University (http://www.brown.edu/admission/undergraduate/sites/brown.edu.admission.undergraduate/files/uploads/BrownTransferSupplement2011_12.PDF ) หรือการโอนย้ายหน่วยกิตไปเรียนที่ Duke University (http://admissions.duke.edu/jump/applying/apply_transfer.html)

คำอธิบายเกี่ยวกับการโอนย้ายหน่วยกิตและการยกตัวอย่างของบาง Community College และบางมหาวิทยาลัย เป็นเพียงหนึ่งกรณีศึกษาที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาเข้าใจวิธีโอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในฝันหลังจากเรียนจบอนุปริญญาได้ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้สนใจเลือกเรียนต่อใน Community College ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมวางแผนเสียตั้งแต่เริ่มแรกเข้าไปเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาเอก หรือ การยอมรับหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยที่จะรับไม้ต่อจาก Community College การหมั่นเข้าไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนไม่ต้องประสบปัญหาหลังจากเรียนจบ Community College แล้วแต่ยังโอนย้ายหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการไม่ได้ ทำให้ต้องเสียเวลาลงทะเบียนเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตเพิ่ม หรืออาจจะต้องตัดสินใจโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาในมหาวิทยาลัยลำดับถัดไป ซึ่งไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่อยู่ในลำดับความคิดของนักศึกษามาตั้งแต่แรก

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

Community College คืออะไร

Community College หรือ อีกชื่อหนึ่งคือวิทยาลัยสองปี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วิทยาลัยชุมชนของรัฐ (Public) กับ วิทยาลัยชุมชนของเอกชน (Private)  วิทยาลัยสองปีมักจะมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่มีบทบาทในชุมชนโดยรอบ และจะมีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัย หลายท่านที่เคยเข้าไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อประเทศสหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาตรี อาจจะพบคำว่า Community College บ้าง Junior College บ้าง Two year College บ้าง ซึ่งก่อให้เกิดความสงสัยว่า คำศัพท์เหล่านี้มีความหมายเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ขอสรุปว่า คำศัพท์ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วมีความหมายเดียวกัน ก่อนหน้าทศวรรษ 1970 (พ.ศ.2513) มักจะพบการใช้คำว่า Junior College มากกว่า Community College และคำว่า Two Year College มักใช้กับวิทยาลัยเอกชน หรือ Private Two Year Institution ขณะที่วิทยาลัยสองปีที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลจะนิยมเรียกว่า Community College

ต่อมาในปีค.ศ. 1992 (พ.ศ.2535) ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียกขานหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านวิทยาลัยชุมชนจาก American Association of Junior Colleges เป็น American Association of Community Colleges

( Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Community_colleges_in_the_United_States )

ผู้ที่ศึกษาจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเกรด 12 จะเป็นจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยหรือมัธยมศึกษาในประเทศอื่นๆที่เทียบเท่าเกรด 12 สามารถเลือกสมัครเข้าศึกษาต่อใน Community College ได้

Community College  หรือ วิทยาลัยชุมชนเปิดสอนหลายหลักสูตร แต่หลักสูตรหลักๆคือ หลักสูตรอนุปริญญาสองปี โดยแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

  • หลักสูตรโอนย้ายหน่วยกิตเพื่อเข้าไปศึกษาต่อในระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ในมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกกันว่า หลักสูตร Transfer Program หรือ College Transfer Program อนุปริญญาที่จะได้รับเรียกว่า A.A. หรือ Associate of Arts และ A.S. หรือ Associate of  Science
  • หลักสูตรด้านเทคนิคหรืออาชีวศึกษา (Vocational Program หรือ Career Training Program)  เป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะด้านหรือวิชาชีพที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิ วิศวกรรมยานยนต์ การซ่อมแซมมอเตอร์ไซค์ โภชนาการ ช่างภาพ พยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ การแพทย์ฉุกเฉิน ฯลฯ อนุปริญญาที่ได้เรียกชื่อว่า A.A.A. หรือ  Associate of Applied Arts และ A.A.S. หรือ Associate of  Applied Science ใช้ระยะเวลาในการศึกษานาน 2 ปี หลักสูตร A.A.A. และ A.A.S.  ของแต่ละวิทยาลัยนั้น บางแห่งไม่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้ เช่น  หลักสูตรของ Northern Virginia Community College (http://www.nvcc.edu/current-students/transfer/)

บางแห่งหลักสูตร A.A.A. และ A.A.S. อนุญาตให้โอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้ เช่นหลักสูตร A.A.S.-T Degree( Associate of Applied Science -Transfer) ของ Seattle Central Community College (http://www.seattlecentral.edu/course/degreesandcerts.php ) ผู้สนใจที่จะเริ่มต้นเข้าศึกษาต่อใน Community College จึงควรให้ความสนใจต่อการเลือกหลักสูตร และทางเลือกภายหลังจบการศึกษาในระยะเวลา 2 ปีจากวิทยาลัยแห่งนั้นๆด้วย

