Pre-Professional Degree ใช่ปริญญาตรีไหม

Pre-Professional degree หรือหลักสูตรระดับเตรียมวิชาชีพ ไม่ใช่คุณวุฒิที่แสดงว่า นักศึกษาผู้นั้นเรียนจบระดับปริญญาตรีแล้ว แต่เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่วางแผนจะศึกษาต่อในสายวิขาชีพต่างๆ อาทิ เช่น แพทยศาสตร์ สัตวแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น การศึกษาในหลักสูตรเตรียมวิชาชีพ (Pre-professional Degree) จะพบเห็นได้ทั้งในวิทยาลัย 4 ปี (Four Year College), มหาวิทยาลัย (University) และในวิทยาลัยประเภท Community College หรือ Two-year college หรือ Junior College ก็มีเปิดสอนหลักสูตรประเภทนี้ได้เช่นเดียวกัน โดยใบปริญญาในวิทยาลัยประเภท Community College นี้จะเรียกว่า Associate of Arts หรือ Associate of Science เช่น เมื่อนักศึกษาเลือกเรียน Pre-Law Transfer Program จบ 2 ปีแล้ว ในชั้นปีที่ 3 นักศึกษาต้องตัดสินใจว่า จะเรียนต่อกฎหมาย หรือจะไปเรียนต่อวิชาที่ตนชอบหรือถนัดซึ่งอาจจะไม่ใช่วิชากฎหมาย อาจจะเป็นวิชาอื่นๆ อาทิ เช่น รัฐศาสตร์ (Political Science), รัฐประศาสนศาสตร์ (Public administration) หรือวิชาการวางผังเมือง (Urban Planning) เป็นต้น ยกตัวอย่าง เนื้อหาหลักสูตร Pre-Law ที่เรียนกันใน Community College เนื้อหาหลักสุตรอาจจะไม่เหมือนกันทุกแห่ง ที่ยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบเพื่อให้พอมองเห็นภาพว่า Pre-Law หลักสูตรของวิทยาลัยประเภท Community College ที่ยกมาขื่อ Jackson College https://www.jccmi.edu/degree/pre-law-transfer-program/ ซึ่งดูไปแล้วก็คล้ายวิชาพื้นฐานทั่วไปของนักศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

หลักสูตรเตรียมวิชาชีพ (Pre-Professional) ยังหมายถึงการเตรียมตัวให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่อาจจะยังไม่แน่ใจในการเลือกเรียนสายวิชาชีพนั้นๆ ได้ลองเรียนดูก่อนว่าจะใช่วิชาที่นักศึกษากำลังค้นหาความต้องการของตนอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ ในอีกความหมายหนึ่งคือ ในบางสายวิชาชีพ เช่น การศึกษากฎหมาย มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่รับนักศึกษาที่เรียนจบเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ Grade12 เข้าศึกษาต่อปริญญาตรีทางกฎหมายได้เลยทันที ผู้ที่จะศึกษาต่อปริญญาตรีกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีทางเลือก 2 ทางคือ 1. ศึกษาให้จบปริญญาตรีสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งมาก่อน โดยอาจจะมีหลักให้ลองพิจารณา เช่น ถ้าต้องการเรียนวิชากฎหมายด้าน Corporate Law ก็น่าจะเรียนจบปริญญาตรีมาทางด้านวิชาบัญชี (Accounting) หรือการจัดการ (Management) หรือ 2. ศึกษาให้จบหลักสูตร 2 หรือ 3 ปีของ Pre-Law ก่อน โดยเมื่อเรียนจบไม่ว่าจะเป็นการเลือกแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 ถ้านักศึกษาต้องการสมัครเรียนต่อปริญญาตรีนิติศาสตร์ นักศึกษาจะต้องยื่นผลสอบ LSAT เพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทางกฎหมายด้วยเหมือนๆกัน นักศึกษาจะใช้เวลาในการศึกษาต่ออีก 4 ปี จึงจะถือว่า เรียนจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ ดังนั้น นักศึกษาที่ต้องการจะได้รับปริญญาตรีทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงใช้ระยะเวลาในการศึกษานานประมาณ 7-8 ปี พอๆกับการศึกษาแพทยศาสตร์กันเลย แต่ในบางสาขาวิชา เช่น Pre-Engineering หลักสูตรจะใช้เวลาในการศึกษานานประมาณ 2 ปี เหมาะกับนักศึกษาที่อยากจะศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่อาจจะยังไม่มั่นใจว่า ตนนั้นเหมาะที่จะศึกษาต่อในสาขาวิชานี้หรือไม่ ก็อาจจะใช้วิธีการเลือกเรียนหลักสูตร Pre-Engineering ก่อน เมื่อเรียนจบ 2 ปีแล้ว และคิดว่า พบตัวตนพบความชอบในสาขาวิชาอื่นมากกว่า ก็สามารถเปลี่ยนใจไปศึกษาต่อสาขาวิชาอื่นแทนได้ เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ บริหารธุรกิจ เป็นต้น

หลักสูตรเตรียมวิชาชีพ (Pre-Professional Program) จะพบได้บ่อยในคณะดังต่อไปนี้

  • สายสุขภาพ ได้แก่ Pre-Pharmacy, Pre-Dentistry, Pre-Physical Therapy, Pre-Chiropractic, Pre-Podiatry, Pre-Veterinary Medicine, Pre-Med, Pre-Pharmacist, Pre-Nursing, Pre-Occupational Therapy, Pre-Physician Assistant
  • สายช่าง ได้แก่ Pre-Engineering, Pre-Architecture, Pre-Interior Design
  • สายศิลปศาตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ Pre-law, Pre-Education

ในการศึกษาหลักสูตรเตรียมวิชาชีพ (Pre-Professional) อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยแนะนำรายวิชาที่เหมาะสม และกิจกรรมนอกหลักสูตรที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิชาชีพที่นักศึกษาต้องการเลือกเรียนต่อเป็นปริญญาตรี การเรียนหลักสูตรเตรียมวิชาชีพ (Pre-Professional) ไม่ได้หมายความว่า นักศึกษาจะได้รับการตอบรับเข้าศึกษาต่อในสายวิชาชีพนั้นๆโดยอัตโนมัติหลังจากจบ เพราะนักศึกษายังจะต้องแสดงผลการเรียนที่ดี ประกอบกับผลทดสอบอื่นๆที่สายวิชาชีพนั้นๆต้องการให้ผู้สมัครเข้าเรียนต่อต้องมี เช่น สายวิชาชีพ กฎหมาย ต้องแสดงผลคะแนน LSAT สายวิชาชีพแพทยศาสตร์ ต้องแสดงผลคะแนน MCAT สายวิชาชีพ ทันตแพทยศาสตร์ ต้องแสดงผลคะแนน DAT หรือสายวิชาชีพ เภสัชศาสตร์ ต้องแสดงผลคะแนน PCAT เป็นต้น และทั้งนี้ความยากง่ายในการสมัครเข้าศึกษาต่อในสายวิชาชีพ ก็ยังขึ้นอยู่กับเกณฑ์การรับเข้าเรียนต่อของมหาวิทยาลัยนั้นๆด้วย ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีผู้สมัครสนใจเข้าเรียนต่อสายวิชาชีพจำนวนมาก เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อก็จะมีการแข่งขันสูง เช่น ผู้สมัครต้องมีความโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่นทั้งในเรื่องคะแนนการเรียน และคะแนนของผลทดสอบมาตราฐานต่างๆที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้

อนึ่ง ถ้านักศึกษาสนใจที่จะเลือกเรียนหลักสูตรประเภท Pre-Professional ขอแนะนำให้นักศึกษาศึกษาเนื้อหาหลักสูตร Pre-Professional ของสถาบันนั้นโดยละเอียดก่อน ซึ่งในบล็อกนี้อาจจะไม่สามารถอธิบายได้ทุกสาขาวิชาที่มี Pre-Professional Program เปิดสอน โดยจะขอยกตัวอย่าง 2 หลักสูตร คือ Pre-Law และ Pre-Med

