ระบบโรงเรียนประถมและมัธยมใน 5 ประเทศชั้นนำ

ระบบโรงเรียนประถมและมัธยมใน 5 ประเทศชั้นนำ
ความต้องการของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศในระดับมัธยมศึกษามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี นอกจากเหตุผลในเรื่องของการเตรียมพร้อมด้านภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาเป็นเหตุผลในการตัดสินใจของผู้ปกครอง อาทิ ความไม่เห็นด้วยกับระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย, ความไม่มั่นใจในระบบโรงเรียนของประเทศไทยที่จะสามารถสร้างบุคลิกภาพของบุตรหลานตนให้มีความพร้อมในทุกด้าน อาทิ ความรอบรู้เรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ทัศนวิสัย ความคิดเห็นเห็น ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ ตลอดจนการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

ก่อนการตัดสินใจเลือกประเทศที่จะส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อ ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาในประเทศนั้นๆ วิธีการสอน วิธีการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาหลังจากเรียนจบจากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งนั้น ค่าใช้จ่ายในการศึกษารวมทั้งค่ากินอยู่ ระยะเวลาในการไปศึกษาต่อ ความคาดหวังที่ผู้ปกครองต้องการได้รับหลังจากบุตรหลานจบการศึกษา

การศึกษาในต่างประเทศเป็นการลงทุนระยะยาวประเภทหนึ่ง ในสังคมไทยกระแสการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยออกมาในด้านลบมากกว่าบวก แต่มิได้หมายความว่า การศึกษาไทยไม่ได้สาระไปเสียทั้งหมด ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาในแต่ละประเทศ ต่างก็พยายามจัดระบบการศึกษาให้รองรับกับพื้นฐานด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์หนึ่งในสังคมที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาในหลายๆประเทศเป็นอย่างมากคือ การแข่งขันและการเปรียบเทียบ อาทิ การแข่งขันในระบบการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา การแข่งขันในหมู่ผู้ปกครองกันเอง การแข่งขันในเรื่องการคัดเลือกเข้าทำงานในสถาบันชั้นนำ การแข่งขันในเรื่องระบบเงินเดือน การแข่งขันเพื่อให้ได้รับการพิจารณาความดีความชอบในการทำงาน และอื่นๆ ดังนั้นจึงไม่มีหลักการที่แน่นอนที่จะกำหนดได้ว่า ควรเริ่มส่งบุตรหลานไปศึกษาในต่างประเทศเมื่อไรถึงจะดีที่สุด ผู้ปกครองควรศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายและความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย เพื่อประกอบการคิดคำนวณว่า ควรจะเริ่มส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศในระดับชั้นเรียนใดดี

แผนผังด้านล่างแสดง ตารางการเปรียบเทียบชั้นเรียนในประเทศต่างๆ ที่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศพร้อมกับหลักสูตร International Baccalaureate หรือ IB ที่หลายโรงเรียนในหลายประเทศนำเข้าไปใช้ในเป็นตัวเลือกในการสอนในโรงเรียนตนนอกเหนือไปจากการสอนเพื่อสอบให้จบตามช่วงสุดท้ายของชั้นเรียนในระบบการศึกษาของประเทศนั้นๆ  ทั้งนี้ทั้งนั้น การเตรียมสอบในขั้นตอนสุดท้ายก็เพื่อที่จะใช้คะแนนดังกล่าวในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกทีหนึ่ง

อายุ(ปี)

USA UK Canada IB Australia

New Zealand

5 Kindergarten Year1 Kindergarten Kindergarten Level1(Primary1)
6 Grade1 Year1 Grade1 PYP Year1 Level1(primary2)
7 Grade2 Year2 Grade2 PYP Year1 Level2(Standard1)
8 Grade3 Year3 Grade3 PYP Year2 Level2(Standard2)
9 Grade4 Year4 Grade4 PYP Year3 Level2-3(Standard3)
10 Grade5 Year5 Grade5 PYP Year4 Level3(Standard4)
11 Grade6 Year6 Grade6 MYP Year5 Level3-4(standard5/F.1)
12 Grade7 Year7 Grade7 MYP Year6 Level4(Ftandard6/F.2)
13 Grade8 Year8 Grade8 MYP Year7 Level4(Form3)
14 Grade9 Year9(Pre-GCSE) Grade9 MYP Year8 Level5(Form4)
15 Grade10 Year10(GCSE) Grade10 MYP Year9 Level5-6(Form5/NCEA1)
16 Grade11 Year11(GCSE) Grade11 DP Year10 Level6-7(Form6/NCEA2)
17 Grade12 Year12(Lower sixth form) Grade12 DP Year11 Level7-8(Form7/NCES3)
18  PG Year13(Upper sixth Form) Grade12+(Ontario) Year12

