Oxbridge แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นอย่างไร

Oxbridge แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นอย่างไร

Oxbridge  คำๆนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge อย่างไร Oxbridge เกิดจากการผสมคำหรือหน่วยคำ หรือเสียงของคำหรือเสียงของหน่วยคำให้เกิดเป็นคำใหม่ที่ภาษาอังกฤษเรียกวิธีการนี้ว่า Portmanteau ดังนั้น คำว่า Oxbridge จึงเป็นการรวมคำแรกของมหาวิทยาลัย Oxford และคำสุดท้ายของมหาวิทยาลัย Cambridge เข้าด้วยกันให้เกิดเป็นคำใหม่คือ Oxbridge  

Oxbridge@มหาวิทยาลัย Oxford: https://www.youtube.com/watch?v=n9EUqIoBJXA

Oxbridge@มหาวิทยาลัย Cambridge: https://www.youtube.com/watch?v=G2yig0ogpyc

ใครเป็นผู้คิดคำว่า Oxbridge เป็นคนแรก สันนิษฐานว่า ได้มาจากนวนิยายเรื่อง The History of Pendennis ของ William Thackeray แต่งในปี 1850 บางคนอาจไม่รู้จัก William Thackeray  แต่ถ้าพูดถึงนิยายเรื่อง Vanity Fair หลายคนคงร้องอ๋อ นิยายเรื่อง The History of Pendennis  เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับตัวเอกของเรื่องที่ชื่อ Arthur Pendennis หรือในเรื่องมักจะถูกเรียกว่า Pen เป็นนักศึกษาอยู่ที่ St. Bonicface College ซึ่งเป็นชื่อวิทยาลัยสมมติ St. Boniface ตั้งอยู่ที่เมือง Oxbridge นอกจากนี้ Virginia Wolfe นักเขียนดังอีกท่านหนึ่งได้เขียนความรียงเรื่อง  A Room of Ones’ Own โดยใช้วิทยาลัย Newnham และ วิทยาลัย Girton  เป็นฉากของเรื่อง Virginia Wolfe ได้นำคำว่า Oxbridge ของ Thackeray เข้ามาใช้ในเรื่องด้วย และในปี 1957 หนังสือพิมพ์ The Times Educational Supplement ได้นำคำว่า Oxbridge เข้ามาใช้ในบทความ ทำให้เกิดเป็นคำเรียกขานชื่อสองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักรว่า Oxbridge ( https://en.wikipedia.org/wiki/Oxbridge )

มหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge  ตั้งมานานกว่า 800 ปี โดยสันนิษฐานว่า Oxford ตั้งเมื่อปี 1096 ในขณะที่ Cambridge ตั้งเมื่อปี 1209  แต่คำว่า Oxbridge เพิ่งเริ่มใช้เมื่อปี 1850  เมื่อเอ่ยคำว่า Oxbridge นอกเหนือจากความเก่าแก่ที่สุดแล้ว ใครๆก็ให้ความสำคัญกับ Oxbridge ทำให้ Oxbridge ดูพิเศษกลายเป็น Special Oxbridge  ความพิเศษของ Oxbridge ได้แก่

เรื่องที่ 1 Oxbridge มีระบบการเรียนการสอนชนิดพิเศษในแบบฉบับของ Oxbridge  โดยมีจุดเด่นหลักๆ 4 ประการในระบบการเรียนการสอน คือ

  1. การเรียนการสอนที่แม้จะมี class lecture, lab เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆแล้วแต่ Oxbridge System จะ เน้นชั้นเรียนเล็ก หรืออาจจะเรียกว่า เป็นระบบการเรียนแบบตัวต่อตัว วิธีการเรียนแบบนี้จะมีทั้ง วิเคราะห์วิพากษ์ข้อมูล แปลและตีความข้อมูล อาจจะเป็นความคิดเห็นของผู้อื่น หรือเกิดจากการซักถามและตอบคำถามระหว่าง Tutor หรือ Fellow กับนักศึกษา และมีการสั่งงานให้เขียน essay ประมาณ 2-4 เรื่องส่งผู้สอนทุกอาทิตย์
  2. อัตราส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาจะอยู่ที่ประมาณ 1:1 ถึง 1:3 โดยมหาวิทยาลัย Oxford จะเรียกระบบการสอนของตัวเองว่า Tutorial ในขณะที่ Cambridge จะเรียกระบบการสอนของตัวเองว่า Supervision ข้อดี ของระบบ Oxbridge คือ ผู้เรียนมีความใกล้ชิดกับผู้สอนๆได้เห็นและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างใกล้ชิด จำนวนชั่วโมงในการสอนแต่ละวิชาโดยประมาณคือ 1 ชั่วโมงหรืออาจจะมากกว่านั้นแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ข้อเสีย คือ งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะมีเพิ่มมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆในระบบปกติ

อนึ่ง ระบบ Tutorial ได้ถูกนำไปใช้ในการเรียนและการสอนของบางมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรอื่นๆ เช่น University of Buckingham( https://www.buckingham.ac.uk/about/ratio) และยังได้รับความสนใจจากประเทศอื่น เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่นำระบบ Traditional British Turtorial system ไปใช้ ได้แก่ Williams College ตั้งอยู่ที่เมือง Williamstown ในรัฐ Massachusetts( https://www.williams.edu/academics/tutorials/), Honor Tutorial College ที่ Ohio University มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Athens รัฐ Ohio (https://www.ohio.edu/honors/current-students/enrichment.cfm)  หรือ New College of Florida ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Sarasota ในรัฐ Florida ( https://www.ncf.edu/admissions/why-new-college/unique-academic-program/tutorials/ )  เป็นต้น               วีดิโอเกี่ยวกับการสอนแบบ Tutorial: https://www.youtube.com/watch?v=QiOcUWO8X14

3. ระบบการปิดและเปิดเทอมของ Oxbridge จะมี 3 เทอม ไม่รวมเทอม Summer ลักษณะคล้ายคลึงระบบ Quarter ในมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ Oxford และ Cambridge ยังใช้ชื่อเรียกเทอมแตกต่างกันเล็กน้อย

Oxford Michaelmas Term  07 ตุลาคม 2018 – 01 ธันวาคม 2018
Hilary Term             13 มกราคม 2019 – 09 มีนาคม 2019
Trinity Term            28 เมษายน 2019 – 22 มิถุนายน 2019
Dates of Encaenia ( พิธีมอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้กับศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง หรือคนที่มีชื่อเสียงของโลกทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ มักจะเริ่มวันพุธสัปดาห์ที่ 9 ของเทอมที่ 3 และเป็น 1 วันก่อนหน้าวันรับปริญญาของนักศึกษา ในปี 2018  Date of Encaenia ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน 2018) รายละเอียดของงานปี 2018 : http://www.ox.ac.uk/news-and-events/The-University-Year/Encaenia
Degree Ceremonies งานรับปริญญาของนักศึกษาทั่วไปทั้งหมดมีหลายวันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2018 – พฤศจิกายน 2018 ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย https://www.ox.ac.uk/students/graduation/ceremonies?wssl=1
Cambridge Michaelmas Term02 ตุลาคม 2018-30 พฤศจิกายน 2018(80 days )
Lent Term             15 มกราคม 2019-15 มีนาคม 2019 (80 days )
Easter Term          23 เมษายน 2019-14 มิถุนายน  2019 (70 days )
Vacation Term ( The Research Period) 4 อาทิตย์ เดือนกรกฎาคม แต่ถ้าเป็น Long Vacation คือ กรกฎาคม ถึง กันยายน
General Admissions พิธีรับปริญญาตรีเฉพาะ BTh, BA, VetMB , BA with MEng, MMath, MSci ในวันที่ 26,27,28,29 มิถุนายน 2019
Degree Ceremony Dates พิธีรับปริญญาอื่นๆตามที่ Regent House กำหนดไว้มักจะจัดขึ้นเทอมละ 2-3 ครั้งในวันเสาร์ นักศึกษาต้องติดต่อกับคณะที่นักศึกษาเรียนจบมา ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.cambridgestudents.cam.ac.uk/your-course/graduation-and-what-next/degree-ceremony-dates

 

ความหมายเพิ่มเติมของคำเรียกชื่อเทอม

Michaelmas คือวันฉลองนักบุญ St.Michael and all Angels ตกประมาณวันที่ 29 กันยายน ตามพระคัมภีร์นักบุญมีคาอิลคือผู้ช่วยของพระยะโฮวาห์ มีคาอิลและเหล่าสาวกได้ช่วยกันขับไล่ซาตานตกสวรรค์ ในอังกฤษยุคกลาง Michaelmas ยังถือเป็นวันสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวและเริ่มต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวใหม่ของปีถัดไป มหาวิทยาลัยในอังกฤษได้นำวันฉลองนักบุญมีคาอิลมาใช้เป็นวันเปิดเรียนเทอมแรกของปีการศึกษา

Hilary หรือ อิแลร์  มาจากครอบครัว Pagan หรือพวกลัทธินอกศาสนา อิแลร์นับถือและเชื่อมั่นในองค์พระเยซูว่า เป็นพระบุตรของพระเป็นเจ้า ซึ่งนับเป็นความเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาทวิเอกภาพนิยมหรือลัทธิเอเรียสของขุนนางชาววิซิกอท จึงถูกจักรพรรดิ Constantius II แห่งจักรวรรดิโรมันขับไล่ไปอยู่แคว้นฟรีเกียนาน 4 ปี ปัจจุบันคือประเทศตุรกี ระหว่างที่ถูกขับไล่ได้เขียนหนังสือและคำสอนเกี่ยวกับตรีเอกภาพ (Trinitarian) และต่อมาท่านได้รับการยกย่องเป็นนักบุญ วันฉลองนักบุญ Hilarymas ตรงกับวันที่ 13 มกราคม

Trinity ตามหลักการของคริสต์ศาสนา Trinity หมายถึงพระบิดา พระบุตร และพระจิต Trinity คือเทอมที่ 3

Lent คือ ช่วงเวลาถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษก่อนวันอีสเตอร์ที่พระเยซูเจ้าฟื้นคืนพระชนม์ชีพ สามารถอ่านรายชื่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรประมาณ 12 แห่งที่เรียกชื่อเทอมตอนฤดูหนาวว่า Lent เหมือนมหาวิทยาลัย Cambridge ( https://en.wikipedia.org/wiki/Lent_term )

  1. ระบบการสอบปีละ 1 ครั้งรวมทั้งอาจจะต้องมี dissertation, thesis, portfolio, essay หรือ research project ส่งตอนจบวิชานั้นๆ แล้วแต่วิชาที่เลือกลงทะเบียนเรียน และแล้วแต่ College ที่ลงทะเบียนเรียนด้วย เว็บไซต์ของ Oxford เองได้พูดถึงการสอบไว้กลางๆว่า จะมีการสอบในปีที่ 1 และปีสุดท้ายก่อนจบเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักศึกษาควรหาข้อมูลจากเว็บไซต์หน้า Examination and Regulations ของมหาวิทยาลัย Oxford เองด้วย ยกตัวอย่าง 1 วิชา เช่น ผู้ลงทะเบียนเรียนปริญญาตรีวิชา Honour in History สามารถหาวันสอบได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยว่า จะมีสอบเมื่อไร   http://www.admin.ox.ac.uk/examregs/  หรือผู้ที่ศึกษาอยู่ที่ Cambridge University จะมีสอบก่อนจบปีการศึกษา และสอบครั้งสุดท้ายก่อนรับปริญญา( http://www.ox.ac.uk/admissions/undergraduate/applying-to-oxford/teachers/oxford-and-cambridge-similarities-and-differences)                                                                                                                      Tripos System เป็นชื่อการสอบของ Cambridge Tripos อาจจะมีเพียง 1 ส่วนหรือหลายส่วน หรือบางวิชาเริ่มสอบ Tripos เมื่อขึ้นปี 2 เข่น วิศวะเคมี ดังนั้น ผู้เรียนควรศึกษาข้อมูลของภาควิชาที่ตนศึกษาอยู่ให้เข้าใจ  https://www.camdata.admin.cam.ac.uk/structure-undergraduate-courses-cambridge#Tripos

เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ธรรมเนียมปฏิบัติพิเศษของ Oxbridge มหาวิทยาลัยเก่าแก่ตั้งแต่ยุคกลาง และไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นที่มีธรรมเนียมนี้ นอกจากมหาวิทยาลัยบางแห่งที่นำธรรมเนียมปฏิบัตินี้ไปใช้

  1. Grace ทั้ง Oxford และ Cambridge จะมีพิธี Grace College ที่ Formal Hall และในบางโอกาสที่พิเศษๆ เช่น การทานเลี้ยงอาหารเย็นกับแขกที่มีเกียรติ ในพิธี Grace Fellow จะนั่งที่ High table ผู้นำอ่าน Grace เป็นภาษาละตินเท่านั้น เป็นการกล่าวขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าก่อนและหลังทานอาหาร เช่น ที่ Lincoln College ( มหาวิทยาลัย Oxford) : https://www.lincoln.ox.ac.uk/The-College-Grace หรือ Queens’ College ที่มหาวิทยาลัย Cambridge : https://www.queens.cam.ac.uk/life-at-queens/about-the-college/college-facts/the-graces
  2. Matriculation เป็นพิธีต้อนรับนักศึกษาใหม่ ภายหลังจากเรียนจบสัปดาห์แรกของเทอม Michaelmas ถ้านักศึกษาพลาดช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษายังคงมีสิทธิ์เข้าร่วมพิธีนี้อีกครั้งเมื่อจบเทอม Michaelmas, Hilary และ Trinity ถ้าไม่ได้ผ่านพิธี Matriculation ภายในช่วงหลังจากจบ 2 เทอม จะถือว่านักศึกษาไม่มีสิทธิ์ทำการสอบ แต่ถ้านักศึกษาได้ผ่านพิธีกรรมนี้แล้วจะถือว่า เป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัย Oxford แล้ว  ในการทำพิธี Matriculation นักศึกษาต้องแต่งชุด Sub Fusc : https://www.ox.ac.uk/students/new/matriculation?wssl=1 เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัย Cambridge หากนักศึกษาไม่ได้ผ่านพิธี Matriculation จะไม่นับว่า นักศึกษาเป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัย Cambridge อย่างแท้จริง : https://www.cambridgestudents.cam.ac.uk/new-students/arrival
  3. Sub Fusc หรือ Academic Dress คือ ชุดของนักศึกษามหาวิทยาลัย Oxford ที่ใช้ใส่ในงานพิธีการสำคัญต่างๆ อาทิ การสอบ การรับปริญญา https://www.ox.ac.uk/students/academic/dress?wssl=1#

ลักษณะของชุด ประกอบด้วย

  • ผู้ชาย สูทสีดำ ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ เสื้อเชิ้ตสีขาวข้างใน และโบว์หูกระต่ายสีขาว กางเกงสีดำ
  • ผู้หญิง กระโปรงสีดำ ถุงน่องดำหรือถุงเท้าดำ รองเท้าดำ เนคไทสีดำ หรือริบบิ้นดำ และเสื้อเชิ้ตสีขาว
  • กรณีต้องการสวมหมวกหรือผ้าพันคอตามพิธีกรรมทางศาสนาต้องใช้สีดำ
  • เสื้อคลุมจะแบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 ประเภท คือ

          Commoners Gown  คือ นักศึกษาปริญญาตรี หรือปริญญาตรี-โท ที่ได้รับดีกรี BA,  BFA, BTh, MPhys หรือผู้ที่เรียนด้าน Music Recitals กลุ่มนี้จะใช้เสื้อคลุมผ้า Cotton หรือผ้าใยสังเคราะห์ไม่มีแขนเสื้อ

          Scholars Gown หมายถึงนักศึกษาปริญญาตรี หรือปริญญาตรี-โท และนักศึกษาที่ได้รับทุน รวมทั้งบรรดาคนเก่งที่สอบ Preliminary Exam แล้ว จะใช้เสื้อคลุมทอด้วยเส้น Cotton ผสมกับเส้นขนสัตว์ถักทอละเอียดแน่นหนาและหนักกว่าแบบ Commoners gown เสื้อคลุมจะมีแขนสั้นเปิดกว้าง

         Advanced Students Gown ซึ่งหมายถึงนักศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป เช่น M.Sc., M.Phil หรือ D.Phil เสื้อคลุมทำด้วยผ้า Cotton หรือผ้าใยสังเคราะห์แบบ Commoners gown แต่ยาวถึงเข่า

  • ความยาวของชุดคลุมบ่งบอกถึงสถานะของนักศึกษาได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่ไม่มีทุนการศึกษา จะใส่ชุดคลุมสั้น ส่วนบัณฑิต DPhil จะใส่ชุดคลุมยาว

ในระหว่างสอบ นักศึกษาอาจจะติดดอกคาร์เนชั่นสีขาว บริเวณใกล้ๆ ปกเสื้อในการสอบ First Exam ดอกคาร์เนชั่นสีชมพู ในการสอบ Intermediate Exam และ ดอกคาร์เนชั่นสีแดง ในการสอบ Final Exam

อนึ่ง มหาวิทยาลัย Cambridge ก็มีชุดที่เป็นทางการ Academic Dress ที่เรียกว่า Sub Fusc เหมือน Oxford ด้วยเช่นกัน และจะใช้ในงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ งานที่ต้องใช้ Sub Fucs เช่น งานรับปริญญา General Admissions to degree

 3. Blues คือ รางวัลที่ให้เป็นเกียรติสูงสุดกับนักกีฬามหาวิทยาลัย Oxford โดยนักกีฬาที่จะได้รับรางวัล Blues  ต้องเป็นนักกีฬาที่ลงแข่งกีฬา 1 ใน 14 ประเภทในรุ่น Full Blue และต้องเป็นการแข่งขัน Varsity Match คือ แข่งกีฬาประจำปีระหว่าง Oxford และ Cambridge เท่านั้น http://www.thevarsitymatch.com/ นอกจากนี้ยังต้องเป็นการแข่งขันที่ได้มาตราฐานดีที่สุดในฤดูการแข่งขันนั้น http://www.ouac.org/about/blues/#!prettyPhoto%20%20%20Varsity%20Match Varsity Match ปี 2017 https://www.youtube.com/watch?v=tb7z0KnevVk

ส่วน Blue ไม่มี s คือ สีประจำมหาวิทยาลัย Oxford และมหาวิทยาลัย Cambridge โดยการแข่งขันกีฬา Cricket ระหว่างสองมหาวิทยาลัยครั้งแรกเมื่อปี 1827 ผู้เล่นทั้งสองมหาวิทยาลัยลงเล่นแข่ง Cricket โดยสวมเสื้อสีขาว ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นทีมของมหาวิทยาลัยใด ในปี 1829 เริ่มแช่งเรือระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย โดย Oxford สวมเสื้อสี Dark Blue สลับแทบขาวยาวในแนวตั้ง ส่วน Cambridge สวมเสื้อสีขาวพร้อม Tie สีชมพู และ Cambridge เริ่มใช้สี Light Blue เป็นสัญญลักษณ์ในการแข่งเรือเมื่อปี 1836 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์  https://www.hawksclub.co.uk/about/history/the-cambridge-blue/

สีประจำมหาวิทยาลัย Oxford คือ Dark Blue และสีประจำมหาวิทยาลัย Cambridge คือ Light Blue

4. Trashing เป็นการเฉลิมฉลองของนักศึกษามหาวิทยาลัย Oxford หลังจากสิ้นสุดการสอบ ด้วยการปาลูกปา Confetti แป้ง และพ่นหรือฉีดสเปรย์แชมเปญใส่กัน http://www.dailymail.co.uk/news/article-4581808/Oxford-University-students-enjoy-trashing-celebration.html

5. May Ball ในขณะที่มหาวิทยาลัย Oxford มี Trashing มหาวิทยาลัย Cambridge ก็มีการฉลองการสอบเสร็จคล้ายกัน แต่ไม่ได้ปาลูกปา เป็นการปาแป้งและเทแชมเปญใส่กัน เรียกธรรมเนียมนี้ว่า May Ball

ข้อสังเกต ทั้ง Trashing และ May Ball เป็นสิ่งที่บางครั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดได้ เพราะมีแอลกอฮอลล์เข้าไปเป็นส่วนประกอบในงานด้วย จึงมีบางฝ่ายที่ต้องการให้เลิกธรรมเนียมนี้

Oxford:  http://www.dailymail.co.uk/news/article-2641046/Oxfords-elite-celebrate-end-exams-ministers-tell-students-cut-pub-crawls.html

Cambridge:  https://www.varsity.co.uk/news/5377 

แต่ละวิทยาลัยจะมี College Fresher Guide ไว้ให้นักศึกษาศึกษาข้อมูลก่อนมาใช้ชีวิตนักศึกษา เช่น Exeter College ของมหาวิทยาลัย  Oxford :  http://www.exetermcr.org.uk/fg.pdf

Copyright © 2 010-2018 GoVisaEdu All rights reserved.