หลักสูตร Pre-Law

หลักสูตร Pre-Law จะไม่ได้กำหนดชื่อวิชาที่ต้องลงทะเบียนเรียนอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากนัก เหมือนกับคนที่เลือกลงทะเบียนเรียนสาขาวิขาอื่นๆ ทำให้นักศึกษาต่างชาติบางท่านอาจจะสงสัยว่า หลังจากจบ Pre-Law แล้ว นักศึกษาจะสามารถแข่งขันกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่นมาแล้ว 1 ใบได้ไหม ถ้าจะต้องแข่งขันสมัครเข้าเรียนต่อปริญญาตรีกฎหมายพร้อมๆกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การเรียนต่อปริญญาตรีกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา นักศึกษาต้องเรียนจบปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งมาก่อน หรือ เป็นผู้เรียนจบ Pre-Law มา แต่วิชาที่สอนใน Pre-Law ไม่มีหลักสูตรวิชาบังคับเฉพาะเจาะจง สถาบันส่วนใหญ่จะเน้นให้นักศึกษาเลือกลงเรียนสาชาวิชาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หรือสาขาวิชาอื่นที่สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาวิชากฎหมายในอนาคตได้ โดยจะมีอาจารย์ให้คำแนะนำ ทั้งนี้ สถาบันที่เปิดสอนวิชากฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นนักคิดที่มีวิจารณญาณและเป็นนักสื่อสารที่ดีผ่านการอ่าน การอภิปราย การถกเถียง ซึ่งนักศึกษาเตรียมกฎหมายควรจะสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของชมรมใดชมรมหนึ่งในมหาวิทยาลัย ที่จะทำให้นักศึกษามีโอกาสฝึกทักษะด้านกฎหมาย สรุป การเป็นนักคิดและนักสื่อสารนับว่า เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของคนที่จะเรียนต่อกฎหมาย หรือเป็นทนายความ นอกจากนี้ยังมีการฝึกการเขียน การวิเคราะห์ และการคิดเชิงวิพากษ์ รวมทั้งฝึกการทำแบบทดสอบ LSAT นอกจากนี้ นักศึกษาเตรียมกฎหมายจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นผู้นำอีกด้วย

รายชื่อชมรมต่างๆในสถาบันศึกษาที่นักศึกษาควรเข้าร่วมเพื่อฝึกทักษะ การพูด การถกเถียง ในเชิงกฏหมาย

ตัวอย่างหลักสูตร Pre-Law ที่สอนใน Community College ได้ยกตัวอย่างของ Jackson College ไว้แล้วข้างต้น ต่อไปจะยกตัวอย่าง หลักสูตร Pre-Law ที่สอนในมหาวิทยาลัยกันบ้าง มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตร Pre-Law บางแห่งจะให้รายชื่อวิชามาชัดเจน เช่น University of South Florida : https://www.usf.edu/arts-sciences/departments/school-of-interdisciplinary-global-studies/programs/undergraduate-programs/pre-law_track.aspx นักศึกษาสามารถเลือกลงวิชาในสายสังคมศาสตร์ด้านอื่นได้ด้วย

หลักสูตร Pre-Med

การศึกษาแพทยศาสตร์ในสหรัฐอเมริกามีหลายเส้นทางให้นักศึกษาเลือกเดิน กล่าวคือ นักศึกษาอาจจะเลือกเรียน Pre-Med ก่อน ตามด้วยการเรียนใน Medical School และ Residency Program หรือ นักศึกษาบางท่านอาจจะเลือกเรียนให้จบปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ก่อนแล้วจึงไปสมัครเข้าเรียนต่อใน Medical school ก็ได้ https://www.mastersportal.com/articles/1801/what-are-the-entry-requirements-for-medical-schools-in-europe-and-the-us.html