วิทยาลัยชุมชนจึงเป็นเสมือนทางที่จะก้าวไปสู่การเข้าเรียนต่อ (Pathway) ในมหาวิทยาลัยของนักเรียนต่างชาติจำนวนมาก มีวิทยาลัยชุมชนอยู่มากกว่า 1,200 แห่งทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา  และส่วนใหญ่เป็นวิทยาลัยของรัฐ   โดยนักเรียนต่างชาติจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังถูกกว่าค่าใช้จ่ายในมหาวิทยาลัยทั่วไปที่อยู่ใกล้กัน ผู้สนใจ Community College อาจศึกษาค่าใช้จ่ายจากเว็บไซต์ Community College ที่ต้องการส่งสมัคร หรือในที่นี้ขอยกตัวอย่างตัวเลขคร่าวๆของเว็บไซต์ Community College ในรัฐ California

http://www.californiacolleges.edu/finance/how-much-does-college-cost.asp

Joliet Junior College ตั้งอยู่ที่เมือง Joliet รัฐ Illinois

( http://www.jjc.edu/Pages/default.aspx)    นับเป็นวิทยาลัยสองปีแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ( Ref: http://www.educationnews.org/articles/community-colleges-a-brief-history.html) ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) ตามคำสั่งของ  William Rainey Harper ประธานของมหาวิทยาลัย Chicago เนื่องจากผู้จบระดับมัธยมศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และบางส่วนของนักเรียนเหล่านี้ต้องการมีความรู้ที่มากกว่าระดับมัธยมศึกษาแต่ไม่ได้ต้องการความรู้ที่ลึกซึ้งระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น Community College จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ประการในการก่อตั้งคือ

1. เพื่อช่วยให้นักศึกษาที่จบระดับมัธยมศึกษาได้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น  โดยที่คนเหล่านั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย

2. เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้หลักสูตรศิลปศาสตร์ (Liberal Arts) เบื้องต้นก่อนที่จะเข้าไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

จากเว็บไซต์ของสมาคมวิทยาลัยชุมชน ( http://www.aacc.nche.edu/Pages/default.aspx ) จะเห็นได้ว่าตัวเลขของวิทยาลัยชุมชนในปีค.ศ. 2011 (พ.ศ.2554) ประเทศสหรัฐอเมริกามีวิทยาลัยชุมชนจำนวนรวมทั้งหมด 1,167 แห่ง เป็นของรัฐบาลจำนวน 993 แห่ง ของเอกชนจำนวน 143 แห่ง และอื่นๆอีก 31 แห่ง

( Ref: http://www.aacc.nche.edu/AboutCC/Documents/FactSheet2011.pdf)

ผู้สนใจติดตามข่าวจาก Community College สามารถเลือกติดตามข่าวจาก Social Media

( http://www.aacc.nche.edu/Resources/Pages/social_media.aspx) ดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจจะสมัครเข้าเรียนต่อในวิทยาลัยชุมชนอาจจะกำลังมองหาเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อวิทยาลัยชุมชนในรัฐต่างๆอยู่นั้น ขอแนะนำเว็บไซต์ดังต่อไปนี้คือ

เมื่อตัดสินใจเลือกไปศึกษาต่อในรัฐใด ให้คลิกเลือกรัฐนั้นๆ อาทิ รัฐ California จะปรากฏรายชื่อวิทยาลัยและสถิติในด้านต่างๆ อาทิ จำนวนวิทยาลัยที่เป็นของรัฐ ของเอกชน สถิติจำนวนนักศึกษาในปีค.ศ.2001บ้าง ค.ศ. 2004 บ้าง จำนวนนักศึกษาที่เป็นเพศชาย เพศหญิง เชื้อชาติ อายุเฉลี่ย จำนวนอาจารย์ และเงินอุดหนุนที่วิทยาลัยในรัฐ California ได้รับ

  • เว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัย University of Texas at Austin

http://www.utexas.edu/world/comcol/state/

ข้อดีของการศึกษาใน Community College มีดังนี้คือ

1. ค่าใช้จ่ายในวิทยาลัยชุมชนซึ่งหมายถึงค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวจะถูกกว่าค่าใช้จ่ายในการศึกษาประเภทมหาวิทยาลัย

2. ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่สูงมาก หรือผู้ที่หยุดพักการเล่าเรียนไปนานหลายปี สามารถที่จะเริ่มต้นการศึกษาใหม่ในวิทยาลัยชุมชนได้ง่ายกว่าในการสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพราะวิทยาลัยชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียกร้องให้นักศึกษาต้องส่งผลสอบ SAT

3. นักเรียนนักศึกษาที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกเรียนสาขาวิชาใดในระดับปริญญาตรี การเริ่มศึกษาในวิทยาลัยชุมชนจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลองเลือกเรียนวิชาต่างๆเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงของตนเอง หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ในวิชาใดวิชาหนึ่ง อาจลองเลือกลงทะเบียนเรียนกับวิทยาลัยชุมชนที่มีค่าเล่าเรียนไม่แพงก่อนไปลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการสมัครเรียนจริงๆ

4. ชั้นเรียนของวิทยาลัยชุมชนจะมีขนาดเล็ก เหมาะต่อการปรับตัวของนักศึกษาที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา และบรรดาอาจารย์ที่สอนในวิทยาลัยชุมชนจะทุ่มเทให้กับงานสอนมากกว่าการทำวิจัยเหมือนอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย

5. นักเรียนนักศึกษาอเมริกันที่เลือกเรียนในวิทยาลัยชุมชนมีโอกาสที่จะประหยัดค่าที่พักได้เพราะวิทยาลัยชุมชนมักตั้งอยู่ใกล้บ้านพักนักศึกษา และเหมาะกับนักศึกษาอเมริกันที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย หรือผู้ที่มีข้อผูกมัดด้านอื่นๆ

ข้อเสียของ Community College (Ref: http://www.ehow.com/facts_5120520_disadvantages-community-college.html;  http://www.stateuniversity.com/blog/permalink/Community-Colleges-Advantages-and-Disadvantages.html )

1. ด้านที่พัก เนื่องจากวิทยาลัยชุมชนมักตั้งอยู่ในบริเวณไม่ไกลจากที่พักของชุมชนอเมริกัน นักศึกษาอเมริกันจะมองประเด็นนี้เป็นข้อได้เปรียบ แต่อาจจะเป็นข้อเสียเปรียบของนักศึกษาต่างชาติ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกสมัครวิทยาลัยชุมชนใดควรทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่พักไปพร้อมๆกันเลือกสถานที่ที่จะเข้าเรียนต่อด้วยว่า วิทยาลัยแห่งนั้น มีหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์สำหรับนักศึกษาต่างชาติ หรือมีบริการจัดหาครอบครัวอเมริกัน ( Homestay)ให้พักอยู่ด้วยหรือไม่  http://www.stateuniversity.com/blog/permalink/Community-Colleges-Advantages-and-Disadvantages.html

2. ขาดบรรยากาศของวิทยาลัยที่แท้จริง เพราะวิทยาลัยชุมชนตั้งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของคนที่อยู่ในชุมชน ดังนั้นหลังเลิกเรียน นักศึกษาชาวอเมริกันมักเดินทางกลับบ้านพักของตนเอง หรือ อาจมีภาระอื่นๆที่จะต้องไปรับผิดชอบ เช่น ครอบครัวของนักศึกษาอเมริกัน หรือการไปทำงานของนักศึกษาอเมริกันหลังเลิกเรียน จึงทำให้นักศึกษาต่างชาติอาจไม่มีโอกาสร่วมกิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษากันเองได้อย่างเต็มที่เมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาที่เลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

3. การโอนย้ายหน่วยกิตเพื่อเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยชุมชนต้องให้ความสนใจในการเลือกลงทะเบียนเรียนแต่ละรายวิชาอย่างจริงจัง เพราะมิได้หมายความว่าทุกวิชาจะสามารถโอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นนักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด เช่น Northern Virginia Community College ได้เขียนคำแนะนำนักศึกษาในเรื่องการเตรียมตัวเพื่อการโอนย้ายหน่วยกิตเข้าไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน http://www.nvcc.edu/current-students/transfer/

4. ขาดการปฏิสัมพันธ์ในระดับวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการมีปฏิสัมพันธ์กันในหมู่นักศึกษาระดับวิทยาลัย 4 ปี อันอาจจะนำไปสู่ปัญหาการสร้างความสัมพันธืในระบบเครือข่าย (Network)ที่ดีได้

สถิติวิทยาลัยชุมชนที่มีจำนวนนักศึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมาก ได้นำมาแสดงให้ดู ณ ที่นี้เพื่อจะได้ทราบอย่างคร่าวๆว่า มีวิทยาลัยชุมชนใดบ้างที่มีจำนวนนักศึกษาต่างชาตินิยมสมัครไปเรียน อย่างไรก็ตาม ขอให้ใช้วิจารณญาณในการเลือกวิทยาลัยชุมชนให้เหมาะสมกับคุณสมบัติผู้สมัคร เนื่องจาก วิทยาลัยชุมชนที่มีจำนวนนักศึกษาต่างชาติปริมาณมาก อาจจะไม่มีอะไรแตกต่างจากบรรยากาศในมหาวิทยาลัยมากนัก กล่าวคือ ถ้าผู้สมัครเรียนในวิทยาลัยชุมชนต้องการบรรยากาศความเป็นกันเอง ห้องเรียนมีขนาดเล็ก ครูอาจารย์ให้ความสนใจผู้เรียน ก็อาจจะไม่ได้รับสิ่งที่กล่าวมาตอบสนองได้ ดังนั้น เมื่อเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของวิทยาลัยชุมชนชื่อต่างๆ ให้ลองพิจารณาสัดส่วนระหว่างอาจารย์กับนักเรียน และ จำนวนอาจารย์ที่ทำหน้าที่แนะแนวการศึกษาด้วยว่า มีมากน้อยเพียงใด โปรดศึกษารายละเอียดจำนวนนักศึกษาต่างชาติในวิทยาลัยชุมชนได้ที่เว็บไซต์ http://www.iie.org/Research-and-Publications/Open-Doors/Data/International-Students/Leading-Institutions-By-Institutional-Type/2010-11

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved