ธนาคารในสหรัฐอเมริกา

ธนาคารในสหรัฐอเมริกา

ธนาคารในสหรัฐอเมริกามีหลายธนาคาร เช่น Bank of America, US Bank, Well Fargos และอื่นๆ ฯลฯ ในแต่ละรัฐจะมีทั้งธนาคารใหญ่ๆ และธนาคารท้องถิ่นที่ชื่อของธนาคารอาจไม่คุ้นหูนักศึกษา ในวันปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ International Student Officer ประจำมหาวิทยาลัยนั้นๆ จะแจกเอกสารหรือคู่มือที่นักศึกษาควรทราบ ซึ่งภายในเนื้อเรื่อง จะมีการกล่าวถึงธนาคารที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานศึกษานั้นๆด้วย อนึ่งในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนภายใต้หัวข้อ International Student Office นักศึกษาก็สามารถเข้าไปค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเงินการธนาคารได้ ก่อนเดินทางไปฟังปฐมนิเทศก์ที่มหาวิทยาลัย

รายชื่อ Top 10 Banks ธนาคารในสหรัฐอเมริกา มีดังนี้คือ

1.   Bank of America Corp. มี  Headquarters อยู่ที่  Charlotte, N.C.

2.   J.P.Morgan Chase & Company มี  Headquarters  อยู่ที่   New York, NY

3.   Citigroup  มี   Headquarters  อยู่ที่   New York, NY

4.  Wells Fargo & Company  มี  Headquarters  อยู่ที่  San Francisco, CA

5.   Goldman Sachs Group,Inc, The  มี   Headquarters  อยู่ที่  New York, NY

6.   Morgan Stanley มี  Headquarters   อยู่ที่  New York, NY

7.   Metlife Inc. มี   Headquarters อยู่ที่   New York, NY

8.   Barclays Group US Inc.  มี  Headquarters  อยู่ที่   Wilmington, DE

9.   Taunus Corporation  มี  Headquarters อยู่ที่   New York, NY

10. HSBC North America Holdings Inc. มี  Headquarters  อยู่ที่   New York, NY

Source: Federal Reserve System, National Information Center as of  June30, 2010 ( http://www.ffiec.gov/nicpubweb/nicweb/top50form.aspx) ถ้าใช้ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2012 JP Morgan จะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ส่วน Bank of America Corp จะเลื่อนลงไปอยู่อันดับที่ 2  ส่วนลำดับที่ 6-10 จะมีการเปลี่ยนแปลงไป

อนึ่ง นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ของคนไทยที่ไปตั้งสาขาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ หากมีข้อสงสัย โปรดสอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่นักศึกษาสนใจ และทราบว่ามีสาขาของธนาคารแห่งนั้นตั้งอยู่ในต่างประเทศ โดยอาจสอบถามกับเจ้าหน้าที่ด้านต่างประเทศของธนาคารแห่งนั้นๆ

หลักเกณฑ์การเลือกเปิดบัญชีธนาคารเวลาไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา

1. เลือกธนาคารที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ที่เรากำลังศึกษาอยู่ หรือ ใกล้กับหอพัก เพื่อความสะดวกในการเดินทาง แม้บางเมืองที่ไปศึกษาต่อจะไม่มีชื่่อธนาคารใหญ่ๆที่เราคุ้นหู นักศึกษาก็จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับธนาคารท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ๆนั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางไปทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน หรือถอนเงิน

ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นแล้วว่า เว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนในหน้าที่เกี่ยวข้องกับ International Student Office จะแจ้งรายชื่อธนาคารที่อยู่ในละแวกเดียวกับที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ บางสถานศึกษาจะมีธนาคารตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำไป ดังนั้น นักศึกษาไม่ต้องกังวลในเรื่อง 1. จะเปิดบัญชีกับธนาคารชื่ออะไรดี 2. การเปิดบัญชีธนาคารจะยุ่งยากไหม ให้สังเกตว่า ในรายการปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ ( Orientation) หัวข้อประกอบการบรรยายทุกครั้ง คือ การแนะนำการเปิดบัชีกับธนาคาร ในวันปฐมนิเทศก์ยังจะมีตัวแทนจากธนาคารต่างๆที่ตั้งอยู่ในละแวกเดียวกับมหาวิทยาลัยเข้ามาทำการประชาสัมพันธ์และอธิบายวิธีการเปิดบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งมีของชำร่วย และทางเลือกของการใช้เครื่องมือทางการเงินอีกมากมายไว้ให้ผู้เปิดบัญชีใหม่ด้วย

2. นักศึกษาควรสอบถามเพิ่มเติม ถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อใช้เปรียบเทียบในการเลือกธนาคาร

3. ธนาคารบางแห่งมีข้อเสนอพิเศษ ที่เพิ่มแรงจูงใจให้นักศึกษาอยากฝากเงินที่ธนาคารนั้นๆ เช่น มีสมุดเขียนเช็คแจกฟรี ในการเปิดบัญชี Checking account ครั้งแรก

4. นักศึกษาบางท่านมีความละเอียดรอบคอบ ที่จะถามเจ้าหน้าที่ธนาคารก่อนล่วงหน้า ในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิตของธนาคารในสหรัฐฯ, ค่าธรรมเนียมการซื้อสมุดเช็ค, ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน, ระยะเวลาที่ใช้ในการรับเงินโอนจากประเทศไทย, บริการเสริมพิเศษที่ธนาคารแห่งนั้นมี แต่ธนาคารอื่นอาจไม่มี เป็นต้น ข้อมูลที่นักศึกษาได้รับจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการเลือกเปิดบัญชีกับธนาคารว่า ควรเลือกธนาคารแห่งใดดี

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษตอนปลายให้รู้จักการใช้ธนาคารและบริการทางการเงิน มีวิดีโอที่นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วยตนเองก่อนเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ยกตัวอย่างวิดีโอเกี่ยวกับการเงินและการธนาคารที่น่าสนใจชุดหนึ่ง เป็นชุดวิดีโอที่ผลิตโดย Ram Institute for High School Education นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐฯควรซ้อมฟังวิดีโอชุดดังกล่าวเพื่อเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและวิธีการไปติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคาร วิดีโอชุดดังกล่าวสามารถหาดูได้ใน YouTube  http://www.youtube.com/user/RIHSE

ท้ายเรื่องนี้ขอยกตัวอย่างรายชื่อเว็บไซต์ของธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐซึ่งนักศึกษา สามารถเข้าไปศึกษาก่อนล่วงหน้าเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา เช่น  วิธีการฝากและถอนเงิน ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินที่ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกเก็บจากลูกค้า ก่อนที่นักศึกษาจะได้รับเงินที่ส่งไปจากประเทศไทย นักศึกษาจะต้องถูกหักค่าโอนเงินจากธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินแตกต่างกัน โดยธนาคารบางแห่ง จะชี้แจงค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งฝั่งไทยและฝั่งสหรัฐฯ บางแห่งจะชี้แจงเฉพาะฝั่งไทยฝั่งเดียว  กฎระเบียบนี้เกิดขึ้นกับการโอนเงินไปทุกธนาคารในต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น 

ธนาคารมักใช้คำศัพท์เรียกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างประเทศดังนี้

1. Charge Ben ( Charge Beneficiary) หมายถึง ค่าธรรมเนียมเงินโอน ที่ผู้รับผลประโยชน์ปลายทางต้องเป็นผู้รับภาระในการจ่ายเองก่อนที่จะได้รับเงินทั้งก้อนทีผู้โอนจากประเทศไทยโอนไปเข้าบัญชีผู้รับในต่างประเทศ

2. Charge our หมายถึง ผู้โอนออกจากประเทศไทยต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งสองฝั่ง เช่น ผู้ปกครองจากเมืองไทย จ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทั้งที่เมืองไทยและที่ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับปลายทางได้รับเงินโอนเต็มจำนวน โดยไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใดๆเพิ่มอีก แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเกิดขึ้นได้อีกเล็กน้อย ถ้านักศึกษาท่านนั้นอยู่ในเมืองเล็กๆ ซึ่งอาจจะมีค่าธรรมเนียมที่ธนาคารท้องถิ่นเล็กๆนั้นคิดเพิ่ม

ระยะเวลาในการโอนเงินปกติใช้ 1 วัน ถ้าเป็นเมืองเล็กมากๆ อาจมากกว่า 1 วันได้

รายชื่อเว็บไซต์ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น

Continue reading “ธนาคารในสหรัฐอเมริกา”