โดยทั่วไปแล้ว โรงเรียนแพทย์ส่วนใหญ่คาดหวังให้นักศึกษาต้องเคยเรียนวิชาต่อไปนี้มาแล้ว ได้แก่ ชีววิทยาหนึ่งปีกับแล็บ, เคมีทั่วไปหนึ่งปีกับแล็บ, เคมีอินทรีย์หนึ่งปีกับแล็บ, ฟิสิกส์หนึ่งปีกับแล็บ, ชีวเคมีอย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษา, ข้อกำหนดทางคณิตศาสตร์ (บางโรงเรียนแพทย์ต้องการให้นักศึกษาเรียนแคลคูลัส ,บางโรงเรียนต้องการสถิติ, บางโรงเรียนต้องการทั้งสองอย่าง) ภาษาอังกฤษหนึ่งปี ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาอาจเลือกเรียนวิชาเหล่านี้เตรียมไว้บ้างเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะแข่งกับนักศึกษาคู่แข่งในการทำให้ได้รับการตอบรับเข้าเรียนต่อใน Medical School วิชาเหล่านั้นได้แก่ พันธุศาสตร์ (Genetics), สาธารณสุข (Public health), จริยธรรม (Ethics), จุลชีววิทยา (Microbiology), สรีรวิทยาของมนุษย์ (Human Physiology), จิตวิทยา (Psychology), สังคมวิทยา (Sociology), การเขียน (Writing) และชั้นเรียนภาษาต่างประเทศ (Foreign Language เช่น ภาษาสเปน , ภาษาจีน) เป็นต้น

อนึ่ง ในการเรียน Pre-Med นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะเลือกวิชาเอกเป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Human Biology, Biology, Chemistry, Biochemistry แต่ก็ยังมีนักศึกษาอีกส่วนหนึ่งที่เลือกเรียนหลากหลายวิชาเป็นวิชาเอก อาทิ เช่น มนุษยศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือวิชาที่เป็นที่นิยมกัน คือ Psychology และ Philosophy

ข้อสอบ MCAT ที่ผู้ต้องการเข้าศึกษาใน Medical School ต้องสอบ ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

  • Chemical and Physical Foundations of Biological Systems (CPBS)
  • Critical Analysis and Reasoning Skills (CARS)
  • Biological and Biochemical Foundations of Living Systems (BBLS)
  • Psychological, Social, and Biological Foundations of Behavior (PSBB)

ลองดูสถิติผลการสอบรวม MCAT ทั้ง 4 ส่วน โดยดูค่า Mean และ SD จากคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษาที่เลือกเรียนวิชาเอกเป็นสายวิทยาศาสตร์ (GPA Science) กับนักศึกษาที่เลือกเรียนวิชาอื่นๆเป็นวิชาเอก เช่น มนุษยศาสตร์ หรือ สังคมศาสตร์ (GPA Non-Science) ใน Pre-Med https://www.aamc.org/media/6061/download

นักศึกษาเรียนวิชาอะไรกันบ้างใน Pre-Med จะขอยกตัวอย่างจากบางสถานศึกษาประเภทมหาวิทยาลัย Frerris State University เป็นมหาวิทยาลัยระดับกลางๆในรัฐ Michigan https://www.ferris.edu/catalog/current/programs/bipm-bs.htm และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในรัฐ Michigan ที่มีหลักสูตร Optometry หรือทัศนมาตรศาสตร์ หรือ วิชาการวัดสายตา การดูแลสุขภาพตาเบื้องต้น การให้คำปรึกษาในการเลือกแว่นตาและเลนส์สายตาที่มีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคล Pre-Med ของ Ferris State University ใช้เวลาในการเรียนนาน 4 ปี จบแล้วได้ Bachelor of Science หลังจากนั้น นักศึกษายื่นผลสอบ MCAT เพื่อสมัคร Medical school อีกที

อีกตัวอย่างจาก University of California-Berkeley Pre-Med ของมหาวิทยาลัยนี้ใช้เวลาเรียนนาน 4 ปี ไม่มีการระบุว่าต้องเลือกวิชาชีววิทยาเป็นวิขาเอก นักศึกษาวสมารถเลือกวิชาเอกเป้นวิชาใดก็ได้ https://admissions.berkeley.edu/sites/default/files/docs/Pre-Med.pdf

ในตัววิชาหลักๆที่นักศึกษาควรเลือกเรียน คือวิชาตามรูปล่าง นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในการลงทะเบียนเรียนถ้ามีข้อสงสัย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยิ่งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในดรื่องการเรียนแพทย์ และมีคนแข่งกันสมัครเข้าเรียนมาก แน่นอนว่า การแข่งขันที่เกิดจากผลการเรียนที่ดีมาก และผลสอบ MCAT ที่สูงๆเท่านั้น จะทำให้ผู้สมัครมีโอกาสได้รับการตอบรับเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้ รูปด้านล่างเป็นสถิติคร่าวๆที่แสดงผลของปีการศึกษา 2019-2020 ว่า นักศึกษาที่ได้การตอบรับเข้าเรียนแพทย์ Medical School ที่มหาวิทยาลัยอื่น มีคะแนนเฉลี่ยสะสม GPA และคะแนน MCAT เท่าไร ถ้าผู้สมัครมีคะแนนเฉลี่ยสะสม GPA ไม่ถึง 3.00 และคะแนน MCAT ไม่ถึง 500 แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีโอกาสได้รับการตอบรับเข้าเรียนแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูงมากได้เลย

อนึ่ง ต้องขอแจ้งไว้ว่า University of California-Berkeley ไม่มีคณะแพทยศาสตร์ของตนเอง แต่มีหลักสูตร Pre-Med และมีหลักสูตรปริญญาโทเกี่ยวกับแพทยศาสตร์ร่วมกับ (Joint degree program) University of California-San Francisco https://publichealth.berkeley.edu/academics/joint-medical-program/

ในวิทยาลัยที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Community College ก็มีหลักสูตร Pre-Med ด้วยเหมือนกัน ซึ่งใช้เวลาในการเรียนนาน 2 ปี จบแล้วได้ Associate of Science แต่ในทางปฏิบัติ คนที่เรียนจบ Pre-Med จาก Community College มีเปอร์เซ็นต์ที่จะได้เข้า Medical School น้อยกว่าคนที่จบ Bachelor of Science หลักสูตร 4 ปี ดังนั้นคนที่จบ Pre-Med จาก Community College มักจะโอนย้ายหน่วยกิตไปเรียนต่ออีก 2 ปีในมหาวิทยาลัย เพื่อให้จบปริญญาตรีเสียก่อนที่จะสมัคร Medical School https://www.shemmassianconsulting.com/blog/how-do-medical-schools-view-transfer-students

ความยากง่ายในการจะก้าวข้ามจาก Pre-Med ที่เรียนจบจาก Community College ไปเข้า Medical School เลย ก็อาจจะเนื่องมาจากเรื่องวิชากับการนับจำนวนหน่วยกิตด้วยเช่นเดียวกัน https://www.usnews.com/education/blogs/medical-school-admissions-doctor/articles/how-medical-schools-view-community-college-credits

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ของบรรดา Community College อาจจะไม่ได้มีการพูดเน้นประเด็นนี้นัก แต่ในเว็บไซต์กลางของ Community College เองก็กล่าววว่า ค่อนข้างยากถ้าจบจาก Community College แล้วจะไปเข้า Medical School เลยทันที https://www.communitycollegereview.com/blog/5-tips-for-pre-med-students-attending-community-college

ที่มา

  1. https://www.campusexplorer.com/college-advice-tips/2510D7FF/What-are-Pre-Professional-Majors/
  2. https://www.mastersportal.com/articles/1801/what-are-the-entry-requirements-for-medical-schools-in-europe-and-the-us.html
  3. https://blog.prepscholar.com/what-is-pre-med-requirements-majors

Copyright © 2010-2021 GoVisaEdu All rights reserved