หากเปรียบเทียบอายุเริ่มเข้าเรียนในระบบโรงเรียนของแต่ละประเทศจะไม่แตกต่างจากโรงเรียนในประเทศไทยมากนัก บางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร และประเทศนิวซีแลนด์อาจจะเริ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อเด็กอายุ 5 ปีหรือ 6 ปีก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจากประเทศไทยที่มีความมั่นคงทางการเงินในระดับดีจะเริ่มให้เด็กไปเข้าเรียนในต่างประเทศหลังจากบุตรหลานจบชั้นประถมศึกษาในประเทศไทยแล้ว ค่าใช้จ่ายโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นโรงเรียนประจำในสหราชอาณาจักร และประเทศสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในราวประมาณ 1,500,000 บาทต่อปี

อนึ่ง ข้อสังเกตในการเลือกไปเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายของประเทสสหรัฐอเมริกากำหนดให้นักเรียนต่างชาติมีสิทธิ์เข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลได้เพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งผู้ปกครองไทยมักจะส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษากับโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ อาทิ AFS, Rotary เป็นต้น หากพิจารณาจากเงื่อนไขที่รัฐบาลสหรัฐกำหนดไว้ คือ หลังจากจบโครงการแลกเปลี่ยน ถ้านักเรียนต้องการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐอเมริกา นักเรียนจำเป็นต้องย้ายที่เรียนจากโรงเรียนรัฐบาล(Public School) ไปเรียนในโรงเรียนเอกชน (Private School) และเปลี่ยนสถานภาพจากวีซ่า J-1 เป็นวีซ่า F-1 โดยกลับมาขอวีซ่าใหม่ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ผู้ปกครองสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา      http://travel.state.gov/visa/temp/types/types_1269.html 

หากผู้ปกครองสนใจจะค้นหาข้อมูลเพิ่อศึกษาเรื่องโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศต่างๆในเชิงลึก หรือ ด้วยตนเอง นอกเหนือไปจากการใช้บริการจากเอเจนซี่ทางการศึกษาในประเทศไทย ขอแนะนำเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ดังนี้คือ

1. USA :  http://boardingschools.com/

2. UK:   http://www.ukboardingschools.com/

3. Canada: http://www.studycanada.ca/english/school_find.php

4. Australia: http://acaca.bos.nsw.edu.au/go/changing-schools/new-south-wales/standards-and-benchmarking/เว็บไซต์แรกนี้จะทำให้ผู้ปกครองทีสนใจทราบข้อมูลเชิงลึกได้ทราบว่า ภายในรัฐต่างๆของประเทศออสเตรเลียเองนั้น ตัวโรงเรียนมัธยมศึกษายังจะมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องการจัดลำดับชั้นเรียนและการจบการศึกษาด้วย   ส่วนเว็บไซต์ถัดไปจะใช้ในการค้นหาข้อมูลโรงเรียนประจำในรัฐต่างๆ  http://www.boardingschools.com.au/ เว็บไซต์ที่จะรวบรวมรายชื่อโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชนในประเทศออสเตรเลียที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากคือเว็บไซต์ของวิกิลีกส์     http://en.wikipedia.org/wiki/Lists_of_schools_in_Australia

5. New Zealandhttp://www.minedu.govt.nz/Parents/AllAges/SchoolSearch.aspx

6. โรงเรียนที่มีหลักสูตร IB เปิดสอนhttp://www.ibo.org/school/search/ เช่นในหน้าที่ 90 จะพบรายชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยที่มีหลักสูตร IB เปิดสอน

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved.