วีซ่าไปทำงานในอเมริกา

วีซ่าทำงานในอเมริกา

วีซ่าไปทำงานในอเมริกา

วีซ่าไปทำงานในอเมริกา ปัจจุบันคนรุ่นใหม่เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา ก็อยากจะมีโอกาสไปทำงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ต้องการแสดงความเป็นพลเมืองโลก ( Global Citizen) หรือเหตุผลอื่นๆใดก็ตาม เราจะมาดูกันว่า ชาวต่างชาติที่ต้องการจะเดินทางเข้าไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะต้องได้รับอนุญาตให้มีวีซ่าประเภทใดกันบ้าง

วีซ่าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาแบ่งตามลักษณะงานที่เข้าไปทำ ได้แก่

  1. A-3
  2. G-5
  3. B-1
  4. H-1B
  5. H-1B1
  6. H-2A
  7. H-2B
  8. J-1
  9. L
  10. O
  11. P-1
  12. P-2
  13. P-3
  14. Q-1

เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลหรือความหมายของวีซ่าประเภทต่างๆที่จะเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาทั้ง 14 ประเภท คือ
https://travel.state.gov/content/travel/en/us-visas/employment/temporary-worker-visas.html  อย่างไรก็ตาม

บล็อกนี้อยากเชิญชวนให้ผู้สนใจไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาลองศึกษา 2 ประเด็นต่อไปนี้ก่อนตัดสินใจไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา คือ

  • ความหมายของวีซ่าแต่ละประเภท
  • สิทธิต่างๆขณะทีี่ทำงานในสหรัฐอเมริกา

ความหมายของวีซ่าประเภทต่างๆ

ประเภทวีซ่า ความหมายของวีซ่า
A-3 วีซ่าที่ให้แก่นักการทูต
B-1 วีซ่าที่ให้แก่ผู้ช่วยทำงานบ้านนักการทูต
G5 วีซ่าประเภท G คือวีซ่าที่ให้กับผู้ทำงานองค์กรระหว่างประเทศ วีซ่าประเภท G มีหลายชนิดคือ G-1, G-2, G-3, G-4, G-5 สำหรับวีซ่า G-5 อาจหมายถึงผู้ที่เป็นลูกจ้างส่วนตัวของผู้ถือวีซ่า G-1, G-2, G-3 และ G-4 ได้
H-1B สำหรับผู้ให้บริการในอาชีพที่ต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ และต้องเป็นผู้ที่เรียนจบระดับปริญญาหรือเทียบเท่า รวมทั้งผู้แสดงแบบแฟชั่น หริอผู้ที่ถูกส่งไปทำงานวิจัยและพัฒนาในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือผู้ที่ทำงานภายใต้โครงการพิเศษของกระทรวงกลาโหม
H-1B1 สำหรับผู้ให้บริการในอาชีพที่ต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้อย่างน้อยต้องจบมัธยมศึกษาตอนปลายและจบปริญญาตรี ผู้มีสิทธิ์ เช่นผู้ที่มาจากประเทศที่มีสัญญา FTA กับสหรัฐ เช่น ชิลี สิงคโปร์ เป็นต้น
H-2A ·       สำหรับผู้ที่ไปเป็นแรงงานชั่วคราวภาคเกษตรกรรม จำกัดการให้วีซ่าประเภทนี้กับบางสัญชาติ

·       ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดการจ้างงาน  สิทธิประโยชน์ ค่าจ้าง การจัดหาที่พัก เวลาทำงาน และสิทธิประโยชน์ในการเดินทางที่นายจ้างจะต้องเป็นผู้จัดให้

·       มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่กำหนด

·       นายจ้างต้องจัดหาที่พักที่สะอาดและปลอดภัยให้

·       นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปและกลับให้

·       ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้ได้รับการประกันการทำงานอย่างน้อย 3 ใน 4 ของวันทำงานที่ระบุไว้ในสัญญา

·       ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้ไม่ต้องจ่ายค่าประกันสังคมสหรัฐหรืออื่นๆให้แก่ผู้คัดเลือกผู้ที่ถือวีซ่าประเภทนี้มา

H-2B วีซ่าสำหรับแรงงานเกษตรนอกภาคอุตสาหกรรม

·       จะได้รับค่าตอบแทนในจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับค่าจ้างที่ให้แก่แรงงานชนิดเดียวกัน คือเป็นอัตราที่รัฐบาลกลางกำหนด หรือเท่ากับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนด

·       นายจ้างรับผิดชอบในการจ่ายค่าเดินทางกลับประเทศของผู้ที่ถือวีซ่าประเภทนี้ ไมว่าจะเป็นกรณีสิ้นสุดการว่าจ้าง หรือให้ออกจากงานก่อนสิ้นสุดสัญญา

·       มีสิทธิ์ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาจ้างที่ให้แก่แรงงานสหรัฐทั่วไป

·       ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้คัดเลือกคนงานในประเทศของตนเอง

H-3 เป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่มาฝึกอบรม นอกเหนือจากผู้ที่จบการศึกษาด้านระดับบัณฑิตศึกษาทางการแพทย์หรือเป็นนักวิชาการ
J-1 เป็นวีซ่าสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน

·       ถ้าโครงการแลกเปลี่ยนนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลกลางสหรัฐฯ โครงการนั้นต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ ผู้ยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ต้องได้รับ DS-2019 กลับมาจากนายจ้างเป็นหลักฐานในการยื่นขอวีซ่า โดยใน DS-2019 ต้องระบุประเภทโครงการแลกเปลี่ยน วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ และ/หรือมีหนังสือสัญญาครองคลุมเงื่อนไขและข้อตกลงของโครงการ

·       การโฆษณาของผู้สนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนจะต้องตรงตามความเป็นจริง

·       ผู้สนับสนุนโครงการต้องต้องแจ้งรายละเอียด ค่าใช้จ่าย และเงื่อนไขตลอดจนข้อบังคับของโครงการชัดเจน ด้วยการจัดปฐมนิเทศก์และให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

·       ถ้าเดินทางเข้าสหรํฐฯภายใต้โครงการ Work and Travel Program และยังไม่มีชื่อสถานที่รับเข้าทำงาน ผู้สนับสนุนโครงการต้องเป็นผู้ช่วยจัดหาสถานที่จ้างงานให้ภายในสัปดาห์แรกที่ผู้ถือวีซ่า J-1 เข้าไปอยู่ในสหรัฐฯ และผู้สนับสนุนโครงการต้องการันตีว่าผู้ถือวีซ่า J-1 จะต้องได้รับเงินค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่ากับแรงงานคนอเมริกัน

·       ถ้าท่านเดินทางเข้าสหรัฐฯด้วยวีซ่า J-1 ประเภทโครงการฝึกอบรมและการฝึกงาน ผู้สนับสนุนโครงการต้องมี Training/Internship Placement Plan (Form DS-7002)

·       ผู้สนันสนุนโครงการต้องให้ผู้ถือวีซ่า J-1 ทำประกันสุขภาพด้วย

·       ผู้ถือวีซ่า J-1 ต้องขอหมายเลขประกันสังคม ( Social Security Number) และนายจ้างต้องทำรายงานการหักภาษีโดยระบุหมายเลขประกันสังคมของผู้ถือวีซ่า J-1 ด้วย

·       กรณีไปฝึกอบรมและฝึกงาน ผู้ถือวีซ่า J-1 สามารถนำผู้ติดตามหรือผู้ถือวีซ่า J-2 (คู่สมรส และลูก) ไปด้วยได้และผู้ถือวีซ่าประเภท J-2 สามารถทำงานได้แต่ต้องไม่นำเงินรายได้ไปช่วยเหลือผู้ถือวีซ่า J-1 เพราะผิดกฎระเบียบ

L เป็นวีซ่าสำหรับผู้ไปปฏิบัติงานที่สาขา หรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับผู้บริหาร หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
O เป็นวีซ่าสำหรับบุคคลที่มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การศึกษา ด้านธุรกิจ หรือเป็นนักกีฬา หรือประสบความสำเร็จด้านภาพยนตร์และการผลิตรายการทีวี
P1 เป็นวีซ่าสำหรับนักกีฬาที่ชนะเลิศการแข่งขัน หรือเป็นศิลปินที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
P2 เป็นวีซ่าที่ให้กับศิลปินหรือผู้ให้ความบันเทิง(เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม) ที่มาแสดงในโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาและหน่วยงานในประเทศอื่น
P3 เป็นวีซ่าที่ให้กับศิลปินหรือผู้ให้ความบันเทิงที่มาแสดง มาสอน หรือมาเป็นโค้ชภายใต้โครงการที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นการแสดงหรือนำสนอที่บ่งบอกถึงเชื้อชาติ ความเป็นพื้นเมือง วัฒนธรรม ดนตรี การละครหรือการแสดงที่เป็นศิลปะ
Q1 เป็นวีซ่าที่ให้กับคนที่เข้ามาร่วมในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกงาน การว่าจ้าง และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของประเทศของผู้ถือวีซ่า Q1

 

เมื่อได้รับวีซ่าเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาแล้ว เราควรต้องหาข้อมูลหรือเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความคิด และการดำเนินชีวิตของคนอเมริกันไว้บ้าง วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่คนอเมริกันแตกต่างจากคนไทยคือ  เราควรต้องเรียนรู้สิทธิของตนเองและต้องปกป้องรักษาสิทธิของตนเองไว้ให้ดี ย่าให้ใครล่วงละเมิดได้ โปรดอ่านรายละเอียดได้จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีคำอธิบายเกี่ยวกับการรักษาสิทธิของตนเองเวลาเดินทางเข้าไปทำงานในสหรัฐอเมริกาไว้หลากหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย https://travel.state.gov/content/travel/en/us-visas/visa-information-resources/temporary-workers.html เมื่อคลิกเลือกภาษาไทยจะพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แก่ผู้ที่จะเข้าไปทำงานที่สหรัฐอเมริกาต้องทราบ

เนื่องจากเอกสารมีความยาวทั้งสิ้น 16 หน้า โปรดเข้าไปศึกษารายละเอียดเองที่เว็บไซต์ https://travel.state.gov/content/dam/visas/LegalRightsandProtections/Wilberforce/Wilberforce-THA-05232017.pdf

Copyright © 2010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.