เทคโนโลยีกับการสมัครเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

เทคโนโลยีได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในการรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533) ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำเทคโนโลยีเข้าาช่วยในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  การแข่งขันของจำนวนบริษัทต่างๆที่เข้ามามีบทบาทต่อการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเริ่มมีมากขึ้นในปีพ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) หลายองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เล็งเป้าหมายไปที่ผู้สมัคร Generation Y ด้วยการเข้าไปนำเสนอเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงการสมัครเรียนให้กับสถานศึกษาต่างๆ เพื่อช่วยลดกระบวนการซ้ำซ้อนในการส่งเอกสารสมัคร ผู้สมัครและสถานศึกษาสามารถตรวจสอบความถูกต้องซึ่งกันและกันได้จากการเข้าใช้บริการโดยการ log in เข้าไปยังบัญชีของตนเพื่อพิจารณารายละเอียดการสมัคร การเปิดบริการการใช้งานสามารถทำได้ทุกวันไม่มีวันหยุด เพื่อให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่มีความถนัดในการใช้เทคโนโลยี บริการดังกล่าวอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “บริการประเภท 24/7 ” นอกจากนี้ บริการดังกล่าวยังเป็นการช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้กระดาษ ลดค่าใช้จ่ายในการดิดต่อสมัครเรียน จากเดิมที่ต้องใช้โทรศัพท์หรือบริการการส่งเอกสารด่วนข้ามคืนของบริษัทต่างๆในการติดต่อ อาทิ EMS, DHL, Fedex, UPS และ ฯลฯ ผู้สมัครสามารถทดแทนวิธีการที่เป็นที่นิยมในอดีตด้วยการส่งอีเมล์ และทำการ upload ข้อมูลเข้าไปเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลของตน ซึ่งเกิดจากการเข้าไปเปิดบัญชีกับองค์การรับสมัครที่เชื่อมโยงบริการกับสถานศึกษานั้นๆ เช่น ETS My Credentials Vault Service (http://www.ets.org/Media/Campaign/12150/index.html),  Turnitin (http://turnitin.com/), CollegeNet(http://www.corp.collegenet.com/), Hobsons (http://www.hobsons.com/solutions/recruit/graduate.php), ZAP Solutions(http://www.paperlessadmissions.com/), Intelliworks, Inc.( http://www.intelliworks.com/products/admissions), SlideRoom( http://www.slideroom.com/), […]

เทคโนโลยีกับการสมัครเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ Read More »